ReadyPlanet.com
dot
dot
เรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ
dot
bulletเสาประวัติศาสตร์ พล.ร.9
bulletโครงการท่องเที่ยว พล.ร.9
bulletwebboardสำหรับชาวค่ายสุรสีห์
bulletหน่วยงานภายใน พล.ร.๙
bulletศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายสุรสีห์
bulletโรงเรียนอนุบาลค่ายสุรสีห์
bulletเครื่องราชอิสริยาภรณ์
bulletการแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์(เต็มยศ)
bulletกาญจนบุรี
dot
บทความและสาระน่ารู้
dot
bulletราชกิจจานุเบกษา
bulletหลักนิยมในการรบที่ไม่มีในคู่มือราชการสนามของกองทัพบกไทย
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯ ประจำปี 2562
bullet รายชื่อขอพระราชทานเหรียญจักรมาลา ประจำปี 2563
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2563
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2561
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2560
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2559
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2558
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2557
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (19/8/59)
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (19/1/59)
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (31/10/60)
dot
สมัครสมาชิก

dot
bulletระเบียบ ทบ.ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2555
bulletระเบียบ กห.ว่าด้วยคำย่อ พ.ศ. 2555
bulletระเบียบ ทบ.ว่าด้วย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.2551




เสาประวัติศาสตร์ พล.ร.9

 

เนื่องในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ ที่กำลังจะถึงนี้ เป็นวันสถาปนากองพลทหารราบที่ ๙ ครบรอบปีที่ ๓๕ หากเทียบจากตัวเลขจำนวนปี ที่กองพลของเราได้ถือกำเนิดขึ้น ก็พอจะเทียบได้ กับชายไทยวัยทำงานที่มีกำลังกายที่เข้มแข็ง มีความรอบรู้จากประสบการณ์ที่ได้ผ่านมาพอสมควร ถือได้ว่ามี ความสมบูรณ์แบบเอาการอยู่มากทีเดียว แต่ในความเป็นจริง มันอาจจะเทียบกันไม่ได้ แต่ก็พอจะอนุมานให้พอมองเห็นภาพได้
ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บังคับบัญชาทั้งในปัจจุบันและอดีตที่ผ่านมา แต่ละท่านได้สั่งสมให้ กองพลทหารราบที่ ๙ ของพวกเราเป็นหน่วยที่มีชื่อเสียง จนเป็นที่ยอมรับในภาคพื้นเอเซียอาคเนย์ ของเรา ซึ่งก็คงจะไม่หยุดแต่เพียงแค่นี้แน่นอน มันก็คงอยู่ที่พวกเราในขณะนี้ และในอนาคต ไล่ตั้งแต่ ผู้บัญชาการกองพล จนถึงทหารคนสุดท้ายที่จะต้องช่วยกันพัฒนาและรักษาให้หน่วยของเรา มีชื่อเสียงคล้าย ๆ เป็นสิ่งอมตะที่ไม่มีวันลืมเลือน เกริ่นมาตั้งนาน ขอขยายบทความที่จะกล่าวต่อไปนี้ ซึ่ง ฝ่ายยุทธการกองพลทหารราบที่ ๙ พยายามช่วยกันเรียบเรียงออกสู่สายตาของนักอ่านทั้งหลาย สิ่งที่จะกล่าวถึงนี้ ก็คือ "เสาเกียรติภูมิ พล.ร.๙" (ซึ่งเป็นเพียงชื่อที่ใช้เรียกกันเฉพาะใน บก.พล.ร.๙ ยังไม่ได้มีการตั้งป้ายชื่ออย่างเป็นทางการ)เพื่อให้ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาได้รับรู้เกียรติประวัติ, สถานที่ในอดีตที่ กองพลทหารราบที่ ๙ หรือตัวแทนของเราได้ไปเหยียบ และยังสร้างชื่อเสียงกลับมาสู่หน่วยเป็นอันมากอีกด้วย ซึ่งรูปร่างหน้าตาของเสาเกียรติภูมิฯ ก็จะมีรูปร่างตามรูปภาพที่เห็น
บางท่านเห็นแต่ภาพอาจจะไม่รู้สัดส่วน เราก็จะขอขยายความให้พอได้ทราบดังนี้ เสาเกียรติภูมิ พล.ร.๙ นี้เป็นเสาไม้ธรรมชาติ (ต้นตะเคียน) ขนาดมากกว่า ๑ คนโอบนิดหน่อย สูงประมาณ ๑๑ เมตร แต่เวลาตั้งเราฝังไว้ในดินความลึกประมาณ ๒ เมตร เพราะฉะนั้น เสานี้จะมีความสูงประมาณ ๙ เมตร ตัวเสาทาด้วยสีน้ำตาลเข้ม (น่าจะเป็นสีเคลือบรักษาเนื้อไม้) มีส่วนประกอบ คือ ด้านบนสุดของเสา มีหมวกเหล็ก (จำลอง) สีพรางคลุมด้วยตาข่ายพร้อมยางรัดขอบหมวกและสายรัดคางพร้อมทั้ง ป้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในป้ายจะบอก ปี พ.ศ. หรือ ค.ศ., สถานที่, ระยะทาง ชี้ไปทิศทางที่ กองพลทหารราบที่ ๙ เคยไปปรากฏกาย ณ สถานที่หรือประเทศนั้น ๆ ตั้งอยู่ตามหลักภูมิศาสตร์ อธิบายให้ฟังคร่าว ๆ คงพอจะจินตนาการกันจนเห็นภาพนะครับ เราลืมพูดไปว่า เสาต้นนี้เป็นการสร้างตามดำริของผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙ ท่านปัจจุบัน ด้วยแนวความคิดว่า อยากให้แขก หรือผู้ที่พบเห็นประติมากรรม โดดเด่นชิ้นนี้ ซึ่งมีนัยยะ และความสำคัญเมื่อหยุดดูแล้วก็พอจะได้ทราบประวัติของกองพลทหารราบที่ ๙ พอสังเขปไปด้วยในตัว
ซึ่งหลังจากนั้น ฝ่ายเสนาธิการฯ ต่าง ๆ ก็ได้มานั่งประชุมโต๊ะกลม จนกระทั่งได้รูปร่าง, ลักษณะของป้าย สรุปได้ข้อยุติ จึงเริ่มหาวัตถุดิบ และเมื่อทุกอย่างครบเรียบร้อย จึงได้ส่งต่อให้กับ กองพันทหารช่างที่ ๙ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง จนเสร็จเรียบร้อย ตั้งให้พวกเราได้ชื่นชมดังในปัจจุบัน ซึ่งท่าน ผู้บัญชาการก็ได้กระทำพิธีคล้าย ๆ ลงเสาเอก เพื่อเป็นสิริมงคลไปแล้วเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ที่ผ่านมาหลังจากนี้เราก็จะขอกล่าวความจากป้ายที่บอกว่ากองพลของเราได้เดินทางไปที่ไหนมาบ้าง ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน พูดง่าย ๆ ก็คือ ตั้งแต้ป้ายบนสุดจนถึงล่างสุดตามลำดับ ดังนี้
ก่อนการก่อตั้งหน่วย : ปฏิบัติการรบ ณ ประเทศเวียดนาม

ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๑๖ (การฝึกร่วมปี ๑๖) : คำสั่ง กองทัพภาคที่๓ สน.ที่ ๒๐/๑๕ ลง ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ กองพลที่ ๙ จัดกำลัง กองพันเฉพาะกิจ ๑ กองพันทหารราบ ตาม แผนยุทธการสามชัย เป็นการฝึกร่วมประจำปี ๒๕๑๖ ระหว่าง กองทัพบก, กองทัพเรือ และ กองทัพอากาศ โดยฝึกในลักษณะปฏิบัติการจริงในพื้นที่อิทธิพลของ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ พร้อมกัน ๒ พื้นที่ คือบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย และพื้นที่ของ กองทัพภาคที่๒ เป้าหมายในการปฏิบัติ ในเขตภาคเหนือนั้นคือ รอยต่อ ๓ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ และ จังหวัดเลย (ภูหินร่องกล้า) บริเวณถ้ำเสา ถ้ำเจีย เขาสามหมื่น ยุทธการสามชัยเป็นการขยายผลจากแผนยุทธการภูขวางเพื่อดำเนินการทำลายกำลังติดอาวุธ ฐานปฏิบัติการและแหล่งสะสมเสบียงของ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ให้หมดสิ้นไปด้วยการใช้กำลังเป็นชุดรบขนาดเล็ก

ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๑๗ (การฝึกร่วมปี ๑๗) : คำสั่ง กองทัพภาคที่๓ (เฉพาะ) ที่ ๒๘/๑๖ ลง ๑๘ ตุลาคม๑๖ กองพลที่ ๙ ได้จัดตั้งกองพันเฉพาะกิจ ๑ กองพันทหารราบ ตาม แผนยุทธการผาภูมิ ซึ่งเป็นการฝึกร่วมประจำปี ๒๕๑๗ ระหว่าง ๓ เหล่าทัพร่วมกับกำลังตำรวจและพลเรือน เป็นการฝึกในลักษณะปฏิบัติการจริงคือ การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มีกองทัพบกเป็นผู้รับผิดชอบประสานการปฏิบัติโดยตรงกับกองทัพเรือ กองทัพอากาศ ตำรวจ และพลเรือน โดยกำหนดเป้าหมายในการปฏิบัติออกเป็น ๓ พื้นที่คือ พื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น พื้นที่บริเวณ บ.แม้วหม้อ-ภูลังกา และพื้นที่ ดอยผาจิ-ผาช้างน้อย ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อ.เชียงของ อ.เทิง จว.เชียงราย อ.เชียงคำ อ.ปง อ.เชียงม่วน จว.พะเยา และ อ.เมือง จว.น่าน

ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๑๘ : จัดกำลังกองพันเฉพาะกิจ ๑ กองพันทหารราบ ปฏิบัติการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่ รอยต่อ ๓ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ และ จังหวัดเลย ตั้งแต่ ตุลาคม ๒๕๑๘ - กันยายน ๒๕๑๙
ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๑๙ : จัดกำลังกองพันเฉพาะกิจ ๑ กองพันทหารราบ (พัน.ร.๙๑๙) ปฏิบัติการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่ รอยต่อ ๓ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ และ จังหวัดเลย ปี พ.ศ.๒๕๑๙ - ๒๕๒๒ : จัดตั้งกองบัญชาการผสม พลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ ๑๖๑๗ ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ รอยต่อ ๓ จังหวัดได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ และ จังหวัดเลย
ปี พ.ศ.๒๕๔๔ - ๒๕๔๕ : ภารกิจการรักษาสันติภาพ ความภาคภูมิใจในติมอร์ตะวันออก หลังจากการลงประชามติเพื่อปกครองตนเองของติมอร์ ตอ. เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๒ โดยปรากฏออกมาว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการที่จะเป็นอิสระ ไม่ขึ้นการปกครองของอินโดนีเซียต่อไป ติมอร์ ตอ.ก็ได้ประสบความรุนแรง จากกลุ่มที่ต่อต้านจนไม่สามารถหยุดยั้งสถานการณ์ได้ องค์การสหประชาชาติโดยคณะมนตรีความมั่นคงที่ ๑๒๖๔ (คศ.๑๙๙๙) เมื่อ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๒ จึงให้ จัดตั้งกองกำลังนานาชาติในติมอร์ ตอ. หรือ INTERFET (INTERNATIONAL FORCES IN EAST TIMOR)
 

 ปี พ.ศ.๒๕๔๖ - ๒๕๔๗ : จักชุดแพทย์ ร่วมปฏิบัติภารกิจ ใน กองกำลัง ฉก.๙๗๖ ไทย-อิรัก ผลัดที่ ๒ ณ ประเทศอิรัก
ปี พ.ศ.๒๕๔๗ - ปัจจุบัน : จัดกำลังพลไปปฏิบัติภารกิจในสถานการณ์การก่อความไม่สงบ ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
เป็นอย่างไรบ้างครับประวัติอันเกรียงไกรของ กองพลทหารราบที่ ๙ ที่ฝ่ายยุทธการฯ สรุปพอให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบ หากมีท่านใดอยากรับทราบแบบเต็ม ๆ ไม่มีการตัดต่อกรุณาติดต่อที่ ฝ่ายยุทธการฯ ได้โดยตรงนะครับ ประกอบกับหนังสือเล่มนี้ มีวาระการออกประมาณเดือน มิถุนายน ซึ่งเป็นเดือนและปีที่เป็นมหามงคลอย่างยิ่ง อันเนื่องด้วยเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี ฝ่ายยุทธการฯ จึงขอเชิญชวนกำลังพลทุกคนร่วม กระทำความดี เพื่อในหลวงของเรา และเพื่อให้กองพลของเรามีเกียรติประวัติอันยาวนานยิ่ง ๆ ขึ้นไป ในท้ายที่สุดนี้ ฝ่ายยุทธการฯ ก็จะพยายามสรรหาเรื่องดี ๆ มานำเสนอท่านผู้อ่านในฉบับต่อ ๆ ไปครับ ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่าน…ครับ

ความหมายเสาเกียรติยศกองพลทหารราบที่ ๙

            เสาเกียรติยศกองพลทหารราบที่ ๙ สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๙ มิ.ย.๒๕๔๙ ในสมัย พล.อ.อดุล อุบล ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙ โดยต้องการให้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในความภาคภูมิใจ และรักในศักดิ์ศรีความเป็นทหารอาชีพของกำลังพลและของหน่วย ตลอดจนเกียรติยศชื่อเสียง    ในการปฏิบัติงานทางทหารที่บรรพบุรุษของหน่วยได้สะสมกันมาตั้งแต่อดีต

            สถานที่ตั้งเสาอยู่ด้านขวามือของกองบัญชาการกองพล ซึ่งถือว่าพวกเขา(บรรพบุรุษของหน่วย) คือกำลังพลของกองพลทหารราบที่ ๙ เช่นเดียวกันพวกเราพวกเขาเป็นกำลังพลหัวแถวที่เข้ามาอยู่ในกองพลก่อนพวกเรา ได้เข้ามาทำงานรับใช้ประเทศชาติและกองพล ถึงแม้พวกเขาจะได้จากกองพลไปแล้ว บางคนก็ได้สละแม้เลือดเนื้อและชีวิตให้แก่หน่วยนี้แต่พวกเขายังคงเป็นหัวแถวของพวกเรา กองพลทหารราบที่ ๙จะนึกถึงพวกเขาตลอดไป

            หมวกเหล็ก M1 ที่วางอยู่บนยอดเสา แสดงถึงการไว้อาลัยแด่ความกล้าหาญและความเสียสละของเขาเหล่านั้นซึ่งก็คือ บรรพบุรุษของพวกเราที่สูญเสียในสมรภูมิต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศป้ายเล็กๆ บนเสา บ่งบอกชื่อของดินแดน และห้วงเวลาที่พวกเขาเหล่านั้น ไปปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติโดยชี้ตรงไปยังทิศทางของสถานที่เหล่านั้นถึงแม้มันจะอยู่คนละซีกโลกก็ตาม

            เสาต้นนี้ทำจากไม้ตะเคียนทองที่หามาจากในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้นไม้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า ๗๐๐ ปี ต้นเสาไม่ได้ถูกตกแต่งหรือดัดแปลง เพียงแต่ทำความสะอาดและทาน้ำยารักษาเนื้อไม้ไว้ให้คงสภาพเดิมตลอดไปเท่านั้น เพราะผมต้องการแสดงให้เห็นว่าทุกอย่างเป็นของแท้ไม่มีการดัดแปลง เป็นความจริงที่ไม่ได้มีการเสริมแต่ง และไม่ต้องการการเสริมแต่งไปตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไปธรรมชาติของทหารก็เป็นเช่นนั้น

            ผมตั้งใจให้เสาต้นนี้ปักอยู่บนพื้นดินไม่ต้องการมีฐานอะไรใหญ่โต เพราะผมต้องการให้กำลังพลนึกถึงความเรียบง่าย ความต้องการความเป็นสมถะของชีวิตในการเป็นทหาร และถ้าคิดให้ลึกซึ้งแล้วเสาต้นนี้เปรียบเป็น Landmark ของจุดสุดท้ายของชีวิต เกิดมาแต่ดิน อยู่บนดินและกลับสู่ดิน

อดุล  อุบล
 
 
พลเอก,ทหารราบ

 

        ๗ พ.ย.๕๔






กองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71190 , อีเมล : g6_surasri@hotmail.com , โทร. 034 - 589233 - 5 ต่อ 51470