ReadyPlanet.com
dot
dot
เรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ
dot
bulletเสาประวัติศาสตร์ พล.ร.9
bulletโครงการท่องเที่ยว พล.ร.9
bulletwebboardสำหรับชาวค่ายสุรสีห์
bulletหน่วยงานภายใน พล.ร.๙
bulletศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายสุรสีห์
bulletโรงเรียนอนุบาลค่ายสุรสีห์
bulletเครื่องราชอิสริยาภรณ์
bulletการแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์(เต็มยศ)
bulletกาญจนบุรี
dot
บทความและสาระน่ารู้
dot
bulletราชกิจจานุเบกษา
bulletหลักนิยมในการรบที่ไม่มีในคู่มือราชการสนามของกองทัพบกไทย
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯ ประจำปี 2562
bullet รายชื่อขอพระราชทานเหรียญจักรมาลา ประจำปี 2563
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2563
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2561
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2560
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2559
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2558
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2557
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (19/8/59)
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (19/1/59)
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (31/10/60)
dot
สมัครสมาชิก

dot
bulletระเบียบ ทบ.ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2555
bulletระเบียบ กห.ว่าด้วยคำย่อ พ.ศ. 2555
bulletระเบียบ ทบ.ว่าด้วย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.2551




คำบรรยายเรื่องการกวาดล้างคูติดต่อ

คำบรรยายเรื่อง การกวาดล้างคูติดต่อ
โดย  : กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๙

                             สำหรับหมวดทหารราบเบาในการกวาดล้างคูติดต่อนั้น  ตามที่ได้ศึกษามาจากคู่มือราชการสนาม ๗-๘  ของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา รายละเอียดตามเอกสารที่ได้แจกจ่ายไปนั้น มีแนวทางการปฏิบัติสรุปได้ดังนี้ คือ
                             เมื่อหมวดได้รับมอบภารกิจและเขตปฏิบัติการแล้ว ในขั้นแรกผู้หมวดจะใช้กำลัง ๑ หมู่ปืนเล็กลงไปในคูติดต่อก่อน โดยผู้หมวดจะกำหนดพื้นที่ ที่จะให้หมู่ดังกล่าวลงไปในคูติดต่อ และทิศทางการเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่นั้น และวางตำแหน่งหมู่อื่นๆ ที่เหลือ รวมทั้งหมู่ปืนกล ให้สามารถทำการยิงข่มข้าศึก และโดดเดี่ยวพื้นที่ ที่จะลงไปในคูติดต่อได้
                            และเมื่อจะเริ่มปฏิบัติการ ผู้หมู่ปืนเล็กที่ได้รับมอบภารกิจ จะใช้ ๑ ชุดยิง  (กำลังพล ๔ นาย) เป็นฐานยิง และอีก ๑ ชุดยิง (กำลังพลอีก ๔ นาย) เป็นชุดโจมตี โดยผู้หมู่และชุดโจมตี จะเคลื่อนที่ไปยังตำบลที่มีการกำบังและการซ่อนพราง  ที่อยู่ใกล้คูติดต่อที่สุด  เพื่อกำหนดจุดที่จะลงไปในคูติดต่อที่แน่นอนให้กับชุดโจมตี
                            เมื่อชุดโจมตีจะลงไปในคูติดต่อ ส่วนที่เป็นฐานยิงจะเลื่อนเขตการยิงออกจากจุดที่จะลงไปในคูติดต่อ และทำการยิงข่มไปยังที่มั่นของข้าศึก ที่อยู่ข้างเคียง  เพื่อโดดเดี่ยวจุดที่จะใช้ลงไปในคู
หลังจากนั้น หัวหน้าชุดโจมตี และ พลยิงปืนเล็กกล จะเคลื่อนที่เข้าไปวางตัว  อยู่ที่บริเวณก่อนถึงคูติดต่อเล็กน้อย เพื่อเป็นฐานยิงเพิ่มเติมให้กับหมู่ และให้ทหาร ๒ คนที่เหลือในชุดโจมตี (ได้แก่ พลปืนเล็ก และ พลยิง เอ็ม ๒๐๓) เคลื่อนที่ไปยังจุดที่จะลงไปในคูติดต่อ โดยผู้บังคับหมู่ จะอยู่ ณ ตำแหน่งที่สามารถควบคุมหมู่ของตนได้ดีที่สุด ต่อไปจะเป็นการขยายภาพเพื่อให้เห็นการปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้น
                          เมื่อพลปืนเล็ก และพลยิง เอ็ม ๒๐๓ เคลื่อนที่ไปถึงขอบคูติดต่อ ก็จะนอนขนานไปกับคูติดต่อ เมื่อได้รับคำสั่งจากผู้หมู่ ทหารทั้งสองคนก็จะขว้างระเบิดลงไปในคู โดยจะถ่วงเวลาระเบิดไว้ก่อน ๒ วินาที 
เมื่อระเบิดทั้ง ๒ ลูก ระเบิดเรียบร้อย ทหารทั้งสองคนก็จะม้วนตัวลงไปในคูติดต่อ แล้วยืนหันหลังเข้าหากัน เคลื่อนที่ไปตามแนวคูติดต่อในทิศทางตรงกันข้าม  พร้อมกับทำการยิงปืนเป็นชุด ๓ นัด อย่างต่อเนื่อง จนมาถึงบริเวณมุมหรือทางแยก ก็จะหยุดและวางตัวในตำแหน่งดังกล่าว เพื่อสกัดกั้นไม่ให้ข้าศึกเคลื่อนที่เข้ามายังจุดลงคูติดต่อได้
                         และในขณะเดียวกัน เมื่อขว้างระเบิดไปแล้ว หัวหน้าชุดโจมตี และพลยิงปืนเล็กกล ซึ่งทำหน้าที่เป็นฐานยิงอยู่ด้านบน ก็จะรีบเคลื่อนที่ลงไปในคูทันที และเคลื่อนที่ไปยังมุม หรือทางแยกด้านใดด้านหนึ่ง  เพื่อสับเปลี่ยนหน้าที่กับ พลปืนเล็ก หรือ พลยิง เอ็ม ๒๐๓ ซึ่งอยู่ที่จุดดังกล่าว
สำหรับพลปืนเล็ก หรือพลยิง เอ็ม ๒๐๓ ซึ่งถูกสับเปลี่ยน ก็จะกลับมาอยู่กับบัดดี้ของตน ซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่ง และพื้นที่บริเวณนี้ทั้งหมด  หรือที่ตามตำราเรียกว่า  “foothold” ก็จะอยู่ในการยึดครองของฝ่ายเรา
                        จากนั้นชุดยิงที่เป็นฐานยิงอยู่ด้านบน ก็จะเคลื่อนที่ตามลงไปในคูติดต่อ ทำการสับเปลี่ยนตำแหน่ง เพื่อรับผิดชอบด้านใดด้านหนึ่งของ foothold และผู้ที่ถูกสับเปลี่ยน  ก็จะถอนตัวกลับไปอยู่กับชุดยิงของตนเอง   ส่วน ผู้หมู่ ก็จะอยู่ ณ จุดที่ลงคูติดต่อ  และทำเครื่องหมายบริเวณดังกล่าวไว้ พร้อมกับรายงานให้ผู้หมวดทราบ ส่วนภายในหมู่ก็จะทำการจัดระเบียบใหม่ จัดสรรกระสุน/วัตถุระเบิดใหม่เท่าที่จำเป็น
                       จากนั้น ผู้หมวดก็จะสั่งการให้หมู่ปืนเล็กอีก ๑ หมู่ เคลื่อนที่ลงมายังคูติดต่อ เพื่อทำการกวาดล้างคูติดต่อจาก foothold ออกไป โดยผู้หมู่จะต้องกำหนดว่าจะให้ชุดยิงใดเป็นชุดนำ และชุดยิงใดเคลื่อนที่ตาม
เมื่อลงไปในคูติดต่อแล้ว ชุดยิงที่เป็นชุดนำ และผู้หมู่ จะเคลื่อนที่ไปยังมุมหรือทางแยกด้านใดด้านหนึ่ง โดยเมื่อเคลื่อนที่ไปถึง ผู้หมู่ก็จะประสานกับชุดยิงที่ทำการระวังป้องกันมุม หรือทางแยกนั้น รายละเอียดตามเอกสาร ก่อนที่จะทำการกวาดล้างต่อไป
                       ในการกวาดล้างนั้นบริเวณมุมหรือทางแยกนั้น  จะให้ทหารคนที่ ๒ ของชุดยิง ทำการขว้างระเบิดออกไปจากมุมหรือทางแยกดังกล่าวก่อน โดยถ่วงเวลาระเบิดไว้ ๒ วินาทีเช่นเดิม เมื่อระเบิดได้ระเบิดแล้ว ทหารซึ่งเป็นคนนำก็เคลื่อนที่อ้อมมุมออกไป  ทำการเคลื่อนที่ประกอบการยิงเป็นชุดๆ ละ ๓ นัด กำลังพลที่เหลือภายในชุดทั้งหมดก็เคลื่อนที่ตามไป 
ผู้บังคับหมู่จะเคลื่อนที่ตามชุดนำอย่างกระชั้นชิด ส่วนชุดยิงตาม ก็จะเคลื่อนที่ตามมา โดยต้องรักษาระยะต่อให้สามารถมองเห็นทหารคนสุดท้ายของชุดนำได้ตลอด และพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นชุดยิงนำเมื่อสั่ง  เพื่อให้ทหารไม่อ่อนล้า และเพื่อรักษาแรงหนุนเนื่องในการกวาดล้าง และในทุกๆ ทางแยกที่ทำการกวาดล้างเรียบร้อยแล้ว จะต้องจัดคนทำการระวังป้องกันไว้ด้วย
ตลอดเทคนิคนี้  หัวหน้าชุดจะอยู่ด้านหลังของชุดยิง เพื่อทำการควบคุมทหารภายในชุด และทหารคนอื่นๆ ภายในชุดยิงก็ทำการสับเปลี่ยนกันเป็นคนนำ เพื่อให้คนนำเดิมมีโอกาศเปลี่ยนซองกระสุนหรือเตรียมระเบิดขว้างได้ โดยมีรายละเอียดตามเอกสาร
                      และถ้าหากต้องใช้กำลังในการกวาดล้างเพิ้มขึ้น ผบ.มว.ก็สามารถใช้กำลังส่วนที่เหลือได้  โดยต้องพิจารณาการใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่รับผิดชอบใช้ให้เป็นหน่วย  และก่อนที่จะเคลื่อนที่ออกไปข้างหน้าเพื่อกวาดล้างข้าศึกจะต้องแจ้งให้ส่วนที่เป็นฐานยิงทราบก่อนเพื่อจะได้ทำการเลื่อนเขตการยิงออกไป
                      สำหรับข้อควรพิจารณาอื่นๆ ที่สำคัญ คือ ผู้บังคับหมู่สามารถร้องขอการยิงเล็งจำลอง (โดยขอผ่าน ผบ.มว.) ได้เมื่อจำเป็น และผู้บังคับหมู่ ต้องรายงานความคืบหน้าในการกวาดล้างให้ส่วนที่เป็นฐานยิงได้ทราบ  และสามารถระบุตำแหน่งของชุดยิงนำในคูติดต่อได้ตลอดเวลา
                      ผู้บังคับหมวด ควรจัดให้มีการหมุนเวียนหมู่ต่างๆ เป็นหมู่นำเพื่อให้กำลังพลได้ผ่อนคลายและดำรงรักษาแรงหนุนเนื่องในการโจมตีอยู่ตลอด
                      การเข้าไปในคูติดต่อนั้นต้องลงไปตรงจุดที่ใช้เข้าคูติดต่อเท่านั้น และการเคลื่อนที่ทั้งหมดต้องอยู่ในคูเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการยิงของฝ่ายเดียวกัน

                      สำหรับในเรื่องของหมู่ทหารราบเบาปฏิบัติการเป็นอิสระในการกวาดล้างคูติดต่อนั้น ยังคงใช้หลักการเช่นเดียวกันกับการปฏิบัติของหมวดทหารราบเบา เพียงแต่ขนาดของหน่วยปฏิบัติจะเล็กลงและจะกระทำต่อที่หมายจำกัด โดยตามแนวทางที่รองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ ๙ (๑) ได้ให้ไว้นั้น เมื่อหมู่ได้รับมอบภารกิจให้ทำการเข้ากวาดล้างคูติดต่อ  ผู้บังคับหมู่อาจจะกำหนดให้พลยิงอาวุธกลของแต่ละชุดยิงเป็นฐานยิงให้ โดยให้กำลังพลส่วนที่เหลือ ๓ คนในแต่ละชุดยิงจัดเป็นชุดโจมตี ๓ คน
                       เมื่อชุดโจมตีที่ ๑ จะลงไปในคูติดต่อ ชุดโจมตีที่ ๒ และหัวหน้าชุดและพลยิงอาวุธกลของชุดโจมตีที่ ๑ จะเป็นฐานยิงให้  ทำการยิงข่มไปยังที่มั่นของข้าศึกที่อยู่ข้างเคียง โดดเดี่ยวจุดที่จะใช้ลงไปในคู  ส่วนผู้บังคับหมู่ จะอยู่ ณ ตำแหน่งที่สามารถควบคุมหมู่ของตนได้ดีที่สุด
เมื่อสองคนแรกของชุดโจมตีที่ ๑ (ก็คือ พลยิง เอ็ม.๒๐๓ และพลปืนเล็ก) เคลื่อนที่ไปวางตัวตรงจุดที่จะลงแล้ว ก็จะขว้างระเบิดลงไปในคูก่อน เช่นเดียวกัน
                       เมื่อระเบิดทั้ง ๒ ลูก ระเบิดเรียบร้อย ทหารทั้ง ๒ คนจึงลงไปในคูติดต่อ ยืนหันหลังเข้าหากัน ทำการยิงปืนเป็นชุด ๓ นัด อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับเคลื่อนที่ไปตามแนวคูติดต่อในทิศทางตรงกันข้าม จนเคลื่อนที่มาถึงบริเวณมุมหรือทางแยก และในขณะเดียวกัน เมื่อระเบิดซึ่ง ๒ คนแรกได้ขว้างไปในคูติดต่อเกิดระเบิดแล้ว หน.ชุดโจมตีที่ ๑ ซึ่งอยู่กับพลยิงปืนเล็กกล คนก็จะเคลื่อนที่ไปยังจุดลงไปในคูติดต่อและเคลื่อนที่ไปยังมุมหรือทางแยกด้านใดด้านหนึ่ง
เมื่อสถาปนา foothold ได้แล้ว กำลังพลของชุดโจมตีที่ ๒ อีกสามคน (ยกเว้นพลยิงปืนเล็กกล) ก็จะลงไปในคูติดต่อ แล้วไปสับเปลี่ยกำลังพลด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งผู้ที่ถูกสับเปลี่ยนก็ให้กลับมาอยู่กับชุดของตน ที่อยู่อีกด้านหนึ่ง และทำการกวาดล้างคูติดต่อต่อไป ทั้งนี้เทคนิคในการปฏิบัติอาจปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงได้เพื่อความเหมาะสมต่อไป

                         สำหรับทหารราบยานเกราะในการกวาดล้างคูติดต่อ ตามที่ได้ศึกษาจากหนังสือ “The Battle Book”  หน้า ๕๑ – ๕๕  ซึ่งก็จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับกองร้อยทหารราบยานเกราะในการกวาดล้างคูติดต่อนั้น   ได้กล่าวไว้ว่า ในการโจมตีของกองร้อยทหารราบยานเกราะ ก็มีข้อพิจารณาหลักๆ ในการปฏิบัติเช่นเดียวกันกับกองร้อยทหารราบเบา เพียงแต่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมในเรื่อง การประสานการปฏิบัติระหว่างทหารราบเดินเท้ากับทหารที่อยู่ในยานรบ   และต้องพิจารณา   ตัดสินใจว่าจะใช้รถถังร่วมกับรถบรรทุกยานเกราะในลักษณะใด  โดยจะต้องจัดให้มี  ส่วนโจมตี  ส่วนสนับสนุน  และส่วนเจาะช่อง แนวตั้งรับของข้าศึก
                          นอกจากนี้   ที่ผู้บังคับหน่วยทหารราบยานเกราะจะต้องพิจารณาตัดสินใจเลือกว่าจะทำการโจมตีบนยานรบ  หรือโจมตีโดยการลงจากยานรบ  จะใช้รถถังนำหรือใช้รถบรรทุกยานเกราะนำ หรือว่าจะใช้ทหารราบเดินเท้านำ  ซึ่งรายละเอียดในการพิจารณาตามเอกสารที่ได้มอบไว้
                          ในการรบที่ประเทศอิรักที่ผ่านมาตามตัวอย่างที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือนั้น  มีข้อแตกต่างจากทหารราบเบาที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ในการกวาดล้างคูติดต่อของกองร้อยทหารราบยานเกราะ จะจัดกำลังทหารราบในรถบรรทุกยานเกราะออกเป็นชุดปฏิบัติการ  ชุดละ  ๓  คน จำนวน ๑๐ – ๑๒ ชุด โดยในแต่ละชุดประกอบด้วย  หน.ชุด , high man และ low man ซึ่งใน ๓ คนนี้ จะมีคนใดคนหนึ่งที่ใส่ชุดวิทยุที่มีเสาอากาศยาวๆ หรือ อุปกรณ์อื่นที่มีส่วนที่ยื่นเลยขึ้นมาพ้นคูคิดต่อและผูกธงไว้   เพื่อให้ทหารในยานรบที่อยู่ด้านบน ได้รู้ตำแหน่งของทหารราบในคูติดต่อได้
                           ตามภาพฉายนั้น ส่วนนำของหน่วยจะถือธงที่อยู่ติดกับรูปดาว  ดังนั้นการยิงสนับสนุนต้องทำการยิงไปทางด้านหน้าของธง  โดยเพ่งเล็งไปที่บังเกอร์ข้าศึกและที่ตั้งอาวุธหนัก  นอกจากนี้ยังมีธงอื่นๆ ที่ไว้ใช้ทำสัญลักษณ์ไว้ในทุกๆ บังเกอร์และมุมต่างๆ ที่ทำการกวาดล้างไปเรียบร้อยแล้ว
                          ในการใช้ธงนั้น  บางครั้งจะทำให้เกิดความกังวลว่าจะทำให้ข้าศึกทราบตำแหน่งของฝ่ายเรา และทำการโจมตี  แต่ในความเป็นจริง  ขณะที่ข้าศึกถูกยิงกดอยู่นั้น ข้าศึกไม่น่าจะออกมาจากหลุมเพื่อโจมตีฝ่ายเราจากทางด้านบน
สำหรับชุดปฏิบัติการกวาดล้างคูติดต่อซึ่งจัดกำลังในลักษณะเป็นชุดโจมตีที่มี  ๓ คนนั้น  จะมีการปฏิบัติในการเข้ากวาดล้างบริเวณมุมต่างๆ หรือ บังเกอร์ข้าศึก ดังนี้คือ หมายเลข ๑ (หรือ low man) ใช้การย่อตัวลงและยิงเล็งตรงเพื่อกดหรือทำลายข้าศึก ในขณะที่หมายเลข ๒  (หรือ high man) จะใช้ระเบิดขว้างเพื่อทำลายข้าศึก ซึ่งหมายเลข ๑ และ ๒ จะปฏิบัติไปพร้อมกัน  และหลังจากนั้น หน.ชุด (หมายเลข ๓ ) จะทำการโจมตีโดยต่อเนื่องทันที  สำหรับการเข้าไปในบังเกอร์หรือการผ่านมุมต่างๆ ก็สามารถนำเทคนิคการกวาดล้างห้องหรือมุมต่างๆ ในการรบในเมื่องมาใช้ได้  เช่นกัน
                         สำหรับรูปแบบการสาธิต ให้กับทางคณะนักศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรได้รับชมนั้น ทางกองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๙ จะใช้รูปแบบของหมวดทหารราบเบา ซึ่งในปัจจุบันทางกองพันก็ได้เริ่มจัดกำลังทำการซักซ้อมการปฏิบัติแล้ว โดยใช้พื้นที่สนามยิงปืนทราบระยะของกองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑๙

--------------------------------------------------------------
ร.อ. นพดล     ภาคาผล         ผบ.ร้อย.อวบ.ร.๑๙ พัน.๓   เรียบเรียง /จัดทำ
พ.อ. ดนัย    บุญตัน               รอง เสธ.พล.ร.๙        ตรวจ


 




บทความ

วิสัยทัศน์ พล.ร.๙
ร้อย.ร.(ยก.) ในการกวาดล้างคูติดต่อ
การฝึกทำนองรบ ๗ : การเข้าและกวาดล้างคูติดต่อ
คำบรรยายเรื่องการเจาะช่องผ่านสนามทุ่นระเบิดและเครื่องกีดขวางลวดสนามในขั้นต้น
คำบรรยายเรื่องการทำลายบังเกอร์
การทำลายบังเกอร์
การเจาะช่องผ่านสนามทุ่นระเบิดและเครื่องกีดขวางลวดสนามในขั้นต้น



กองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71190 , อีเมล : g6_surasri@hotmail.com , โทร. 034 - 589233 - 5 ต่อ 51470