ReadyPlanet.com
dot
dot
เรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ
dot
bulletเสาประวัติศาสตร์ พล.ร.9
bulletโครงการท่องเที่ยว พล.ร.9
bulletwebboardสำหรับชาวค่ายสุรสีห์
bulletหน่วยงานภายใน พล.ร.๙
bulletศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายสุรสีห์
bulletโรงเรียนอนุบาลค่ายสุรสีห์
bulletเครื่องราชอิสริยาภรณ์
bulletการแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์(เต็มยศ)
bulletกาญจนบุรี
dot
บทความและสาระน่ารู้
dot
bulletราชกิจจานุเบกษา
bulletหลักนิยมในการรบที่ไม่มีในคู่มือราชการสนามของกองทัพบกไทย
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯ ประจำปี 2562
bullet รายชื่อขอพระราชทานเหรียญจักรมาลา ประจำปี 2563
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2563
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2561
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2560
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2559
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2558
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2557
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (19/8/59)
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (19/1/59)
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (31/10/60)
dot
สมัครสมาชิก

dot
bulletระเบียบ ทบ.ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2555
bulletระเบียบ กห.ว่าด้วยคำย่อ พ.ศ. 2555
bulletระเบียบ ทบ.ว่าด้วย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.2551




คำบรรยายเรื่องการเจาะช่องผ่านสนามทุ่นระเบิดและเครื่องกีดขวางลวดสนามในขั้นต้น

สำหรับหมวดทหารราบเบาใน การเจาะช่องผ่านสนามทุ่นระเบิดและเครื่องกีดขวางลวดสนามในขั้นต้น ตามที่ได้ศึกษามาจากคู่มือราชการสนาม ๗-๘  ของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา รายละเอียดตามเอกสารที่ได้แจกจ่ายไปนั้น มีแนวทางการปฏิบัติสรุปได้ดังนี้ คือ
                หมวดปฏิบัติการรบเป็นส่วนหนึ่งของกองร้อย  หมู่นำพิสูจน์ทราบว่ามีเครื่องกีดขวางลวดหนามเพิ่มเติมด้วยทุ่นระเบิด ซึ่งไม่สามารถใช้การอ้อมผ่านได้และที่ตั่งข้าศึกอยู่บนฝั่งไกลของเครื่องกีดขวาง
ผบ.มว., พลวิทยุ, ผตน.,มว. และชุดยิง ปก.๑  เคลื่อนที่ขึ้นไปข้างหน้า เพื่อบรรจบกับ ผบ.หมู่ ที่กำลังปะทะข้าศึกอยู่
ผบ.มว.พิจารณาสถานการณ์ว่าสามารถดำเนินกลยุทธ์ได้หรือไม่โดยวิเคราะห์จาก 
-  เครื่องกีดขวางและที่ตั้งของข้าศึก 
-  ขนาดกำลังของฝ่ายข้าศึกที่กำลังปะทะกับหมู่ *(ตัวอย่างเช่น จำนวนอาวุธกลของข้าศึก  การปรากฏของยานยนต์ข้าศึก และการใช้การยิงสนับสนุนด้วยอาวุธวิถีโค้งจะเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงขนาดกำลังของข้าศึก)
-  จุดที่จะทำการเจาะผ่าน
-  เส้นทางที่มีการปกปิดกำบังและซ่อนพรางไปยังจุดที่จะทำการเจาะนั้น 
ผบ.มว. สั่งการให้  หมู่ ๑ หมู่ สนับสนุนการเคลื่อนที่และการปฏิบัติของหมู่ที่จะทำการเจาะช่อง  ผบ.มว. จะต้องเลือกที่ตั้งฐานยิงสนับสนุน  เส้นทางเคลื่อนที่เข้าไปยังที่ตั้งนั้น ที่ตั้งของข้าศึกที่จะต้องทำการยิงกด  จุดที่เจาะช่อง และเส้นทางการเคลื่อนที่ที่กำลังส่วนที่เหลือของหมวดจะใช้ นอกจากนี้ยังจะต้องกำหนดวิธีการเลื่อนหรือย้ายการยิงด้วย
ผบ.มว. กำหนดให้ หมู่ ๑ หมู่   ทำหน้าที่เป็นหมู่เจาะ และหมู่ที่เหลือเป็นหมู่โจมตี เมื่อเจาะช่องแล้ว (หมู่ที่เข้าโจมตีอาจจะเสริมอำนาจการยิงให้กับหมู่ที่เป็นฐานยิงก็ได้ ตามปกติแล้วหมู่นั้นจะเคลื่อนที่ตามเส้นทางที่มีการปกปิดกำบังและซ่อนพราง และเข้าโจมตีทันที เมื่อช่องถูกเจาะแล้ว)
หมู่ที่ได้รับมอบหน้าที่ให้ทำการเจาะช่อง เคลื่อนที่เข้าไปยังจุดทีกำหนดแล้ว จัดตั้งฐานยิง 
รอง ผบ.มว. และ ปืนกลกระบอกที่ ๒ เคลื่อนที่ขึ้นไปข้างหน้าไปยังหมู่ที่เป็นฐานยิงพร้อมกับแล้วเข้าควบคุมหมู่นั้น
เมื่อได้รับสัญญาณจาก ผบ.มว.  หมู่ที่เป็นฐานยิงสนับสนุน
-  ยิงทำลายหรือยิงกดอาวุธของข้าศึกที่ทำการยิงอย่างได้ผลมายังหมวดของตน 
-  กำบังการตรวจการณ์ของข้าศึกด้วยควัน (จาก เอ็ม.๒๐๓)
-  ทำการยิงกดข้าศึกอย่างต่อเนื่องในระดับต่อสุดเท่าที่จะทำได้

ผบ.มว. เป็นผู้กำหนดจุดที่ทำการเจาะ   และนำหมู่เจาะและหมู่โจมตีเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่มีการปกปิดกำบังและซ่อนพราง  ผตน.ของหมวด ร้องขอและปรับการยิงตามคำสั่งของ ผบ.มว.
                 หมู่เจาะทำการเจาะช่องผ่านเครื่องกีดขวาง (เป็นช่องทางเดิน)   ผบ.หมู่สั่งการให้ชุดยิงหนึ่งชุดสนับสนุนการเคลื่อนที่ของชุดยิงทีจะเข้าไปยังจุดที่จะเจาะ  ผบ.หมู่ กำหนดจุดที่จะทำการเจาะ  ชุดยิงที่เป็นฐานยิง ทำการยิงกดข้าศึกอย่างต่อเนื่องและตัดขาดจุดที่ทำการเจาะให้อยู่โดดเดี่ยว ชุดยิงที่ทำการเจาะ พร้อมกับ ผบ.หมู่ เคลื่อนที่ไปยังจุดเจาะโดยใช้เส้นทางที่มีการกำบังและการซ่อนพราง  ผบ.หมู่ และชุดเจาะ  ใช้ลูกระเบิดควันทำการกำบังตรวจการณ์ของข้าศึก ส่วนฐานยิงสนับสนุนของหมวดย้ายการยิงออกไปจากจุดเจาะ และยิงกดอาวุธประจำหน่วยของข้าศึกอย่างต่อเนื่อง  หน.ชุดเจาะ และพลยิง ปลก. วางตัวทางปีกของจุดเจาะ เพื่อทำการระวังป้องกันอย่างใกล้ชิด  พลยิง เอ็ม.๒๐๓ และพลปืนเล็กของชุดเจาะ  ทำการตรวจค้นทุ่นระเบิดและตัดลวดหนาม ทำเครื่องหมายช่องทางในขณะที่เริ่มเคลื่อนที่ไปข้างหน้า   (ควรใช้บังกะโลตอร์ปิโด ถ้าสามารถทำได้)
                เมื่อเครื่องกีดขวางถูกเจาะแล้ว ชุดยิงที่เป็นชุดเจาะ เคลื่อนที่ไปยังฝั่งด้านไกลของเครื่องกีดขวาง และเลือกที่วางตัวที่มีการกำบังและซ่อนพราง แล้วให้สัญญาณไปยัง ผบ.หมู่ เมื่อวางตัวเสร็จและพร้อมทำการสนับสนุน    ผบ.หมู่ ให้สัญญาณ/ให้ชุดยิงที่เป็นฐานยิงเคลื่อนขึ้นมาและผ่านช่องเจาะ   จากนั้น ผบ.หมู่ เคลื่อนที่ผ่านช่องเจาะและไปร่วมกับชุดเจาะโดยทิ้งให้พลยิง เอ็ม.๒๐๓ และพลปืนเล็กของชุดสนับสนุนไว้ที่ฝั่งไกล เพื่อนำทางให้กำลังส่วนที่เหลือของหมวดเคลื่อนที่ผ่านช่องเจาะ
การเคลื่อนที่ของกำลังส่วนที่เหลือของหมวด
-  โดยการใช้เส้นทางที่มีการกำบังและซ่อนพรางเส้นเดียวกับชุดเจาะชุดยิงที่เป็นฐานยิงเคลื่อนที่ผ่านช่องเจาะ 
-  รีบเข้าวางตัว ณ ที่กำบังและซ่อนพรางบริเวณฝั่งด้านไกล
-  ผบ.หมู่ ที่ทำการเจาะช่อง รายงานสถานการณ์ไปยัง ผบ.มว.
-  พร้อมวางยามคุ้มกันไว้ ณ จุดที่ทำการเจาะ  
-  ผบ.มว.   นำหมู่โจมตีเคลื่อนที่ผ่านช่องเจาะ แล้ววางกำลัง ณ ฝั่งไกล เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนที่ของส่วนที่เหลือของหมวด หรือทำการยิงไปยังข้าศึกที่คุ้มกันเครื่องกีดขวาง 
- ผบ.มว. รายงานสถานการณ์ไปยัง ผบ.ร้อย.
- สั่งการให้หมู่ที่ทำการเจาะเคลื่อนที่ผ่านช่องช่องนั้น
- ผบ.มว. กำหนดให้มียานคุ้มกันที่ช่องเจาะ  เพื่อนำทางให้กำลังของกองร้อยเคลื่อนที่ผ่านช่องเจาะนั้น
- กองร้อยเคลื่อนที่ตามและขยายผลแห่งความสำเร็จของหมวด โดยเคลื่อนที่เข้าโจมตีที่มั่นของข้าศึก

 


ร.อ. ไกรศัลย์   คุ้มวิเชียร   ผบ.ร้อย.อวบ.ร.๙ พัน.๒ ร้อย.๓   เรียบเรียง /จัดทำ
พ.อ. ดนัย    บุญตัน         รอง เสธ.พล.ร.๙                            ตรวจ


 




บทความ

วิสัยทัศน์ พล.ร.๙
ร้อย.ร.(ยก.) ในการกวาดล้างคูติดต่อ
การฝึกทำนองรบ ๗ : การเข้าและกวาดล้างคูติดต่อ
คำบรรยายเรื่องการทำลายบังเกอร์
คำบรรยายเรื่องการกวาดล้างคูติดต่อ
การทำลายบังเกอร์
การเจาะช่องผ่านสนามทุ่นระเบิดและเครื่องกีดขวางลวดสนามในขั้นต้น



กองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71190 , อีเมล : g6_surasri@hotmail.com , โทร. 034 - 589233 - 5 ต่อ 51470