ReadyPlanet.com
dot
dot
เรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ
dot
bulletเสาประวัติศาสตร์ พล.ร.9
bulletโครงการท่องเที่ยว พล.ร.9
bulletwebboardสำหรับชาวค่ายสุรสีห์
bulletหน่วยงานภายใน พล.ร.๙
bulletศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายสุรสีห์
bulletโรงเรียนอนุบาลค่ายสุรสีห์
bulletเครื่องราชอิสริยาภรณ์
bulletการแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์(เต็มยศ)
bulletกาญจนบุรี
dot
บทความและสาระน่ารู้
dot
bulletราชกิจจานุเบกษา
bulletหลักนิยมในการรบที่ไม่มีในคู่มือราชการสนามของกองทัพบกไทย
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯ ประจำปี 2562
bullet รายชื่อขอพระราชทานเหรียญจักรมาลา ประจำปี 2563
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2563
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2561
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2560
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2559
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2558
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2557
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (19/8/59)
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (19/1/59)
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (31/10/60)
dot
สมัครสมาชิก

dot
bulletระเบียบ ทบ.ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2555
bulletระเบียบ กห.ว่าด้วยคำย่อ พ.ศ. 2555
bulletระเบียบ ทบ.ว่าด้วย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.2551




การฝึกทำนองรบ ๗ : การเข้าและกวาดล้างคูติดต่อ

                                                                                                                                                       FM 7 - 8


                                                      การฝึกทำนองรบ ๗ : การเข้าและกวาดล้างคูติดต่อ
สถานการณ์ : หมวด เป็นกำลังส่วนหนึ่งของหน่วยขนาดใหญ่กว่า ทำการโจมตีและพิสูจน์ทราบข้าศึกในคูติดต่อ โดยเมื่อหมวดได้วางกำลัง และสถาปนาฐานยิงเรียบร้อยแล้ว ผู้บังคับหมวดเห็นว่า หน่วยมีอำนาจกำลังรบเพียงพอที่จะดำเนินกลยุทธและโจมตีคูติดต่อได้                              
การปฏิบัติที่ต้องการ : (รูป ๔-๑๑, ๔- ๑๒)
๑. ผบ.มว. จะใช้หมู่ปืนเล็ก ๑ หมู่ เข้าไปในคูติดต่อ และระวังป้องกันพื้นที่ในคูติดต่อบริเวณ  จุดที่เข้าไปในคู ( foothold )
๒. เมื่อหมวดจะเริ่มทำการกวาดล้าง ผบ.มว. จะกำหนดจุดที่จะให้เข้าไปในคูติดต่อ และทิศทางการเคลื่อนที่ไปยังจุดดังกล่าว
๓. รอง ผบ.มว. จะวางตำแหน่งทหาร และตำแหน่งปืนกล เพื่อทำการยิงข่มข้าศึก และโดดเดี่ยวจุดที่จะเข้าไปในคูติดต่อ
๔. เมื่อหมู่ปืนเล็กที่ได้รับมอบภารกิจ จะเริ่มปฏิบัติภารกิจการในการเข้าไปโจมตีข้าศึกในคูติดต่อ และสถาปนาพื้นที่ในคูติดต่อ(foothold) ผบ.หมู่ จะกำหนดให้มี ๑ ชุดยิงเป็นชุดโจมตี และอีก ๑ ชุดยิงทำการสนับสนุนด้วยการยิงในขั้นต้น ก่อนที่จะเคลื่อนที่ตาม และคอยสนับสนุนชุดโจมตีต่อไป โดย ผบ.หมู่จะกำหนดจุดที่จะเข้าไปยังคูติดต่อที่แน่นอน :-
           ก. ผบ.หมู่ และชุดโจมตี เคลื่อนที่ไปยังตำบลที่มีการกำบังและการซ่อนพรางแห่งสุดท้ายก่อนถึงคูติดต่อ
               (๑) ผบ.หมู่ กำหนดจุดที่จะเข้าไปในคูติดต่อ
               (๒) ส่วนที่เป็นฐานยิง เลื่อนแนวการยิงออกจากจุดที่จะใช้เข้าไปในคูติดต่อ และยังคงทำการยิงข่มไปยังที่มั่นของข้าศึกที่อยู่ข้างเคียง หรือทำการยิงเพื่อโดดเดี่ยวคูติดต่อเมื่อต้องการ
               (๓) หน.ชุดโจมตี และ พลยิง ปลก. ยังคงวางตัวอยู่ที่บริเวณก่อนถึงคูติดต่อ เพื่อเพิ่มเติมอำนาจการยิงข่มให้กับการเข้าไปในคูติดต่อเริ่มแรก
              (๔) ทหาร ๒ คนที่เหลือในชุดโจมตี ( พลปืนเล็กและพล ค.) เคลื่อนที่ต่อไปยังจุดที่จะใช้ลงไปในคูติดต่อ โดยเคลื่อนที่ไปอย่างรวดเร็วหรือใช้การคลานไป
              (๕) ผบ.หมู่ อยู่ ณ ตำแหน่งที่สามารถควบคุมหมู่ของตนได้ดีที่สุด
         ข. ทหารสองคนแรก (พลปืนเล็กและพลขว้างระเบิด) ของชุดโจมตีเคลื่อนที่ไปยังขอบคูติดต่อ นอนขนานไปกับคูติดต่อ และเมื่อ ผบ. หมู่ สั่งการ ก็ให้ดึงสลักนิรภัย ออก (ถ่วงเวลาไว้ไม่เกิน ๒ วินาที) ตะโกนว่า “ระเบิดทำงาน” แล้วโยนระเบิดเข้าไปในคู
             (๑) เมื่อแน่ใจว่าระเบิดทั้ง ๒ ลูก ระเบิดเรียบร้อย ทหารทั้งสองคนจึงม้วนตัวลงไปในคูติดต่อ ยืนหันหลังเข้าหากัน ยิงปืนพร้อมกับเคลื่อนที่ไปตามแนวคูติดต่อในทิศทางตรงกันข้าม โดยยังคงยิงปืนในลักษณะ เป็นชุด ๓ นัด อย่างต่อเนื่อง จนเคลื่อนที่มาถึงบริเวณมุม หรือ ทางแยก ให้หยุดคอยและวางตัวในตำแหน่งดังกล่าวเพื่อปิดกั้นไม่ให้ข้าศึกเคลื่อนที่ไปยังจุดลงคูติดต่อ
            (๒) ในขณะเดียวกัน เมื่อระเบิดซึ่ง ๒ คนแรกได้ขว้างไปในคูติดต่อเกิดระเบิดแล้ว หน.ชุดจู่โจม และพลยิง ปลก. ซึ่งกำลังทำการ รวป. อยู่ห่างออกมา ก็จะรีบเคลื่อนที่ไปยังจุดลงคูติดต่อ และลงคูทันที โดย ผบ. หมู่จะสั่งการให้ทั้งสองคน ไปยังมุมหรือทางแยกด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อสับเปลี่ยนหน้าที่กับ พลปืนเล็กหรือพลขว้างระเบิดซึ่งอยู่ที่จุดดังกล่าวและพลปืนเล็กหรือพล ค. ซึ่งถูกสับเปลี่ยนนั้นก็จะกลับมาอยู่กับบัดดี้ของตน ซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่งของ พื้นที่คูติดต่อ
        ค. ผบ.หมู่ยังคง อยู่ ณ จุดลงคูติดต่อและทำเครื่องหมายบริเวณดังกล่าว
ง. ผบ.หมู่ รายงาน ผบ.มว. ว่าได้ลงคูติดต่อและทำการ รวป. พื้นที่คูติดต่อ ไว้เรียบร้อย จากนั้น ผบ.มว.พร้อมด้วย กำลังพลส่วนที่เหลือ ก็จะอาศัยความสำเร็จจากการที่เราสามารถยึดครอง  พื้นที่คูติดต่อ ไว้ได้ นำกำลังลงไปปฏิบัติการเพื่อกวาดล้างคูติดต่อ  ต่อไป
        จ. หมู่ทำการจัดระเบียบใหม่เท่าที่จำเป็น โดย ผบ.หน่วย ทำการจัดสรรกระสุน/วัตถุระเบิดใหม่ภายในหน่วยตน
๕. ผบ.มว. สั่งการให้หมู่ ปล.ที่เป็นฐานยิง ๑ หมู่ เคลื่อนที่เข้ามายังคูติดต่อ แล้วทำการกวาดล้าง จาก พื้นที่คูติดต่อ ออกไป
๖. กำลังส่วนที่เหลือ ซึ่งทำหน้าที่เป็นฐานยิง ทำการกระจายกำลังวางตำแหน่งใหม่เท่าที่จำเป็น เพื่อทำการยิงข่มข้าศึกต่อไป
๗. ผบ.มว.เคลื่อนที่ลงไปในคูติดต่อพร้อมกับหมู่โจมตี
๘. หมู่โจมตีที่เพิ่งเคลื่อนที่ลงไป เคลื่อนที่ผ่านหมู่ที่ทำการระวังป้องกัน พื้นที่คูติดต่อ อยู่และทำการกวาดล้างต่อไป โดย :-
        ก. ผบ.หมู่ จะกำหนดว่าจะให้ชุดยิงใดเป็นส่วนนำ และชุดยิงใดเคลื่อนที่ตาม
        ข. ชุดยิงที่เป็นชุดนำ และ ผบ.หมู่ เคลื่อนที่ไปยังมุมหรือทางแยกที่อยู่ไกลสุดที่มีการ รวป. อยู่ จากนั้น ผบ. หมู่ บอกกับกับชุดยิงที่ทำการ รวป. มุม หรือ ทางแยกนั้นว่า หมู่ของตนพร้อมที่จะทำการกวาดล้างต่อไป และให้ชุดยิงที่เป็นชุดเคลื่อนที่ตาม เคลื่อนที่ตามชุดนำ โดยต้องรักษาระยะต่อให้สามารถมองเห็นทหารคนสุดท้ายของชุดนำได้ตลอด
หมายเหตุ :  ตลอดเทคนิคนี้  หน.ชุด  จะอยู่ด้านหลังของชุดยิง ทำการควบคุมทหารภายในชุดโดยตรง (โดยใช้การสัมผัสถ้าหากจำเป็น) ทหารคนอื่นๆ ภายในชุด ยิงก็ทำการสับเปลี่ยนกันเป็นคนนำ เพื่อให้คนนำเดิมมีโอกาศเปลี่ยนซองกระสุนและเตรียมระเบิดขว้าง และการเปลี่ยนทหารขึ้นมาเป็นคนเคลื่อนที่นำ ยังทำให้สามารถดำรงการยิงข่มได้อย่างต่อเนื่อง และยังเป็นการรักษาแรงหนุนเนื่องในการโจมตีเมื่อหมู่ทำการกวาดล้างคูติดต่อ
        ค. ชุดยิงที่เป็นส่วนนำเคลื่อนที่ผ่านส่วนที่ รวป. พื้นที่คูติดต่อ
            (๑) ทหารซึ่งเป็นคนนำหน้าของชุดยิง เคลื่อนที่ไปอยู่ข้างๆ ทหารซึ่งกำลัง รวป. มุม หรือ ทางแยกอยู่ แล้วแตะไหล่ให้สัญญาณพร้อมทั้งกล่าวว่า “เปลี่ยนชุดนำ”
            (๒) เมื่อทหารซึ่งทำการ รวป. อยู่ที่มุม หรือ ทางแยก รับทราบว่ามีกำลังฝ่ายเรามาทำการเปลี่ยนกำลัง ก็จะตอบกลับไปว่า “ตกลง” และให้ชุดยิงดังกล่าว เคลื่อนที่ผ่านไป
       ง. ชุดยิงซึ่งเป็นชุดนำเริ่มทำการกวาดล้างไปตามทิศทางที่กำหนด และเคลื่อนที่ไปถึงมุมหรือสี่แยก
            (๑) ทหารคนที่ ๒ เตรียมการและทำการขว้างระเบิดออกไปจากมุมพร้อมทั้งตะโกนว่า “ระเบิดทำงาน” โดยต้องถอดสลักระเบิดออกและถ่วงเวลาไว้ไม่เกิน  ๒ วินาที
           (๒) เมื่อระเบิดได้ระเบิดออกแล้ว ทหารซึ่งเป็นคนนำก็เคลื่อนที่อ้อมมุมออกไปทำการยิงเป็นชุด (พร้อมกับเคลื่อนที่ไปด้วย) จำนวน ๓ ชุด (ชุดละ ๓ นัด) กำลังพลที่เหลือภายในชุดทั้งหมดก็เคลื่อนที่ตามไปยังมุมหรือทางแยกต่อไป
      จ. ผบ.หมู่ :-
           (๑) เคลื่อนที่ตามชุดยิงนำอย่างกระชั้นชิด
           (๒) มั่นใจว่าชุดยิงตาม เคลื่อนที่ตามมา และพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นชุดยิงนำเมื่อสั่ง
           (๓) หมุนเวียนชุดยิงเท่าที่จำเป็นเพื่อให้ทหารไม่อ่อนล้าและเพื่อรักษาแรงหนุนเนื่องในการกวาดล้าง
           (๔) ร้องขอการยิงเล็งจำลอง (โดยขอผ่าน ผบ.มว.) เมื่อจำเป็น

อันตราย : ชุดยิงจะต้องรักษาระยะต่อที่เพียงพอ ที่ทำให้ไม่ให้ได้รับอันตรายร่วมกันจากการยิงของข้าศึก


       ฉ.   ทุกๆมุมและทางแยก, ชุดยิงนำจะปฏิบัติกิจกรรมเช่นเดียวกันกับที่ได้อธิบายในข้อ ง.
        ช.  ถ้าทหารซึ่งเป็นคนนำของชุดยิงพบว่ากระสุนของตนเองใกล้จะหมดก่อนที่จะไปถึงมุมหรือทางแยกให้ตะโกนว่า  “ กระสุนเพิ่มเติม ”
             (๑) ทหารซึ่งเป็นคนนำหยุดทันทีแล้วเคลื่อนที่ไปชิดผนังด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้กำลังพลส่วนที่เหลือของชุดยิงเคลื่อนที่ผ่านไปในขณะเดียวกันก็ยังคงจับปืนชี้ลงล่างในทิศทางที่จะเคลื่อนที่ต่อไป
             (๒) ทหารคนถัดไปต้องมั่นใจว่าตนเองมีกระสุนอยู่เต็มซองกระสุน จากนั้นเคลื่อนที่ผ่านทหารซึ่งเป็นคนนำเดิม แตะตัว และกล่าวว่า “ เปลี่ยนผู้นำ”
             (๓) เมื่อทหารซึ่งเป็นคนนำเดิมทราบว่ามีกำลังพลมาสับเปลี่ยน ให้ตะโกนว่า  “ตกลง”,มีการสับเปลี่ยนตำแหน่ง และ หมู่ยังต้องปฏิบัติภารกิจต่อไป
      ซ. ชุดยิงที่เคลื่อนที่ตาม ทำการ รวป.ทางแยก และทำเครื่องหมายในคูติดต่อเมื่อหมู่เคลื่อนที่ต่อไปข้างหน้า และนอกจากนี้ หน.ชุดยิงตาม ต้องมั่นใจว่า หมู่ต่างๆ ที่เคลื่อนที่ตามมาได้มีการสับเปลี่ยนชุด รปภ. เพื่อยังคงเป็นการรักษา ความปลอดภัย
    ฌ. ผบ.หมู่ รายงานความก้าวหน้าในปฏิบัติการกวาดล้าง (ส่วนที่เป็นฐานยิงต้องทราบและสามารถระบุตำแหน่งของชุดยิงนำในคูติดต่อได้ตลอดเวลา)
 ๙. ผบ.มว. มีการหมุนเวียนหมู่ต่างๆ เพื่อให้กำลังพลได้ผ่อนคลายและดำรงรักษาแรงหนุนเนื่องในการโจมตี
๑๐. รอง ผบ.มว. ร้องขอการการสนับสนุน กระสุน/วัตถุระเบิดเพิ่มเติม และจัดชุดไปรับมาไว้ในคูติดต่อ
๑๑. ส่วนที่เป็นฐานยิงต้องมั่นใจว่ากำลังฝ่ายเราทั้งหมด เคลื่อนที่ลงไปในคูติดต่อทางจุดเข้าที่กำหนดเท่านั้น (การเคลื่อนที่ทั้งหมดต้องอยู่ในคูเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับอันตรายจากการยิงของฝ่ายเดียวกัน)
๑๒.ผบ.มว.รายงานให้ ผบ.ร้อย.ทราบว่า คูติดต่อปลอดภัยแล้วเมื่อสามารถกวาดล้างคู
       ติดต่อได้  หรือว่าไม่สามารถกวาดล้างคูติดต่อได้ต่อไปแล้ว
                                                           รูป ๔ – ๑๑  การเข้าคูติดต่อ (หมู่)

        

 

ร.อ. นพดล     ภาคาผล         ผบ.ร้อย.อวบ.ร.๑๙ พัน.๓                  แปล

พ.อ. ดนัย       บุญตัน           รอง เสธ.พล.ร.๙                                 ตรวจ

 




บทความ

วิสัยทัศน์ พล.ร.๙
ร้อย.ร.(ยก.) ในการกวาดล้างคูติดต่อ
คำบรรยายเรื่องการเจาะช่องผ่านสนามทุ่นระเบิดและเครื่องกีดขวางลวดสนามในขั้นต้น
คำบรรยายเรื่องการทำลายบังเกอร์
คำบรรยายเรื่องการกวาดล้างคูติดต่อ
การทำลายบังเกอร์
การเจาะช่องผ่านสนามทุ่นระเบิดและเครื่องกีดขวางลวดสนามในขั้นต้น



กองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71190 , อีเมล : g6_surasri@hotmail.com , โทร. 034 - 589233 - 5 ต่อ 51470