ReadyPlanet.com
dot
dot
เรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ
dot
bulletเสาประวัติศาสตร์ พล.ร.9
bulletโครงการท่องเที่ยว พล.ร.9
bulletwebboardสำหรับชาวค่ายสุรสีห์
bulletหน่วยงานภายใน พล.ร.๙
bulletศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายสุรสีห์
bulletโรงเรียนอนุบาลค่ายสุรสีห์
bulletเครื่องราชอิสริยาภรณ์
bulletการแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์(เต็มยศ)
bulletกาญจนบุรี
dot
บทความและสาระน่ารู้
dot
bulletราชกิจจานุเบกษา
bulletหลักนิยมในการรบที่ไม่มีในคู่มือราชการสนามของกองทัพบกไทย
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯ ประจำปี 2562
bullet รายชื่อขอพระราชทานเหรียญจักรมาลา ประจำปี 2563
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2563
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2561
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2560
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2559
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2558
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2557
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (19/8/59)
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (19/1/59)
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (31/10/60)
dot
สมัครสมาชิก

dot
bulletระเบียบ ทบ.ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2555
bulletระเบียบ กห.ว่าด้วยคำย่อ พ.ศ. 2555
bulletระเบียบ ทบ.ว่าด้วย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.2551




ร้อย.ร.(ยก.) ในการกวาดล้างคูติดต่อ

                                                                                                                The Battle Book ( หน้า ๕๑ – ๕๕ )
                  (เกี่ยวกับกองร้อยทหารราบยานเกราะ/ทหารม้ายานเกราะในการกวาดล้างคูติดต่อ)



ในการโจมตีของกองร้อยทหารราบยานเกราะ(Mech) หรือ ทหารม้ายานเกราะ(Armor) ก็มีข้อพิจารณาต่างๆ เช่นเดียวกันกับกองร้อยทหารราบเบา(Light) แต่มีข้อพิจารณาเพิ่มเติม ๒ - ๓ อย่าง  ที่เห็นได้ชัดก็คือ ในการปฏิบัติการของทหารราบยานเกราะ หรือ ทหารม้ายานเกราะ จะต้องมีการประสานการปฏิบัติระหว่างทหารเดินเท้ากับทหารที่อยู่ในยานรบ  และต้องพิจารณา ตัดสินใจว่าจะใช้รถถังร่วมกับรถบรรทุกยานเกราะในลักษณะใด   เพื่อให้ทั้งกองร้อยสามารถทำการโจมตีได้ (ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่สุด)  ถ้าหากว่ากองพัน ทหารราบยานเกราะ/ทหารม้ายานเกราะเฉพาะกิจ  มีกองร้อยดำเนินกลยุทธ์มากขึ้น  มีส่วนสนับสนุนทางการช่างที่ใหญ่ขึ้น และพื้นที่ในการปฏิบัติการยังเป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการใช้รถถังด้วยแล้ว   การเข้าตีของทั้งกองร้อยก็น่าจะเกิดขึ้น   แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ากองพันต้องทำการโดดเดี่ยวที่หมายด้วยตนเอง (ไม่ใช้กองพันอื่นดำเนินการให้)    กองร้อยที่จะทำการโจมตีต่อที่หมาย อาจจะต้องมี  ส่วนโจมตี  ส่วนสนับสนุน  และส่วนเจาะช่อง แนวตั้งรับของข้าศึก
นอกจากนี้   ยังมีอีก ๒ - ๓ อย่าง ที่ผู้บังคับหน่วยยานเกราะ    จะต้องพิจารณาตัดสินใจเลือก   จะโจมตีบนยานรบหรือโจมตีโดยการลงจากยานรบ  จะใช้รถถังนำหรือใช้รถยานเกราะ  BFV นำ หรือว่าจะใช้ทหารราบนำ   ถ้าหากว่าอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นทะเลทราย มีพื้นที่ดำเนินกลยุทธ์แบบเปิดและเหมาะกับการใช้รถถัง  ก็น่าจะใช้รถถังเป็นส่วนนำ  เพราะในภูมิประเทศลักษณะดังกล่าว รถถังจะสามารถใช้คุณลักษณะของรถถังได้เต็มที่    ทั้งในเรื่องของความเร็ว การมีเกราะป้องกัน การชน/ปะทะ และอำนาจการยิง   สามารถเห็นศัตรูที่จะเข้ามาทำอันตรายและสามารถดำเนินกลยุทธ์เอาชนะได้  แต่ถ้าเป็นภูมิประเทศปิด เป็นพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกหนาแน่น มีแนวคูคลอง ไม่เหมาะกับการเคลื่อนที่โดยรถสายพาน น่าจะใช้ทหารราบลงรถเคลื่อนที่นำ  หรือถ้าเป็นภูมิประเทศแบบป่าโปร่ง เป็นพื้นที่ค่อนข้างจำกัด และต้องใช้ทหารราบลงรถในการปฏิบัติต่อที่หมาย ผู้บังคับหน่วยก็อาจโจมตีโดยใช้รถบรรทุกยานเกราะโดยให้ทหารราบลงรถ ณ ที่หมาย หรือ หลังที่หมาย แล้วปฏิบัติต่อที่หมาย  ถ้าทั้งกองร้อยถูกกำหนดให้เป็นส่วนโจมตี ผบ.ร้อย อาจใช้รถถัง และยานเกราะ BFV เข้ายึดครองที่หมายก่อนที่จะให้ทหารลงรถ ทำการกวาดล้างและระวังป้องกันพื้นที่ดังกล่าว สำหรับการตัดสินใจว่าจะลงรถรบหรือรบบนรถ จะใช้รถถังนำ หรือยานเกราะ BFV นำ จะได้กล่าวในรายละเอียดติอไป แต่ ณ จุดนี้จะมุ่งไปที่การ TTP ของส่วนโจมตีก่อน

 

 

จากตัวอย่างข้างบน    กองร้อยทั้งกองร้อยได้รับมอบภารกิจให้เป็นส่วนโจมตี โดยมีหนึ่งกองร้อยเป็นส่วนสนับสนุน และอีกหนึ่งกองร้อยเป็นส่วนเจาะช่อง คอยอยู่ด้านหลังบริเวณเครื่องกีดขวางแห่งสุดท้าย และกองร้อยสุดท้ายเป็นกองหนุน
                  การวางกำลังของข้าศึกในตัวอย่างนี้ได้แบบอย่างมาจากการวางแผนของทหารราบเบาของอิรัก     มี AT3 และ SPG60 อยู่ทางด้านปีกของบังเกอร์   มีทหารยึดครองที่มั่นดังกล่าวอยู่ ทั้งหมด   ๓๘   คน   มีหนึ่งหมวดรถถังเป็นกองหนุนของกองร้อย   ซึ่งสันนิษฐานว่า  หมวดรถถังดังกล่าวจะเคลื่อนที่มาข้างๆ หมวดของเรา  เพราะว่าเรามีเวลามากในการพัฒนาการโจมตีในพื้นที่นั้น   ภูมิประเทศเหมาะแก่การทำการดำเนินกลยุทธ์บนยานรบ เพราะระบบต่อสู้รถถังของข้าศึกไม่สามารถเจาะเกราะด้านหน้ารถถัง  M1A1 ของเราได้ และเนื่องจากข้าศึกมีกำลัง ๑ หมวดยึดครองที่หมายอยู่ ดังนั้นจึงต้องใช้กำลัง ๑ กองร้อยเข้าทำการยึดครองพื้นที่ดังกล่าว
                  รถถังทางด้านปีกขวาของหมวดทหารม้ายานเกราะ ขับตรงไปบนบังเกอร์ข้าศึก  โดยที่ระยะประมาณ  ๒๐  เมตรจากคูติดต่อ ตอนรถถังที่อยู่ทางด้านปีกขวาจะทำการยิงระเบิดควันฟอสฟอรัสสีแดง ทำให้ทหารข้าศึกต้องหลบอยู่ในบังเกอร์ และรถถังก็อาจจะทำการบดขยี้บังเกอร์เมื่อเคลื่อนที่ผ่าน   แต่ถ้าไม่ทำแบบนั้น  ข้าศึกซึ่งอยู่ข้างในก็จะหาที่กำบัง ทำให้รถยานเกราะ  BFV และทหารราบของเราสามารถเข้ามาใกล้ด้านปีกที่เป็นจุดอ่อนของข้าศึก  หมวดรถถังให้อยู่ระหว่างคูติดต่อของหมู่  กับ ทก.มว.  ยิงข่มไปที่ที่บังคับการของหมวด และค้นหาหมวดรถถังข้าศึก โดยให้ตอนรถถังทางด้านปีกซ้ายเป็นส่วนกำบังทางปีกให้กองร้อย
                   เมื่อหมวด ร.ยานเกราะ  BFV เคลื่อนที่ตามรถถังผ่านช่องเข้าไป   โดยหนึ่งหมวดเข้าแถวตั้งฉากกับแนวคูติดต่อและทำการยิงไปตามแนวแกนยาวเพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกออกมาจากบังเกอร์มาทำการรบกับฝ่ายเรา อีกหนึ่งหมวดเข้าแถวหันหลังเข้าหาหมวดแรก หันหน้าออกจากคูติดต่อเพื่อป้องกันทางปีกให้กับกองร้อย    ณ จุดนี้ท้ายรถทุกคัน หันเข้าไปด้านใน และปล่อยควันออกมาเพื่ออำพรางและซ่อนพรางทหารราบที่จะลงจากยานรบเพื่อเข้าไปทำการกวาดล้างคูติดต่อ
                   เมื่อกองร้อยอยู่ในตำแหน่งเรียบร้อย ทหารราบลงจากยานรบเข้ามาอยู่ใน กล่องเหล็ก  ซึ่งเกิดจากการวางตำแหน่งรถ  BFVs  และจัดเป็นชุดปฏิบัติการในการกวาดล้างคูติดต่อ ชุดละ  ๓  คน จำนวน ๑๐ – ๑๒ ชุด  โดยในแต่ละชุดประกอบด้วย หน.ชุด , high man และ low man ซึ่งใน ๓ คนนี้ ควรมีคนใดคนหนึ่งที่ใส่ชุดวิทยุที่มีเสาอากาศยาวๆ หรือ อุปกรณ์อื่นที่มีส่วนที่ยื่นเลยขึ้นมาพ้นคูคิดต่อ ซึ่งสามารถระบุที่อยู่ให้กับยานรบที่อยู่ด้านบนได้โดยสังเกตุจากธงที่อยู่ที่ปลายเสาวิทยุ  หรืออุปกรณ์อื่นที่นำมาใช้นั้น  และทุกๆ  มุม และบังเกอร์ที่ได้ทำการกวาดล้าง


              แล้วก็ควรจะมีธงปักอยู่ด้านบนของมุมและบังเกอร์นั้นๆ  ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้กำลังต่างๆ ที่อยู่ด้านบนสามารถติดตามและทราบความคืบหน้าของชุดปฏิบัติการในคูติดต่อ ถึงแม้บางครั้งจะทำให้เกิดความกังวลว่าสัญลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้จะดึงความสนใจของข้าศึก แต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ข้าศึกจะทิ้งหลุมแล้วขึ้นมามองข้างบนคูติดต่อและทำการโจมตีจากด้านบน

                  ชุดปฏิบัติการกวาดล้างตูติดต่อจัดกำลังในลักษณะเป็นชุดโจมตี ๓ คนหลายๆ ชุด โดยมี ผบ. มว. ๑ คน เคลื่อนที่ลงไปกับชุดดังกล่าวด้วย โดยอาจจะไปกับชุดที่สองหรือชุดที่สาม  สำหรับ ผบ.ร้อย. ก็ควรจะพิจารณาลงไปด้วยเช่นกัน   และจุดแตกหักในการปฏิบัติการจะเปลี่ยนมาเป็นคูติดต่อเมื่อการปฏิบัติการเริ่มขึ้น  ในแต่ละชุดจะต้องปฏิบัติงานสามอย่างให้สำเร็จ ในการกวาดล้างแต่ละบังเกอร์หรือแต่ละมุม  กล่าวคือ 

                   ๑. ใช้การยิงตรงในการยิงกดข้าศึก (Low man) 

                    ๒. ใช้ระเบิดมือหรือวัตถุระเบิดอื่นๆ เพื่อทำลายข้าศึก (High man)  

                    ๓. ทำการโจมตี   

                 งานอย่างที่ ๑ และ ๒ นั้น ต้องทำไปพร้อมๆ กัน และจึงค่อยทำงานอย่างที่ ๓ ตามทันที จุดหักมุมจุดเลี้ยวต่างๆ หรือ ทางเข้าสู่บังเกอร์ ก็เปรียบได้เสมือนกับ ปล่องไฟ หรือประตู ในการรบในพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง  การยิงหรือการใช้ระเบิดอย่างต่อเนื่องในอัตราที่สูงจะเป็นการกดข้าศึกไว้สำหรับการเข้าโจมตีของฝ่ายเรา ในหมู่ทหารราบยานเกราะนั้น จะมี  M231 Firing Port Weapons (FPW) ซึ่งเป็นอาวุธอัตโนมัติที่มีอัตราการยิงสูง  โดยในการปฏิบัติการ  ทหารคนที่ ๑ สามารถนำ FPW ลงไปในขณะที่ทหารคนที่ ๓ ก็นำซองใส่กระสุนลงไปเต็มเป้สนาม และทหารคนที่ ๒ ก็นำระเบิดลงไปเต็มเป้เช่นเดียวกัน   SAWs หรือ M60s เป็นสิ่งที่ไม่ควรนำลงไปใช้ในคูติดต่อเพราะอาวุธเหล่านี้ทำให้เกิดฝุ่นมาก(เนื่องจากเป็นทะเลทราย)และมีเสียงดังมาก    FPW. เป็นอาวุธที่ดียิ่งที่ควรจะนำมาใช้แทนอาวุธอัตโนมัตในการกวาดล้างคูติดต่อ   เนื่องจากอาวุธชนิดนี้ทั้งน้ำหนักเบา  และมีอัตราการยิงสูงมาก
 การโจมตีที่มั่นแข็งแรงเป็นสิ่งที่พบได้เสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบเร่งด่วนหรือแบบปราณีต และเทคนิคต่างๆ ในการโจมตี สามารถนำไปใช้กับการโจมตีข้าศึกที่ทำการตั้งรับแบบยึดพื้นที่  สำหรับหลักพื้นฐานซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะนำไปใช้ในการโจมตีข้าศึกในที่มั่นมีดังนี้
 กด/ข่ม กำลังของข้าศึกที่คุ้มครองเครื่องกีดขวางอยู่
 พราง กำลัง (ของฝ่ายเรา) ที่จะทำการเจาะช่องจากการตรวจการณ์ของข่าศึก โดยการใช้ควัน
 ระวังป้องกัน พื้นที่ฝั่งไกลของเครื่องกีดขวางเมื่อสามารถเจาะช่องเข้าไปได้
 ลด เครื่องกีดขวางโดยการขยายช่องเจาะ และทำเป็นช่องทางให้กับกำลังที่จะตามเข้ามา
           องค์กรต่างๆ ในการโจมตี  ได้แก่
 ส่วนโจมตี
 ส่วนสนับสนุน
 ส่วนเจาะช่อง
บทบาทของกองหนุน
 ความมุ่งหมายหลัก : เพื่อความอ่อนตัว,  เพิ่มความสำเร็จของภารกิจ, นำมาซึ่งความเป็นฝ่ายริเริ่ม
 ความมุ่งหมายรอง : ขยายผลแห่งความสำเร็จ, ดำรงความต่อเนื่องในการโจมตี, เพิ่มเติมการรักษาจังหวะการรบ, ให้ความปลอดภัยกับหน่วย

                  ร.อ. นพดล     ภาคาผล         ผบ.ร้อย.อวบ.ร.๑๙ พัน.๓                     แปล
                  พ.อ. ดนัย       บุญตัน           รอง เสธ.พล.ร.๙                                 ตรวจ




บทความ

วิสัยทัศน์ พล.ร.๙
การฝึกทำนองรบ ๗ : การเข้าและกวาดล้างคูติดต่อ
คำบรรยายเรื่องการเจาะช่องผ่านสนามทุ่นระเบิดและเครื่องกีดขวางลวดสนามในขั้นต้น
คำบรรยายเรื่องการทำลายบังเกอร์
คำบรรยายเรื่องการกวาดล้างคูติดต่อ
การทำลายบังเกอร์
การเจาะช่องผ่านสนามทุ่นระเบิดและเครื่องกีดขวางลวดสนามในขั้นต้น



กองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71190 , อีเมล : g6_surasri@hotmail.com , โทร. 034 - 589233 - 5 ต่อ 51470