ReadyPlanet.com
dot
dot
เรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ
dot
bulletเสาประวัติศาสตร์ พล.ร.9
bulletโครงการท่องเที่ยว พล.ร.9
bulletwebboardสำหรับชาวค่ายสุรสีห์
bulletหน่วยงานภายใน พล.ร.๙
bulletศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายสุรสีห์
bulletโรงเรียนอนุบาลค่ายสุรสีห์
bulletเครื่องราชอิสริยาภรณ์
bulletการแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์(เต็มยศ)
bulletกาญจนบุรี
dot
บทความและสาระน่ารู้
dot
bulletราชกิจจานุเบกษา
bulletหลักนิยมในการรบที่ไม่มีในคู่มือราชการสนามของกองทัพบกไทย
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯ ประจำปี 2562
bullet รายชื่อขอพระราชทานเหรียญจักรมาลา ประจำปี 2563
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2563
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2561
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2560
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2559
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2558
bulletรายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2557
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (19/8/59)
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (19/1/59)
bullete - book ฝสบ.พล.ร.9 (31/10/60)
dot
สมัครสมาชิก

dot
bulletระเบียบ ทบ.ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2555
bulletระเบียบ กห.ว่าด้วยคำย่อ พ.ศ. 2555
bulletระเบียบ ทบ.ว่าด้วย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.2551




ประวัติศาสตร์ชาติไทย

ภาคที่ ๑  

ประวัติศาสตร์ชาติไทย

---------------------------------------------

 

๑.ยุคก่อน ยุคสมัยสุโขทัย

     ประวัติยุคก่อนอาณาจักรสุโขทัย

เดิมที สุโขทัย เป็นสถานีการค้าของแคว้นละโว้ (ลวรัฐ) ของอาณาจักรขอม บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ กับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง (ประเทศลาว) คาดว่าเริ่มตั้งเป็นสถานีการค้าในราวพุทธศักราช ๑๗๐๐ในรัชสมัยของพระยาธรรมิกราช กษัตริย์ละโว้ โดยมีพ่อขุนศรีนาวนำถมเป็นผู้ปกครองและดูแลกิจการภายในเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสวรรคต

ขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งเป็นคล้ายๆกับผู้ตรวจราชการจากลวรัฐ เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองสุโขทัย จึงส่งผลให้ พ่อขุนผาเมือง (พระราชโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถม) เจ้าเมืองราดและพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ตัดสินพระทัยจะยึดดินแดนคืน การชิงเอาอำนาจจากผู้ครองเดิมคืออาณาจักรขอมเมื่อปี ๑๗๘๑และสถาปนาเอกราชให้กรุงสุโขทัยขึ้นเป็นราชธานีของชาวไทยโดยไม่ขึ้นตรงกับรัฐใด พ่อขุนผาเมือง ก็กลับยกเมืองสุโขทัย ให้พ่อขุนบางกลางหาวครอง พร้อมทั้ง พระแสงขรรค์ชัยศรี และพระนามกำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ ซึ่ง ทรงพระราชทานให้พ่อขุนผาเมืองก่อนหน้านี้ โดยคาดว่า เหตุผลคือพ่อขุนผาเมือง มีพระนางสิขรเทวีพระมเหสี (ราชธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ) ซึ่งพระองค์เกรงว่าชาวสุโขทัยจะไม่ยอมรับ แต่ก็กลัวว่าทางขอมจะไม่ไว้ใจจึงมอบพระนามพระราชทานและพระแสงขรรค์ชัยศรี ขึ้นบรมราชาภิเษก

พ่อขุนบางกลางหาว ให้เป็นกษัตริย์ เพื่อเป็นการตบตาราชสำนักขอม

     อาณาจักรสุโขทัย

หลังจากมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นเป็นราชธานี และมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์แล้วพระองค์ทรงดูแลพระราชอาณาจักร และบำรุงราษฎรเป็นอย่างดีพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สาม พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงพระปรีชาสามารถทั้งในด้านนิรุกติศาสตร์ การปกครอง กฎหมาย วิศวกรรม ศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น ผลงานของพระองค์ที่ปรากฏให้เห็น อาทิ ศิลาจารึกที่ค้นพบในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่อธิบายถึงความเป็นมา ลีลาชีวิตของชาวสุโขทัยโบราณ น้ำพระทัยของพระมหากษัตริย์ การพิพากษาอรรถคดี ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีผลงานทางวิศวกรรมชลประทาน คือ เขื่อนสรีดภงค์ที่เป็นการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในยามแล้ง มีการทำท่อส่งน้ำจากตัวเขื่อนมาใช้ในเมืองพระมหากษัตริย์ที่ทรงทำนุบำรุงศาสนามากที่สุดคือ พระเจ้าลิไท ในรัชสมัยของพระองค์มีการสร้างวัดมากที่สุด กษัตริย์พระองค์สุดท้ายในฐานะรัฐอิสระ คือ พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล) ต่อจากนั้น อาณาจักรได้ถูกแบ่งส่วนออกเป็นของอาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรล้านนา จนในที่สุด อาณาจักรทั้งหมด ก็ถูกรวมศูนย์ เข้าเป็นดินแดนสวนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา

          ด้านการปกครอง ด้านการปกครองสามารถแยกกล่าวเป็น ๒ แนว ดังนี้

                  ในแนวราบ จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและความยุติธรรมกับประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าใสนั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้

              ในแนวดิ่ง ได้มีการจัดระบบการปกครองขึ้นเป็น ๔ ชนชั้น คือ  พ่อขุน เป็นชนชั้นผู้ปกครอง อาจเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น เจ้าเมือง พระมหาธรรมราชา หากมีโอรสก็จะเรียก "ลูกเจ้า" ลุกขุน เป็นข้าราชบริพาร ข้าราชการที่มีตำแหน่งหน้าที่ช่วงปกครองเมืองหลวง หัวเมืองใหญ่น้อย และภายในราชสำนัก เป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดและได้รับการไว้วางใจจากเจ้าเมืองให้ปฏิบัติหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ไพร่ฟ้า ไพร่หรือสามัญชน ได้แก่ราษฎรทั่วไปที่อยู่ในราชอาณาจักร (ไพร่ฟ้า) ทาส ได้แก่ชนชั้นที่ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิตอย่างสามัญชนหรือไพร่ (อย่างไรก็ตามประเด็นทาสนี้ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่)

ความสัมพันธ์กับต่างชาติจักรวรรดิมองโกลกองทัพจักรวรรดิมองโกลแผ่แสนยานุภาพโดดเด่นที่สุดเป็นช่วงเดียวกับการตั้งกรุงสุโขทัย ในปี พ.ศ. ๑๘๐๐ (ค.ศ. ๑๒๕๗ ) ซึ่งเป็นอาณาจักรของตนอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกหลักฐานสำคัญในพงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ ๒ แปลเรื่องราวการติดต่อระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับราชวงศ์มองโกล ได้สรุปไว้ว่ากุบไลข่านทรงปรึกษาขุนนางข้าราชการระดับสูงเกี่ยวกับการเตรียมทัพไปปราบปรามแคว้นต่างๆ ทางใต้ มีสุโขทัยละโว้ สุมาตรา และอื่นๆ เป็นเมืองขึ้นปรากฏว่าขุนนางชื่อเจี่ยหลู่น่าต๋าไม่เห็นด้วยและได้กราบบังคมทูลเสนอแนะให้ทรงชักชวนให้ผู้นำดินแดนต่างๆ อ่อนน้อมยอมสนับสนุนก่อน หากไม่ยอมจึงยกกองทัพไปโจมตี นี่คือเหตุผลประการหนึ่งที่กุบไลข่านทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี และขอให้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักมองโกล เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออาณาจักรมองโกล

ปราฏว่ามีอาณาจักรในดินแดนต่างๆ กว่า ๒๐   อาณาจักรยอมรับข้อเสนอ    รวมทั้งอาณาจักรสุโขทัยด้วย (ช่วงระหว่างประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๒ ๑๘๒๕ )    พงศาวดารหงวนฉบับเก่า  เล่มที่  ๑๒  เป็นหลักฐานสำคัญ ที่กล่าวถึงคณะทูตชุดแรกจากอาณาจักรมองโกลในสมัยกุบไลข่าน   เดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัย

ในเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. ๑๘๒๕ (ค.ศ. ๑๒๘๒) ทูตคณะนี้นำโดยเหอจี จี่ นายทหารระดับสูงเป็นหัวหน้าคณะ แต่ขณะนั่งเรือแล่นผ่านฝั่งทะเลอาณาจักรจามปา ได้ถูกจับกุมและถูกประหารชีวิต ผลจากคณะทูตนี้ถูกประหารชีวิตก่อนจะเดินทางไปยังอาณาจักรสุโขทัยทำให้อาณาจักรสุโขทัยไม่ทราบว่ามองโกลพยายามส่งทูตมาติดต่อพงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ ๑๗ กล่าวถึงคณะทูตมองโกลชุดที่สองเดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในปี พ.ศ. ๑๘๓๕ (ค.ศ. ๑๒๙๒) ภายหลังจากข้าหลวงใหญ่ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยของมณฑลกวางตุ้ง ได้ส่งคนอัญเชิญพระราชสาส์นอักษรทองคำของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยไปยังนครหลวงข่าน มาลิก (ต้าตู หรือปักกิ่งปัจจุบัน) คณะทูตมองโกลชุดที่สองได้อัญเชิญพระบรมราชโองการของกุบไลข่านให้ พ่อขุนรามคำแหงเสร็จไปเฝ้า พระบรมราชโองการนี้แสดงให้เห็นนโยบายของอาณาจักรมองโกลเรียกร้องให้ผู้นำของอาณาจักรต่างๆ ไปเฝ้ากุบไลข่าน แต่มิได้บังคับให้เป็นไปตามนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ประการใด พงศาวดารหงวนฉบับเก่า   เล่มที่  ๑๘   กุบไลข่านได้ส่งคณะทูตชุดที่สามมาสุโขทัย   โดยได้อัญเชิญพระบรมราชโองการให้พ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปเฝ้า หากมีเหตุขัดข้องให้ส่งโอรสหรือพระอนุชาและอำมาตย์ผู้ใหญ่เป็นตัวประกัน   ซึ่งปรากฏว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตาม แต่ส่งคณะทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปแทน

     อาณาจักรล้านนา

ในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ พญามังราย  (พ.ศ. ๑๘๐๔ ๑๘๕๔ )   ได้มีคำสั่งให้สร้างเมืองใหม่ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่าเจียงใหม่ (เชียงใหม่) เพื่อที่จะเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของอาณาจักรล้านนา ครั้งนั้นพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและพญางำเมือง ได้เสด็จมาช่วยด้วย

     อาณาจักรอยุธยา

หลังจากมีการก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา แรกนั้นสุโขทัยและอยุธยาไม่ได้เป็นไมตรีต่อกัน แต่ด้วยชัยภูมิที่เหมาะสมกว่า ทำให้อยุธยาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบกับปัญหาการเมืองภายในของสุโขทัยมิได้เป็นไปโดยสงบ มีการแย่งชิงราชสมบัติกันระหว่าง พระยาบานเมือง พระยาราม ยังผลให้อยุธยาสบโอกาสเข้าแทรกแซงกิจการภายใน ในรัชกาลนี้มีการรับไมตรีจากอยุธยาโดยการสมรสระหว่างราชวงศ์พระร่วง กับราชวงศ์สุพรรณภูมิ โดยมีพระราเมศวร ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นราชบุตรจากสองราชวงศ์จนสิ้นรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล) พระยายุทธิษฐิระซึ่งเดิมทีอยู่ศรีสัชนาลัย ได้เข้ามาครองเมืองสุโขทัย และเมื่อแรกที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จขึ้นผ่านภิภพ เป็นพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่าขณะนั้น พระยายุทธิษฐิระ เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่ได้เพียงตำแหน่งพระยาสองแคว เนื่องด้วย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเคยดำริไว้สมัยทรงพระเยาว์ว่า หากได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ จะชุบเลี้ยงพระยายุทธิษฐิระให้ได้เป็นพระร่วงเจ้าสุโขทัย พ.ศ. ๒๐๑๑ พระยายุทธิษฐิระจึงเอาใจออกห่างจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไปขึ้นกับ พระยาติโลกราช กษัตริย์ล้านนาในขณะนั้น เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการเฉลิมพระนามกษัตริย์ล้านนา จากพระยา เป็น พระเจ้า เพื่อให้เสมอศักดิ์ด้วยกรุงศรีอยุธยาพระนามพระยาติโลกราช จึงได้รับการเฉลิมเป็นพระเจ้าติโลกราช

หลังจากที่พระยายุทธิษฐิระ นำสุโขทัยออกจากอยุธยาไปขึ้นกับล้านนา  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงเสด็จจากกรุงศรีอยุธยา กลับมาพำนัก   ณ เมืองสรลวงสองแคว พร้อมทั้งสร้างกำแพงและค่ายคูประตู หอรบ แล้วจึงสถาปนาขึ้นเป็นเมือง พระพิษณุโลกสองแคว เป็นราชธานีฝ่ายเหนือของอาณาจักรแทนสุโขทัย

ในเวลาเจ็ดปีให้หลัง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงตีเอาสุโขทัยคืนได้ แต่เหตุการณ์ทางเมืองเหนือยังไม่เข้าสู่ภาวะที่น่าไว้วางใจ จึงทรงตัดสินพระทัยพำนักยังนครพระพิษณุโลกสองแควต่อจนสิ้นรัชกาล ส่วนทางอยุธยานั้น ทรงได้สถาปนาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ พระราชโอรส เป็นพระมหาอุปราช ดูแลอยุธยาและหัวเมืองฝ่ายใต้ด้วยความที่เป็นคนละประเทศมาก่อน   และมีสงครามอยู่ด้วยกัน ชาวบ้านระหว่างสุโขทัยและอยุธยา จึงมิได้ปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน   จึงต้องแยกปกครอง    โดยพระมหากษัตริย์อยุธยา จะทรงสถาปนาพระราชโอรส หรือพระอนุชา หรือพระญาติ อันมีเชื้อสายสุโขทัย ปกครองพิษณุโลกในฐานะราชธานีฝ่ายเหนือ และควบคุมหัวเมืองเหนือทั้งหมด

พ.ศ  ๒๑๒๗  หลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว  พระนเรศวรโปรดให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวง

(ตาก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก กำแพงเพชร ชัยบุรี ศรีเทพ) ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ จึงสิ้นสุดการแบ่งแยกระหว่างชาวเมืองเหนือ กับชาวเมืองใต้ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐสุโขมัยโดยสมบูรณ์ เพราะหลังจากนี้ ๘ ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ

ในด้านวิชาการ มีนักวิชาการหลายท่านได้เสนอเพิ่มว่า เหตุการณ์อีกประการ อันทำให้ต้องเทครัวเมืองเหนือทั้งปวงโดยเฉพาะพิษณุโลกนั้น อยู่ที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ บนรอยเลื่อนวังเจ้าในราวพุทธศักราช ๒๑๒๗ แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลให้ตัวเมืองพิษณุโลกราพณาสูญ แม้แต่แม่น้ำแควน้อย ก็เปลี่ยนเส้นทางไม่ผ่านเมืองพิษณุโลก แต่ไปบรรจบกับแม่น้ำโพ (ปัจจุบันคือแม่น้ำน่าน) ที่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป และยังส่งผลให้พระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก หักพังทลายในลักษณะที่บูรณะคืนได้ยาก ในการฟื้นฟูจึงกลายเป็นการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาครอบทับลงไปแทนรายพระนามพระมหากษัตริย์สุโขทัยราชวงศ์นำถุม (ราชวงศ์ผาเมือง) พ่อขุนศรีนาวนำถุม ครองราชย์ปีใดไม่ปรากฏ - พ.ศ. ๑๗๒๔  ขอมสบาดโขลญลำพง (พ.ศ. ๑๗๒๔ พ.ศ. ๑๗๘๐) ราชวงศ์พระร่วง  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ.ศ. ๑๗๘๐- สวรรคตปีใดไม่ปรากฏ (ประมาณ

พ.ศ. ๑๘๐๑) พ่อขุนบานเมือง (หลังพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคต - พ.ศ. ๑๘๒๒) พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ.ศ. ๑๘๒๒ - พ.ศ. ๑๘๔๒) (ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า พ่อขุน    รามราช) ปู่ไสสงคราม (รักษาราชการชั่วคราวแทน พญาเลอไท ซึ่งขณะนั้นไม่ได้อยู่ในเมืองสุโขทัย) พญาเลอไท (พ.ศ. ๑๘๔๒ พ.ศ. ๑๘๓๓) ราชวงศ์นำถุม พญางั่วนำถุม (พ.ศ. ๑๘๓๓ - พ.ศ. ๑๘๙๐) ราชวงศ์พระร่วง   พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) (พ.ศ. ๑๘๙๐ - พ.ศ. ๑๙๑๓) พระมหาธรรมราชาที่ ๒ (ลือไท) (พ.ศ. ๑๙๑๓ - พ.ศ. ๑๙๒๑) (ตกเป็นประเทศราชของอยุธยาในปี พ.ศ. ๑๙๒๑) พระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสยลือไท) (พ.ศ. ๑๙๓๑ - พ.ศ. ๑๙๖๒) พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล) (พ.ศ. ๑๙๖๒ - พ.ศ. ๑๙๘๑) พระยายุทธิษฐิระ (พ.ศ. ๑๙๙๑ - พ.ศ. ๒๐๑๑) (เป็นประเทศราชล้านนาในปี พ.ศ. ๒๐๑๑)

     ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๒๐๑๑ - พ.ศ. ๒๐๓๑) (สถาปนา และประทับ ณ พิษณุโลก จนสิ้นรัชกาล) พระเชษฐาธิราช (พ.ศ. ๒๐๓๑ - พ.ศ. ๒๐๓๔) (ตำแหน่งพระมหาอุปราช) พระอาทิตยวงศ์ (พระหน่อพุทธางกูร) (พ.ศ. ๒๐๓๔ พ.ศ. ๒๐๗๒) (ตำแหน่งพระมหาอุปราช) พระไชยราชา (พ.ศ. ๒๐๗๒ - พ.ศ. ๒๐๗๗) (ตำแหน่งพระมหาอุปราช)

 

 

     ราชวงศ์สุโขทัย

พระมหาธรรมราชา (ขุนพิเรนทรเทพ) (พ.ศ. ๒๐๗๗ - พ.ศ. ๒๑๑๑) (เจ้าราชธานีฝ่ายเหนือ) พระนเรศวร (หลังเสด็จกลับจากหงสาวดี - พ.ศ. ๒๐๒๗) (ตำแหน่งพระมหาอุปราช) อ้างอิงและหมายเหตุ พญางั่วนำถุม มาจากสายราชวงศ์นำถุม(ผาเมือง) แต่ในตำราประวัติศาสตร์ยังถือว่าท่านเป็น "ราชวงศ์พระร่วง" (อภิปราย) พระยายุทธิษฐิระ ครองศรีสัชนาลัย ซึ่งขณะนั้นมีฐานะเป็นเมืองสำคัญเหนือกว่าพิษณุโลก ราชการสงครามในสมัยสมเด็จพระนเรศวร หอมรดกไทย กองทัพบก

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหง หรือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์องค์ที่ ๓ แห่งกรุงสุโขทัยในราชวงศ์พระร่วง เป็นโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพระนางเสือง ทรงเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทยที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ทรงเป็นนักรบความเป็นนักรบของพระองค์นั้น เห็นได้ตั้งแต่ยังมิได้ครองราชย์ พระองค์ทรงได้รับชนะในการกระทำยุทธหัตถีกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชบิดา และทรงเป็นจอมทัพในการทำสงครามขยายอาณาเขตตลอดรัชสมัยของพระบิดา และพ่อขุนบานเมืองทรงนักปกครองพระองค์ทรงมีพระเมตตาเอาพระทัยใส่ในทุกข์สุขของประชาชน โดยการสนับสนุนการประกอบอาชีพอย่างเสรี ทรงยกเลิกจังกอบ ซึ่งเป็นภาษีที่คิดตามความกว้างของเรือ ให้กรรมสิทธิ์ที่ดินทำกิน ตลอดจนเสรีภาพให้แก่ราษฎร ทรงเป็นนักการทูตที่หลักแหลมพระองค์มีนโยบายกระชับมิตรกับดินแดนต่างๆทั้งที่ใกล้เคียง และแม้แต่ดินแดนอันห่างไกลที่มีอำนาจ เช่น ล้านนา พะเยา ศิริธรรมนคร (นครศรีธรรมราช) ตลอดจนถึงจีน นอกจากนี้ยังปรากฏทรงให้ความช่วยเหลือสนับสนุนรัฐที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารด้วย เช่น มอญ และล้านช้างเป็นต้น

ทรงเป็นนักปราชญ์พระองค์นั้นทรงเห็นความสำคัญของพระศาสนา พระองค์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก และสนับสนุนทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ดังปรากฏว่า พระองค์ทรงนิมนต์พระเถระจากเมืองศิริธรรมนคร มาสถาปนาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในสุโขทัย ทรงจัดสร้างพระอารามทั้งในและนอกราชธานี รวมทั้งทรงสนับสนุนการเผยแผ่ หลักธรรมและการสร้างศาสนวัตถุอีกด้วย นอกจากพระราชกรณียกิจทางด้านพระศาสนาแล้วยังมีความสำคัญเช่นกันคือ ทรงส่งเสริมความเจริญทางภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรมที่โดดเด่น คือ การประดิษฐ์อักษรไทย หรือ ลายสือไทย เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงการประดิษฐ์ลายสือไทย จนถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในรัชสมัยของพระองค์อีกด้วย และเนื่องจากพระองค์ทรงทำคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ปวงชนชาวไทย จึงยกย่องให้พระองค์ทรงเป็น "มหาราช" พระองค์แรกแห่งประวัติศาสตร์ไทย

 

๒.ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา ยุคสมัยกรุงธนบุรี

     อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา

            อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของไทยในอดีต มีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะตำนาน พงศาวดารไปจนถึงศิลาจารึก  ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ว่าก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ. ๑๘๙๓   นั้น ได้มีบ้านเมืองตั้งอยู่ก่อนแล้ว มีชื่อเรียกว่า เมืองอโยธยา หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร หรือ เมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะ เมืองอยุธยาเป็นเมืองที่มีความเจริญทางการเมืองการปกครอง  ละมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครอง ๓ ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส และพระอัยการลักษณะกู้หนี้ สมเด็จพระรามาธิบดีที่  หรือ  พระเจ้าอู่ทอง   ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อวันศุกร์  ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕ ปีขาล จุลศักราช ๗๑๒[๑] ตรงกับวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๑๘๙๓[๒] กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรสยาม มีชื่อตาม พงศาวดารว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศน์มหาสถาน ดำรงมั่นคงสืบต่อยาวนานถึง ๔๑๗ ปี จนถึงวันที่ ๗ เมษายน  พ.ศ. ๒๓๑๐ มีประวัติในการปกครอง การกอบกู้อิสรภาพ วีรกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีมากมายเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหาร ดังคำกล่าวว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ทั่วทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมากไปด้วย วัดวาอาราม ปราสาท พระราชวัง ปูชนียสถาน และ

ปูชนียวัตถุมากมายอาณาจักรอยุธยามีพระมหากษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาถึง ๓๔ พระองค์  และมีพระราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกันครองรวม ๕ ราชวงศ์ ได้แก่ ราชวงศ์อู่ทอง มี ๓ พระองค์   ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มี ๑๓ พระองค์  ราชวงศ์สุโขทัย มี ๗ พระองค์  ราชวงศ์ปราสาททอง มี ๔ พระองค์ และ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มี ๖ องค์

            ประวัติสมัยอยุธยา

  การสถาปนากรุงศรีอยุธยา : กรุงศรีอยุธยาก่อกำเนิดขึ้นเป็น ราชธานีในปี พ.ศ.๑๘๙๓ แต่มีข้อถกเถียงกันมากว่า การถือกำเนิดของกรุง ศรีอยุธยานั้น มิได้เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนเสียทีเดียว มีหลักฐานว่าก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างเมืองขึ้นที่ตำบลหนอง โสน บริเวณนี้เคยมีผู้คนอาศัยมาก่อนแล้ว วัดสำคัญอย่างวัดมเหยงค์ วัดอโยธยา และวัดใหญ่ชัยมงคล ล้วนเป็นวัดเก่าที่มีมาก่อนสร้างกรุงศรี อยุธยาทั้งสิ้น โดยเฉพาะที่วัดพนัญเชิง วัดที่ประดิษฐาน หลวงพ่อโต พระ พุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่แบบอู่ทอง พงศาวดารเก่าระบุว่า สร้างขึ้นก่อน การสร้างพระนครศรีอยุธยาถึง ๒๖ ปี  วัดเหล่านี้ ตั้งอยู่ตามแนวฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก นอก เกาะเมืองอยุธยาที่มีการขุดพบคูเมืองเก่าด้วย ทำให้เชื่อกันว่าบริเวณนี้น่า จะเป็นเมืองเก่าที่มีชื่ออยู่ในศิลาจารึกกรุงสุโขทัยว่า อโยธยาศรีรามเทพ นครอโยธยาศรีรามเทพนคร ปรากฏชื่อเป็นเมืองแฝดละโว้อโยธยา มาตั้งแต่ช่วงราวปี พ.ศ.๑๗๐๐ เป็นต้นมา ครั้นก่อนปี พ.ศ.๑๙๐๐ พระเจ้าอู่ ทองซึ่งครองเมืองอโยธยาอยู่ก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของ กษัตริย์ทางฝ่ายสุพรรณภูมิ ซึ่งครองความเป็นใหญ่อยู่อีกฟากหนึ่งของแม่ น้ำเจ้าพระยา อโยธยาและสุพรรณภูมิจึงรวมตัวกันขึ้น โดยอาศัยความ สัมพันธ์ทางเครือญาติ

                ครั้นเมื่อเกิดโรคระบาด พระเจ้าอู่ทองจึงอพยพผู้คนจากเมืองอ โยธยาเดิม ข้ามแม่น้ำป่าสักมาตั้งเมืองใหม่ที่ตำบลหนองโสน หรือที่รู้จัก กันว่า บึงพระราม ในปัจจุบัน กรุงศรีอยุธยาจึงก่อเกิดเป็นราชธานีขึ้นใน ปี พ.ศ.๑๘๙๓ พระเจ้าอู่ทองเสด็จฯ เสวยราชย์เป็นสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๑ ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของพระองค์นับได้ว่าเป็นยุคของการก่อร่างสร้างเมือง และวางรูปแบบการปกครองขึ้นมาใหม่ ทรงแบ่งการบริหารราชการออก เป็น ๔ กรม ประกอบด้วย เวียง วัง คลัง และ นา หรือที่เรียกกันว่า จตุสดมภ์ ระบบที่ทรงวางไว้แต่แรกเริ่มนี้ ปรากฏว่าได้สืบทอดใช้กันมา ตลอด ๔๐๐ กว่าปีของกรุงศรีอยุธยา

                สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ครองราชย์อยู่ได้เพียง ๑๙ ปี ก็เสด็จ สวรรคต หลังจากรัชสมัยของพระองค์ ผู้ได้สร้างราชธานีแห่งนี้ขึ้นจาก ความสัมพันธ์ของสองแว่นแคว้น กรุงศรีอยุธยาได้กลายเป็นเวทีแห่งการ แก่งแย่งชิงอำนาจระหว่างสองราชวงศ์คือ ละโว้-อโยธยา และราชวงศ์ สุพรรณภูมิ  

                สมเด็จพระราเมศวร โอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ขึ้นครอง ราชย์ต่อจากพระราชบิดาได้ไม่ทันไร ขุนหลวงพะงั่ว จากราชวงศ์สุพรรณ ภูมิ ผู้มีศักดิ์เป็นอาก็แย่งชิงอำนาจได้สำเร็จ ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระ บรมราชาธิราช เมื่อสิ้นรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราช สมเด็จพระ ราเมศวรก็กลับมาชิงราชสมบัติกลับคืน  มีการแย่งชิงอำนาจผลัดกันขึ้นเป็นใหญ่ระหว่างสองราชวงศ์นี้อยู่ ถึง ๔๐ ปี จนสมเด็จพระนครอินทร์ ซึ่งเป็นใหญ่อยู่ทางสุพรรณภูมิและ สัมพันธ์แน่นแฟ้นอยู่กับสุโขทัย แย่งชิงอำนาจกลับคืนมาได้สำเร็จ พระ องค์สามารถรวมทั้งสองฝ่ายให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างแท้จริง  ในช่วงของการแก่งแย่งอำนาจกันเองนั้น กรุงศรีอยุธยาก็ พยายามแผ่อำนาจไปตีแดนเขมรอยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ.๑๙๗๔ หลัง สถาปนากรุงศรีอยุธยาได้แล้วราว ๘๐ ปี สมเด็จเจ้าสามพระองค์ พระ โอรสของสมเด็จพระนครอินทร์ ก็ตีเขมรได้สำเร็จ เขมรสูญเสียอำนาจจน ต้องย้ายเมืองหลวงจากเมืองพระนครไปอยู่เมืองละแวกและพนมเปญในที่สุด ผลของชัยชนะครั้งนี้ทำให้มีการกวาดต้อนเชลยศึกกลับมา จำนวนมาก และทำให้อิทธิพลของเขมรในอยุธยาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็น เรื่องปกติที่ผู้ชนะมักรับเอาวัฒนธรรมของผู้แพ้มาใช้  กรุงศรีอยุธยาหลังสถาปนามาได้กว่าครึ่งศตวรรษก็เริ่มเป็นศูนย์ กลางของราชอาณาจักรอย่างแท้จริง มีอาณาเขตอันกว้างขวางด้วยการ ผนวกเอาสุโขทัยและสุพรรณภูมิเข้าไว้ มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับจีน และวัดวาอารามต่าง ๆ ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่จน งดงาม

            ยุครุ่งโรจน์ก่อนสงคราม : หลังรัชกาลสมเด็จเจ้าสามพระยา แล้ว กรุงศรีอยุธยาก็เข้าสู่ยุคสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นช่วง เวลาที่อาณาเขตได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง มีการติดต่อค้าขาย กับบ้านเมืองภายนอก รวมทั้งมีการปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองขึ้น  พระองค์ทรงยกเลิกการปกครองที่กระจายอำนาจให้เมืองลูก หลวงปกครองอย่างเป็นอิสระ มาเป็นการรวบอำนาจไว้ที่พระมหากษัตริย์ แล้วทรงแบ่งเมืองต่าง ๆ รอบนอกออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก ซึ่งเมืองเหล่านี้ดูแลโดยขุนนางที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง  นอกจากนี้ก็ยังได้ทรงสร้างระบบศักดินาขึ้น อันเป็นการให้ กรรมสิทธิ์ถือที่นาได้มากน้อยตามยศ พระมหากษัตริย์มีสิทธิ์ที่จะ เพิ่ม หรือ ลด ศักดินาแก่ใครก็ได้ และหากใครทำผิดก็ต้องถูกปรับไหมตาม ศักดินานั้น  ในเวลานั้นเอง กรุงศรีอยุธยาที่เจริญมาได้ถึงร้อยปีก็กลายเป็น เมืองที่งดงามและมีระเบียบแบบแผน วัดต่าง ๆ ที่ได้ก่อสร้างขึ้นอย่าง วิจิตรบรรจงเกิดขึ้นนับร้อย พระราชวังใหม่ได้ก่อสร้างขึ้นอย่างใหญ่โตก ว้างขวาง ส่วนที่เป็นพระราชวัง ไม้เดิมได้กลายเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัด คู่เมืองที่สำคัญ  กรุงศรีอยุธยากำลังจะเติบโตเป็นนครแห่งพ่อค้าวาณิชอันรุ่งเรือง เพราะเส้นทางคมนาคมอันสะดวกที่เรือสินค้าน้อยใหญ่จะเข้ามาจอด เทียบท่าได้ แต่พร้อม ๆ กับความรุ่งเรืองและความเปลี่ยนแปลง สงครามก็ เกิดขึ้น  ช่วงเวลานั้น ล้านนา ที่มีพระมหากษัตริย์คือราชวงศ์เม็งราย ครองสืบต่อกันมา กำลัง เจริญรุ่งเรือง ขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญของกรุงศรี อยุธยา พระเจ้าติโลกราชซึ่งได้ขยายอาณาเขตลงมาจนได้เมืองแพร่และ น่านก็ทรงดำริที่จะขยายอาณาเขตลงมาอีก เวลานั้นเจ้านายทางแคว้น สุโขทัยที่ถูกลดอำนาจด้วยการปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตร โลกนาถเกิดความไม่พอใจอยุธยา จึงได้ชักนำให้พระเจ้าติโลกราชยกทัพ มายึดเมืองศรีสัชนาลัยซึ่งอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยา  

                สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถต้องเสด็จกลับไปประทับอยู่ที่เมือง สระหลวงพรือพิษณุโลก เพื่อทำสงครามกับเชียงใหม่ วงครามยืดเยื้อยาว นานอยู่ถึง ๗ ปี ในที่สุดอยุธยาก็ยึดเมืองศรีสัชนาลัยกลับคืนมาได้  ตลอดรัชกาลอันยาวนานของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ กรุงศรีอยุธยาได้เจริญอย่างต่อเนื่องอยู่นานถึง ๘๑ ปี การค้ากับต่างประเทศก็เจริญก้าวหน้าไปอย่างกว้างขวาง วัฒน ธรรมก็เฝื่องฟูทั้งทางศาสนาและประเพณีต่าง ๆ  แต่หลังรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒การแย่งชิงอำนาจภายใน ก็ทำให้กรุงศรีอยุธยาอ่อนแอลง ขณะเดียวกันที่พม่ากลับเข้มแข็งขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทั้งภายใน และภายนอกราชอาณาจักรได้ทำให้เกิด สงครามครั้งใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  

            สงครามไทยกับพม่า : ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ อันอาจจะเรียก ได้ว่ายุคแห่งความคับเข็ญยุ่งเหยิงนี้ เริ่มต้นด้วยการมาถึงของชาวตะวัน ตกพร้อม ๆ กับการรุกรานจากพม่า  เมื่อวาสโก ตากามา ชาวโปรตุเกสเดินเรือผ่านแหลมกูดโฮปได้ สำเร็จในราว พ.ศ.๒๐๐๐ กองเรือของโปรตุเกสก็ทยอยกันมายังดินแดนฝั่ง ทวีปเอเชีย ในปี พ.ศ.๒๐๕๔ อัลฟองโซ เดอ อัลบูเควิก ชาวโปรตุเกสก็ยึด มะละกาได้สำเร็จ ส่งคณะฑูตของเขามายังสยาม คือ ดูอารต์ เฟอร์นันเดซ ซึ่งถือเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่มาถึงแผ่นดินสยาม  ชาวโปรตุเกสมาพร้อมกับวิทยาการสมัยใหม่ ความรู้เกี่ยวกับการ สร้างป้อมปราการ อาวุธปืน ทำให้สมัยต่อมาพระเจ้าไชยราชาธิราชก็ยก ทัพไปตีล้านนาได้สำเร็จ  กรุงศรีอยุธยาเป็นใหญ่ขึ้น ในขณะที่พม่าเองในยุคของ พระเจ้า ตะเบ็งชะเวตี้ ก็กำลังแผ่อิทธิพลลงมาจนยึดเมืองมอญที่หงสาวดีได้ สำเร็จ อยุธยากับพม่าก็เกิดการเผชิญหน้ากันขึ้น เมื่อพวกมอญจากเชียง กรานที่ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจพม่าหนีมาพึ่งฝั่งไทย พระเจ้าไชยราชาธิราช ยกกองทัพไปขับไล่พม่า ยึดเมืองเชียงกรานคืนมาได้สำเร็จ ความขัดแย้ง ระหว่างไทยกับพม่าก็เปิดฉากขึ้น  

                หลังพระเจ้าไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคตเพราะถูกปลงพระชนม์ แผ่นดินอยุธยาก็อ่อนแอลงด้วยการแย่งชิงอำนาจ พระยอดฟ้าซึ่งมีพระ ชนม์เพียง ๑๑ พรรษาขึ้นครองราชย์ได้ไม่ทันไรก็ถูกปลงพระชนม์อีก ในที่ สุดก็ถึงแผ่นดินสมเด็จพระมหา-จักรพรรดิ พม่าสบโอกาสยกทัพผ่านด่านเจดีย์ ๓ องค์ เข้ามาปิดล้อมกรุงศรี อยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดินำกองทัพออก รับสู้ ในช่วงนี้เองที่หน้า ประวัติศาสตร์ได้บันทึกวีรกรรมของวีรสตรีพระองค์หนึ่ง คือ สมเด็จพระศรี สุริโยทัย ที่ปลอมพระองค์ออกรบด้วย และได้ไสช้างเข้าขวางสมเด็จพระ มหาจักรพรรดิที่กำลังเพลี่ยงพล้ำ จนถูกฟันสิ้นพระชนม์ขาดคอช้าง ทุกวัน นี้ อนุสาวรีย์เชิดชูวีรกรรมของพระองค์ยังคงตั้งเด่นเป็นสง่า อยู่ใจกลาง เมืองพระนครศรีอยุธยา  ครั้งนั้นเมื่อพม่ายึดพระนครไม่สำเร็จ เพราะไม่ชำนาญภูมิ ประเทศ กองทัพพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ต้องยกทัพกลับไปในที่สุด ฝ่ายไทยก็ตระเตรียมการป้องกันพระนครเพื่อตั้งรับการรุกราน ของพม่าที่จะมีมาอีก การเตรียมกำลังผู้คน การคล้องช้างเพื่อจัดหาช้างไว้ เป็นพาหนะสำคัญในการทำศึกครั้งนี้ ทำให้มีการพบช้างเผือกถึง ๗ เชือก อันเป็นบุญบารมีสูงสุดของพระมหากษัตริย์ แต่นั่นกลับนำมาซึ่งสงคราม ยืดเยื้อยาวนานอยู่นับสิบปี    พระเจ้าบุเรงนอง ผู้นำพม่าคนใหม่อ้างเหตุการณ์ต้องการช้างเผือกที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิมีอยู่ถึง ๗ เชือก ยกทัพมาทำสงครามกับ กรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง แล้วไทยก็เสียกรุงแก่พม่าเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.๒๑๑๒ ช้างเผือกอัน เป็นสาเหตุของสงครามก็ถูกกวาดต้อนไปพร้อมกับผู้คนจำนวนมาก พระ นเรศวรและพระเอกาทศรถ พระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่พม่าตั้งให้ เป็นกษัตริย์ปกครองอยุธยาต่อไปในฐานะเมืองประเทศราชก็ทรงถูกบังคับ ให้ต้องไปด้วย

                กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นของพม่าในครั้งนี้อยู่ถึง ๑๕ ปี พระ นเรศวรก็ประกาศอิสรภาพ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพแล้ว กองทัพพม่านำโดย พระมหาอุปราชก็คุมทัพลงมาปราบ สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปตั้งที่ ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วการรบครั้งยิ่งใหญ่ก็อุบัติขึ้น สมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีจนได้ชัยชนะ พระมหาอุปราชถูกฟัน สิ้นพระชนม์ขาดคอช้าง เป็นผลให้กองทัพพม่าต้องแตกพ่ายกลับไป  ยุคสมัยของสมเด็จพระนเรศวร กรุงศรีอยุธยาเป็นปึกแผ่นมั่นคง ศัตรูทางพม่าอ่อนแอลง ขณะเดียวกันเขมรก็ถูกปราบปรามจนสงบ ความ มั่นคงทางเศรษฐกิจจึงเกิดขึ้นตามมา อันส่งผลให้กรุงศรีอยุธยากลายเป็น อาณาจักรที่รุ่งเรืองถึงขีดสุด ตามคำกล่าวของชาวยุโรปที่หลั่งไหลเข้ามา ติดต่อค้าขายในช่วงเวลาดังกล่าว  

            เวนิสตะวันออก : นับตั้งแต่สมัยพระนเรศวรเป็นต้นมา กรุงศรี อยุธยาก็กลายเป็นศูนย์กลางการค้าทั้งในและนอกประเทศ มีผู้คนเดินทาง เข้ามาติดต่อค้าขายเป็นจำนวนมากต่างก็ชื่นชมเมืองที่โอบล้อมไปด้วยแม่ น้ำลำคลอง ผู้คนสัญจรไปมาโดยใช้เรือเป็นพาหนะ จึงพากันเรียกพระ นครแห่งนี้ว่า เวนิสตะวันออก หลังจากโปรตุเกสเข้ามาติดต่อค้าขายเป็นชาติแรกแล้ว ฮอลันดา ญี่ปุ่นและอังกฤษก็ตามเข้ามา ทั้งนี้ไม่นับจีนซึ่งค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา อยู่ก่อนแล้ว ชนชาติต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับการจัดสรรที่ดินให้อยู่เป็นย่าน เฉพาะ ดังปรากฏชื่อบ้านโปรตุเกส บ้านญี่ปุ่นและบ้านฮอลันดามาจน ปัจจุบัน  บันทึกของชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งซึ่งบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้คัด ลอกมา เล่าถึงพระนครศรีอยุธยาในสมัยนั้นไว้ว่า เป็นพระนครที่มีผู้คนต่างชาติต่างภาษารวมกันอยู่ ดูเหมือนเป็น ศูนย์กลางการค้าขายในโลก ได้ยินผู้คนพูดภาษาต่าง ๆ ทุกภาษา  ในบรรดาชาวต่างชาติที่มาค้าขายกับอยุธยาในยุคแรกนั้น ญี่ปุ่น กลับเป็นชาติที่มีอิทธิพลมากที่สุด ยามาดะ นางามาซะ ชาวญี่ปุ่นได้รับ ความไว้วางใจถึงขั้นได้ดำรงตำแหน่งขุนนางในราชสำนักของพระเอกาทศ รถ มียศเรียกว่า ออกญาเสนาภิมุข ต่อมาได้ก่อความยุ่งยากขึ้นจด หมดอิทธิพลไปในที่สุด  แม้จะมีชนชาติต่าง ๆ เข้ามาค้าขายด้วยมากมาย แต่กรุงศรี อยุธยาก็ดูเหมือนจะผูกพันการค้ากับจีนไว้อย่างเหนียวแน่น จีนเองก็ส่ง เสริมให้อยุธยาผลิตเครื่องปั้นดินเผาโดยเฉพาะเครื่องสังคโลก เพื่อส่งออก ไปยังตะวันออกกลางและหมู่เกาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  นิทานเรื่องพระเจ้าสายน้ำผึ่งและพระนางสร้อยดอกหมากเดิน ทางมาโดยเรือสำเภาใหญ่ และร่องรอยของเรือจมแถบก้นอ่าวสยาม รวม ทั้งเครื่องเคลือบแบบของจีนที่พบอยู่ตามก้นแม่น้ำ ล้วนเป็นประจักษ์ พยานว่าอยุธยาได้ติดต่อค้าขายกับจีนมาโดยตลอด การค้าขายต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้กรุงศรีอยุธยามีการเก็บภาษีที่ เรียกว่า ขนอน มีด่านขนอนซึ่งเป็นด่านเก็บภาษีอยู่ตามลำน้ำใหญ่ทั้ง ๔ ทิศ และยังมีขนอนบกคอยเก็บภาษีที่มาทางบกอีกต่างหาก  นอกเหนือจากความเป็นเมืองท่าแล้ว อยุธยายังเป็นชุมทางการ ค้าภายในอีกด้วย ตลาดกว่า ๖๐ แห่งในพระนคร มีทั้งตลาดน้ำ ตลาดบก และยังมีย่านต่าง ๆ ที่ผลิตสินค้าด้วยความชำนาญเฉพาะด้าน มีย่านที่ ผลิตน้ำมันงา ย่านทำมีด ย่าน-ปั้นหม้อ ย่านทำแป้งหอมธูปกระแจะ ฯลฯ  คูคลองต่าง ๆ ในอยุธยาได้สร้างสังคมชาวน้ำขึ้นพร้อมไปกับวิถี ชีวิตแบบเกษตรกรรม เมื่อถึงหน้าน้ำก็มีการเล่นเพลงเรือเป็นที่สนุกสนาน เมื่อเสร็จหน้านาก็มีการทอดกฐิน ลอยกระทง งานรื่นเริงต่าง ๆ ของชาว บ้านมักทำควบคู่ไปกับพิธีการของชาววัง เช่น พระราชพิธีจองเปรียญตาม พระประทีป ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นลอยกระทงทรงประทีป พระราชพิธี สงกรานต์ พระราชพิธีแรกนาขวัญ พิธีกรรมเหล่านี้สะท้อนวิถีชีวิตของชาว อยุธยาที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติแม่น้ำลำคลองอย่างเหนียวแน่น  อยุธยาเจริญขึ้นมาโดยตลอด การค้าสร้างความมั่งคั่งให้พระคลัง ที่มีสิทธิ์ซื้อสินค้าจากเรือสินค้าต่างประเทศทุกลำได้ก่อนโดยไม่เสียภาษี ความมั่งคั่งของราชสำนักนำไปสู่การสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ การทำนุ บำรุงศาสนาและการก่อสร้างพระราชวังให้ใหญ่โตสง่างาม  ในสายตาของชาวต่างประเทศแล้ว กรุงศรีอยุธยาเป็นมหานคร อันยิ่งใหญ่ ที่มีพระราชวังเป็นศูนย์กลาง โยสเซาเต็น พ่อค้าชาวฮอลันดาที่ เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระจเาปราสาททองได้บันทึกไว้ว่า กรุงศรีอยุธยาเป็นครที่ใหญ่โตโอ่อ่าวิจิตรพิสดาร และพระมหากษัตริย์ สยามเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในภาคตะวันออกนี้  

                พระนครแห่งนี้ ภายนอกอาจดูสงบงดงามและร่มเย็นจากสายตา ของคนภายนอก แต่แท้จริงแล้วบัลลังก์แห่งอำนาจภายในของกรุงศรี อยุธยาไม่เคยสงบ เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคต การแย่งชิงอำนาจได้ ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี พ.ศ.๒๑๗๒ ราชวงศ์สุโขทัยที่ครองราชย์ สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยของพระมหาธรรมราชาก็ถูกโค่นล้ม พระเจ้า ปราสาททองเสด็จขึ้นครองราชย์ และสถาปนาราชวงศ์ปราสาททองขึ้น ใหม่ แม้จะครองบัลลังก์จากการโค่นล้มราชวงศ์อื่นลง ยุคสมัยของ พระองค์และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ยาวนานถึง ๖๐ ปีนั้น กลับ เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด พระเจ้าปราสาททองทรงมุ่งพัฒนาบ้านเมืองทั้งทางด้านศิลปกรรมและการค้ากับต่างประเทศ ทรงโปรดให้สร้างวัดไชยวัฒนารามริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นด้วยคติเขาพระสุเมรุจำลอง อันเป็นแบบอย่างที่ได้รับ อิทธิพลมาจากปราสาทขอม พร้อมกันนี้ก็ได้มีการคิดค้นรูปแบบทางศิลป กรรมใหม่ ๆ ขึ้น เช่นพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบ อยุธยาอันงดงามก็ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาในสมัยนี้  ทางด้านการค้ากับต่างประเทศ หลังจากที่โปรตุเกสเข้ามาค้า ขายกับกรุงศรีอยุธยาจนทำให้เมืองลิสบอนของโปรตุเกสกลายเป็นศูนย์ กลางการค้าเครื่องเทศและพริกไทยในยุโรปนานเกือบศตวรรษแล้ว ฮอลันดาจึงเริ่มเข้ามาสร้างอิทธิพลแข่ง กรุงศรีอยุธยาสร้างไมตรีด้วยการให้สิทธิพิเศษบางอย่างแก่พวก ดัตช์ เพื่อถ่งดุลกับชาวโปรตุเกสที่เนิ่มก้าวร้าวและเรียกร้องสิทธิพิเศษเพิ่ม ขึ้นทุกขณะ  พอถึงสมัยพระเจ้าปราสาททอง การค้าของฮอลันดาเจริญรุ่งเรือง ขึ้นมาก จึงเริ่มแสดงอิทธิพลบีบคั้นไทย ประกอบกับพระคลังในสมัยนั้นได้ ดำเนินการผูกขาดสินค้าหลายชนิด รวมทั้งหนังสัตว์ที่เป็นสินค้าหลักของ ชาวดัตช์ ทำให้เกิดความไม่พอใจถึงขั้นจะใช้กำลังกันขึ้น  ถึงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฮอลันดาก็คุกคามหนัก ขึ้น ในที่สุดก็เข้ายึดเรือสินค้าของพระนารายณ์ที่ชักธงโปรตุเกสในอ่าวตัง เกี๋ย ต่อมาไม่นานก็นำเรือ ๒ ลำเข้ามาปิดอ่าวไทย เรียกร้องไม่ให้จ้างชาว จีน ญี่ปุ่น และญวนในเรือสินค้าของอยุธยา เพื่อปิดทางไม่ให้อยุธยาค้า ขายแข่งด้วย มีการเจรจากันในท้ายที่สุด ซึ่งผลจากการเจรจานี้ทำให้ ฮอลันดาได้สิทธิ์ผูกขาดหนังสัตว์อย่างเดิม  เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดที่นับวันจะเพิ่มขึ้นทุกขณะ สมเด็จพระนารายณ์จึงหัน ไปเอาใจอังกฤษกับฝรั่งเศสแทน ในช่วงนี้เองความสัมพันธ์ระหว่างกรุงสยามกับ ฝรั่งเศสเจริญรุ่งเรืองอย่างที่สุด บุคคลผู้หนึ่งที่ก้าวเข้ามาในช่วงนี้และต่อไปจะได้มี บทบาทอย่างมากในราชสำนักสยาม ก็คือ คอนแสตนติน ฟอลคอน  ฟอลคอนเป็นชาวกรีกที่เข้ามารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ราวกลาง รัชสมัย และเจริญก้าวหน้าจนขึ้นเป็นพระยาวิชาเยนทร์ในเวลาอันรวดเร็ว เวลาเดียว กันกับที่ฟอลคอนก้าวขึ้นมามีอำนาจในราชสำนักไทย ฝรั่งเศสในราชสำนักกของ พระเเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่เข้ามาติดต่อการค้าและเผยแพร่ศาสนาก็พยายามเกลี้ยกล่อม ให้สมเด็จพระนารายณ์หันมาเข้ารีตนิกกายโรมันคาทอลิกตามอย่างประเทศฝรั่งเศส  

                ในช่วงเวลานี้ได้มีการส่งคณะทูตสยามเดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี ทางฝรั่งเศสเองก็ส่งคณะทูตเข้ามาในสยามบ่อยครั้ง โดยมีจุดประสงค์หลักคือชัก ชวนให้พระนารายณ์ทรงเข้ารีต ฟอลคอนเองซึ่งเปลี่ยนมานับถือนิกาย โรมันคาทอลิกตามภรรยา ไดด้สมคบกับฝรั่งเศสคิดจะเปลี่ยนแผ่นดินสยามให้เป็น เมืองขึ้นของฝรั่งเศส ดังเช่นใน พ.ศ. ๒๒๒๘ โดยราชทูตเชอวาเลีย เดอโชมองต์, ปี พ.ศ. ๒๒๓๐ โดยลาลูแบร์ ก็กลับไม่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนให้พระเจ้าแผ่น ดิน-สยามหันมาเข้ารีต ไม่นานชาวสยามก็เริ่มชิงชังฟอลคอนมากขึ้น อิทธิพลของฟอลคอนที่มีต่อราช สำนักกสยามก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ปี พ.ศ. ๒๒๓๑ สมเด็จพระนารายณ์ทรงประชวน หนัก ไม่สามารถว่าราชกาลได้ มีรับสั่งให้ฟอลคอนรีบลาออกจากราชการและไป เสียจากเมืองไทย แต่ก็ช้าไปด้วยเกิดความวุ่นวายขึ้นเสียก่อน พระเพทราชาและ คณะผู้ไม่พอใจฝรั่งเศสจับฟอลคอนไปประหารชีวิต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จ สวรรคตในเดือนต่อมาพระเพทราชาก็เสด็จขึ้นเถลิงราชสมบัติแทน  การเข้ามาของยุโรปจำนวนมากในสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จ พระนารายณ์ นอกจากจะทำให้บ้านเมืองมีความมั่งคั่งแล้ว ยังก้าวหน้าไปด้วยวิทยา การสมัยใหม่ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม การแพทย์ ดาราศาสตร์ การทหาร มีการ ก่อสร้างอาคาร ป้อมปราการ พระที่นั่งในพระราชวังเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีแบบ ตะวันตก นอกจากนี้ภาพวาดของชาวตะวันตกยังแสดงให้เห็นว่ามีการส่องกล้องดู ดาวในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ด้วย  

                เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ความขัดแย้งภายในเมื่องจากการแย่งชิงราช สมบัติเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้การติดต่อกับต่างประเทศซบเซาลงไป ตั้งแต่รัช สมัยสมเด็จพระเพทราชาจนถึงพระเจ้าท้ายสระ มีการก่อสร้างสิ่งใหม่ๆเพียงไม่กี่ อย่าง ครั้นถึงสมัยพระเจ้าบรมโกศ บ้านเมืองก็กลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้งในช่วง ระยะเวลาหนึ่ง จนกล่าวได้ว่ายุคสมัยของพระองค์นับเป็นยุคทองของศิลปวิทยา การอย่างแท้จริงก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะตกต่ำไปจนถึงกาลล่มสลาย   ในรัชกาลนี้ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระราชวังและวัดวาอารามต่างๆ ศิลปกรรม เฟื่องฟูขึ้นมาอย่างมากทั้งในด้านลวดลายปูนปั้น การลงรักปิดทอง การช่างประดับ มุก การแกะสลักประตูไม้ ทางด้านวรรณคดีก็มีกวีเกิดขึ้นหลายคน ที่โดเด่นและ เป็นที่รู้จักคือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร ผู้นิพนธ์กาพย์เห่เรือ ส่วยการมหรสพก็มีการฟื้น ฟูบทละครนอกละครในขึ้นมาเล่นกันอย่างกว้างขวาง กรุงศรีอยุธยาถูกขับกล่อม ด้วยเสียงดนตรัและความรื่นเริงอยู่ตลอดเวลา  แต่ท่ามกลางความสงบสุขและรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม ความขัดแย้งค่อยๆ ก่อตัวขึ้น การแย่งอำนาจทั้งในหมู่พระราชวงศ์ ขุนนาง ทำให้อีกไม่ถึง ๑๐ ปีต่อ มากรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พพม่าในสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐

                กรุงศรีอยุธยาในสมัยของพระเจ้าบรมโกศจนถึงสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์นั้น คล้ายกับพลุที่จุดขึ้นสว่างโร่บนท้องฟ้าชั่วเวลาเพียงไม่นานแล้วก็ดับวูบลงทันที วันกรุงแตกเมื่อ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เล่ากันว่าในกำแพงเมืองมีผู้คนหนีพม่า มาแออัดอยู่นับแสนคน ปรากฏว่าได้ถูกพม่าฆ่าตายไปเสียกว่าครึ่ง ที่เหลือก็หนี ไปอยู่ตามป่าตามเขา พม่าได้ปล้นสะดม เผาบ้านเรือน พระราชวังและวัดวาอาราม ต่างๆจนหมดสิ้น นอกจากนี้ยังหลอมเอาทองที่องค์พระและกวาดต้อนผู้คนกลับ ไปจำนวนมาก อารยธรรมที่สั่งสมมากว่า ๔๐๐ ปี ของกรุงศรีอยุธยาก็ถูกทำลาย ลงอย่างราบคาบเมื่อสิ้นสงกรานต์ปีนั้น  

พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ลำดับ

พระนาม

ปีที่ครองราชย์

พระราชวงศ์

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)

๑๘๙๓ -๑๙๑๒ (๑๙  ปี)

อู่ทอง

สมเด็จพระราเมศวร (โอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ ๑

๑๙๑๒ - ๑๙๑๓ (๑ ปี)

อู่ทอง

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว)

๑๙๑๓ - ๑๙๓๑ (๑๘ ปี)

สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระเจ้าทองลัน (โอรสขุนหลวงพะงั่ว)

๑๙๓๑ (๗ วัน)

สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่ ๒

๑๙๓๑ - ๑๙๓๘ (๗ ปี)

อู่ทอง

สมเด็จพระราชาธิราช (โอรสพระราเมศวร)

๑๙๓๘๑๙๕๒(๑๔ ปี)

อู่ทอง

สมเด็จพระอินราชาธิราช (เจ้านครอินทร์) โอรสพระอนุชาของขุนหลวงพระงั่ว

๑๙๕๒ - ๑๙๖๗ (๑๖ ปี)

สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) โอรสเจ้านครอินทร์

๑๙๖๗๑๙๙๑(๑๖ ปี)

สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (โอรสเจ้าสามพระยา)

๑๙๙๑ - ๒๐๓๑ (๔๐ ปี)

สุพรรณภูมิ

๑๐

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ)

๒๐๓๑ - ๒๐๓๔ (๓ ปี)

สุพรรณถูมิ

๑๑

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ)

๒๐๓๔๒๐๗๒ (๓๘ ปี)

สุพรรณภูมิ

๑๒

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่๔(พระอนุชาต่างมารดาพระรามาธิบดีที่ ๒)

๒๐๗๒ - ๒๐๗๖ (๔ ปี)

สุพรรณภูมิ

๑๓

สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร (โอรสพระบรมราชาธิราชที่ ๔)

๒๐๗๖๒๐๗๗ (๑ ปี)

สุพรรณภูมิ

๑๔

สมเด็จพระไชยราชาธิราช (โอรสพระรามาธิบดีที่ ๒)

๒๐๗๗๒๐๘๙(๑๒ ปี)

สุพรรณภูมิ

๑๕

สมเด็จพระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) (โอรสพระไชยราชาธิราช)

๒๐๘๙ - ๒๐๙๑ (๒ ปี)

สุพรรณภูมิ

๑๖

ขุนวรวงศาธิราช (สำนักประวัติศาสตร์บางแห่งไม่ยอมรับว่าเป็นกษัตริย์)

๒๐๙๑ (๔๒ วัน)

อู่ทอง

๑๗

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา)

๒๐๙๑ - ๒๑๑๑ (๒๐ ปี)

สุพรรณภูมิ

๑๘

สมเด็จพระมหินทราธิราช (โอรสพระมหาจักรพรรดิ)

๒๑๑๑๒๑๑๒ (๑ ปี)

สุพรรณภูมิ

๑๙

สมเด็จพระมหาธรรมราชา (ราชบุตรเขยในพระมหาจักรพรรดิ์)

๒๑๑๒๒๑๓๓(๒๑ ปี)

สุโขทัย

๒๐

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (โอรสพระมหาธรรมราชา)

๒๑๓๓๒๑๔ (๑๕ ปี)

สุโขทัย

๒๑

สมเด็จพระเอกาทศรถ (โอรสพระมหาธรรมราชา)

๒๑๔๘ - ๒๑๕๓ (๕ ปี)

สุโขทัย

๒๒

พระศรีเสาวภาคย์ (โอรสพระเอกาทศรถ)

๒๑๕๓ - ๒๑๕๔ (๑ ปี)

สุโขทัย

๒๓

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (โอรสพระเอกาทศรถ)

๒๑๕๔ - ๒๑๗๑ (๑๗ ปี)

สุโขทัย

๒๔

สมเด็จพระเชษฐาธิราช (โอรสพระเจ้าทรงธรรม)

๒๑๗๒ (๘ เดือน)

สุโขทัย

๒๕

สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (โอรสพระเจ้าทรงธรรม)

๒๑๗๒ (๒๘ วัน)

สุโขทัย

๒๖

สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ออกญากลาโหมสุริยวงค์)

๒๑๗๒ - ๒๑๙๙ (๒๗ ปี)

ปราสาททอง

๒๗

สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (โอรสพระเจ้าปราสาททอง)

๒๑๙๙ ( - ๔ วัน)

ปราสาททอง

๒๘

พระศรีสุธรรมราชา (อนุชาพระเจ้าปราสาททอง)

๒๑๙๙ (๓ เดือน)

ปราสาททอง

๒๙

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (โอรสพระเจ้าปราสาททอง)

๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ (๓๒ ปี)

ปราสาททอง

๓๐

สมเด็จพระเพทราชา

๒๒๓๑ - ๒๒๔๖ (๑๕ ปี)

บ้านพลูหลวง

๒๑

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ)

๒๒๔๖๒๒๕๑ (๖ ปี)

บ้านพลูหลวง

๓๒

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (โอรสพระเจ้าเสือ)

๒๒๕๑๒๒๗๕(๒๔ ปี)

บ้านพลูหลวง

๓๓

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (โอรสพระเจ้าเสือ)

๒๒๗๕ - ๒๓๐๑ (๒๖ ปี)

บ้านพลูหลวง

๓๔

สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (โอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)

๒๓๐๑ (๒ เดือน)

บ้านพลูหลวง

๓๕

สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์)

๒๓๐๑ - ๒๓๑๐ (๙ ปี)

บ้านพลูหลวง

 

     ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงธนบุรี

กรุงธนบุรี เป็นราชธานีของไทย ในช่วง พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๒๓๒๕ มีที่ตั้ง ณ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เมืองธนบุรีเดิมหลังจากกรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ก็ได้ทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ขึ้น พระราชทานนามว่า "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร" เมื่อจุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๑๐ จวบจนถึง พ.ศ. ๒๓๒๕ นับเป็นเวลาแห่งราชธานีเพียง ๑๕ ปีเท่านั้นชุมนุม และ ก่อนที่จะสถาปนากรุงธนบุรี

       แม้กรุงศรีอยุธยา จะถูกทำลายย่อยยับ พม่าก็มิได้รุกรานดินแดนสยามทั้งหมด ทหารพม่ามีกำลังเพียงควบคุมในเมืองหลวง และ เมืองใกล้เคียงเท่านั้น หลังจากเสด็จสิ้นการปล้นสะดม พม่ายกเลิกทัพกลับไป เหลือไว้แต่เพียงกองทัพเล็กๆ ประมาณ ๓,๐๐๐ คน มีสุกี้พระนายกอง เป็นผู้ดูแลรักษากรุงศรีอยุธยา ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโพธิ์สามต้น พร้อมกันนั้น พม่าได้ตั้ง นายทองอิน ซึ่งเป็นคนไทย ให้ไปเป็นผู้ดูแลรักษาเมืองธนบุรีไว้แทนพม่า ดังนั้นหัวเมืองอื่นๆ ที่ปลอดจากการรุกรานของพม่า จึงตั้งตนเป็นใหญ่ไม่ขึ้นต่อใคร เรียกว่าชุมนุม โดยทั้งหมดมีทั้งหมด ๕ ชุมนุม ได้แก่ ชุมนุมพระเจ้าตาก (ตั้งหลังสุด) ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ชุมนุมเจ้าพิมาย และ ชุมนุมพระเจ้าฝางการตั้งตัวแผนที่ป้อมเมืองธนบุรี สมัยสมเด็จพระเพทราชา

            สาเหตุของการหลบหนี

                ขณะที่กรุงศรีอยุธยาทำสงครามกับพม่าอยู่นั้น พระยาตากได้เห็นความอ่อนแอของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ และมองไม่เห็นหนทางที่จะเอาชนะข้าศึกได้ จึงไม่อยากอยู่ร่วมปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปบังเกิดขึ้นหลายครั้ง ดังนี้ พระยาตากคุมทหารออกไปรบนอกเมือง และสามารถรบชนะข้าศึกได้ แต่ทางการไม่ส่งทหารมาเพิ่ม จึงต้องเสียค่ายนั้นไปอีก พระยาตากได้รับบัญชาให้ยกกองทัพเรือออกไปรบพร้อมกับพระยาเพชรบุรี แต่พระยาตากเห็นว่าพม่ามีพลที่มากกว่า จึงห้ามไม่ให้พระยาเพชรบุรีไปออกรบ แต่พระยาเพชรบุรีไม่เชื่อฟัง จึงออกไปรบ และเสียชีวิตในสนามรบ ทำให้พระยาตากถูกกล่าวหาว่าทิ้งให้พระยาเพชรบุรีเป็นอันตราย ๓ เดือนก่อนกรุงแตก พม่ายกกองมาปล้นทางเหนือของพระนคร พระเจ้าตากเห็นการ จึงจำเป็นต้องขออนุญาตจากกรุงให้ใช่ปืนใหญ่ แต่ทางกรุงไม่อนุญาต พระยาตากจึงคิดว่าถ้ายังเป็นอย่างนี้ กรุงศรีอยุธยาจะต้องแตก พระยาตากจึงตัดสินใจตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกไป พร้อมกับขุนนางนายทหารผู้ใหญ่ตีฝ่าวงล้อมพม่า โดยนายทหารและขุนนางผู้ใหญ่มี พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงพิชัยราชา หลวงราชเสนา ขุนอภัยภักดี และ หมื่นราชเสน่หา ออกไปตั้งค่ายที่ วัดพิชัย เมื่อเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีจอ จุลศักราช ๑๑๒๘ ตรงกับวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๓๑๐ พอไปถึงบ้านสำบัณฑิตเวลาเที่ยงคืนเศษ ก็แลเห็นแสงเพลิงไหม้จากพระนครการเดินทางไปยังเมืองจันทบุรี เมืองระยอง

                พระยาตากได้นำทัพผ่านบ้านโพสามหาร บ้านบางดง ซึ่งมีแต่ทหารพม่า ผ่าน หนองไม้ทรุง เมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี ลงใต้ผ่านพัทยา สัตหีบ ตลอดทางมีคนอ้อมน้อมเป็นพรรคพวกจำนวนมาก พระยาตากนำทัพเลียบชายฝั่ง จนมาถึงเขตเมืองระยอง ผู้รั้งเมืองระยองเห็นว่า ทัพพระยาตากเป็นทัพใหญ่ จึงพากรมการเมืองไปต้อนรับนอบน้อมและที่เมืองระยองนี้เอง ที่พระยาตากได้ตั้งตนเป็นเจ้าด้วยความเห็นชอบของบรรดาขุนนาง และ กลุ่มชน แต่ต่อมา นายบุญรอด แขนอ่อน นายบุญมาซึ่งเป็นน้องภริยาของพระยาจันทบุรี ที่ได้เข้ามาถวายตัวเข้ารับราชการ ได้กราบทูลความรับให้ทรงทราบว่าขุนรามหมื่นส้อง นายทองอยู่ นกเล็ก และ พรรคพวกการเมืองระยองคิดร้าย เจ้าตากจึงทรงวางแผนซ้อนตีต้อนพวกคิดร้ายแตกพ่ายไป เมื่อเจ้าตากได้เมืองระยองแล้ว ทรงส่งคนไปเกลี้ยกล่อมพระยาจันทบุรี แล้วออกตามจับขุนรามหมื่นส้อง กับ นายทองอยู่ นกเล็ก ต่อไป และในที่สุด นายทองอยู่ นกเล็ก ก็ได้มาอ่อนน้อม พระยาตากจึงทรงแต่งตั้งให้ นายทองอยู่ นกเล็ก เป็น พระยาอนุราชบุรีศรีมหาสมุทร ปกครองเมืองชลบุรีต่อไป เมืองจันทบุรีเจ้าตากทรงพิจารณาเห็นว่า เมืองจันทบุรีเป็นเมืองที่ใหญ่ และยังอุดมสมบูรณ์ บ้านเรือนเป็นปกติสุขอยู่ เจ้าตากจึงทรงเกลี้ยกล่อมเมืองจันทบุรีให้มาช่วยกู้เอกราชพระยาจันทบุรีรับคำไมตรีในช่วงแรก แต่แล้วพระยาจันทบุรีกลับไปร่วมมือกับขุนรามหมื่นส้อง วางแผนลวงให้เจ้าตากยกกองทัพเข้าไปตีเมืองจันทบุรี แล้วค่อยกำจัดเสียในภายหลัง แต่พระยาตากทรงรู้ทัน จึงทรงหยุดยั้งอยู่หน้าเมืองในขณะนั้นหลวงนายศักดิ์ (หมุด) ถูกเจ้าเมืองจันทบุรีคุมขังอยู่ ได้หนีออกมาสมทบเจ้าตาก เพราะรู้จักคุ้นเคยกันมาก่อน หลวงนายศักดิ์ได้มอบจีนพรรคพวกให้ ๕๐๐ คน กับเงินส่วยสาอากร ๓๐๐ ชั่งที่เก็บจากเจ้าเมืองจันทบุรีเมื่อเจ้าตากทรงพิจารณาเห็นว่าพระยาจันทบุรีหลงเชื่อคำของขุนรามหมื่นส้อง ไม่ยอมอ่อนน้อมให้แล้ว จึงตรัสให้ทหารทั้งปวง เทอาหารทิ้ง ทุบหม้อทุบต่อยหม้อแกงจนแหลกหมด แล้วจึงตรัสว่า วันนี้เราจะเอาเมืองจันทบุรีให้ได้ ให้ไปหาข้าวของกินกันในเมือง หากไม่ได้ก็จงตายเสียให้สิ้นด้วยกันเถิดครั้นตกดึกประมาณ ๓ นาฬิกา เจ้าตากก็สามารถบุกเข้าเมืองได้ ตรงกับวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เจ้าตากจึงสามารถรวบรวมหัวเมืองตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี และ ระยอง จันทบุรีได้

          การสถาปนากรุงธนบุรี เมื่อพระเจ้าตากทรงขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว ก็รวบรวมผู้คน ทรัพย์สมบัติ และสิ่งต่างๆ ซึ่งสุกี้พระนายกองยังมิได้นำไปยังพม่า นำกลับมายังค่ายที่เมืองธนบุรี ปรากฏว่าที่เมืองลพบุรี มีพระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์อยุธยามาพำนักอยู่เป็นจำนวนมาก พระเจ้าตากจึงสั่งให้คนไปอัญเชิญมายังเมืองธนบุรี พระองค์ทรงขุดพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ขึ้นมาถวายพระเพลิงตามราชประเพณี ต่อจากนั้น พระองค์ก็ทรงคิดที่จะปฏิสังขรณ์พระนครศรีอยุธยาให้กลับคืนเป็นดังเดิม แต่แล้วหลังจากตรวจดูความพินาจของเมือง ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อพยพผู้คนเคลื่อนลงมาทางใต้ ตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรี เรียกนามว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร

            เหตุผลที่ทรงย้ายราชธานี ถึงแม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะเป็นราชธานีที่มีชัยภูมิดี มีแม่น้ำล้อมรอบ แต่พระเจ้าตากไม่มีทหารเพียงพอที่จะปกป้องพระนครได้ จึงอาจจะทำให้ข้าศึก บุกเข้ามาโดยง่าย กรุงศรีอยุธยาอยู่ในทำเลที่ข้าศึกเข้ามาสะดวก พม่ารู้ประตูทางเข้าออกและจุดอ่อนของกรุงศรีแล้ว จึงทำให้เสียเปรียบต่อการป้องกันพระนครกรุงศรีอยุธยาทรุดโทรมมาก ยากแก่การบูรณะสังขร อยุธยาอยู่ไกลจากทะเล ซึ่งไม่สะดวกในการค้าขาย เหตุผลที่ทรงเลือกเมืองธนบุรีธนบุรีมีแม่น้ำใหญ่กว้างไหลผ่าน เมื่อข้าศึกมา จึงสามารถขึ้นเรือหนีไปที่เมืองจันทบุรีได้ ธนบุรีมีป้อมอยู่ คือ ป้อมวิชัยประสิทธิ์ หรือ ป้อมวิไชเยนทร์ ที่สร้างไว้ตั้งแต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หลงเหลืออยู่ พอที่จะใช้ป้องกันข้าศึกได้ ธนบุรีตั้งอยู่บนเกาะเหมือนอยุธยา ธนบุรีตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเส้นทางที่เมืองเหนือทั้งปวงจะได้ค้าขาย จึงสามารถกีดกันมิให้หัวเมืองเหล่านั้นตั้งตนเป็นใหญ่ ซื้อหาอาวุธจากต่างประเทศได้ ธนบุรีตั้งอยู่ใกล้ทะเล สะดวกแก่การค้ามาก ซึ่งต่างจากอยุธยาที่ต้องขนลงเรือเล็กก่อน ธนบุรีเป็นเมืองเก่า มีวัดเก่าแก่มากมาย ดังนั้นจึงไม่ต้องสร้างวัดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ธนบุรีมีคลองมาก ดินดี น้ำมาก จึงสามารถทำไร่ทำสวนได้ตลอดทั้งปี การปกครองการปกครองในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ยืดถือแบบการแบบกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้ การปกครองส่วนกลาง กรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลาง มีอัครมหาเสนาบดี ๒ ตำแหน่ง

สมุหนายก' เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งในราชการฝ่ายทหาร และ พลเรือน ในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย ผู้เป็นจะมียศเป็น เจ้าพระยาจักรี'หรือที่เรียกว่า ออกญาจักรี

สมุหพระกลาโหม' เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ยศนั้นก็จะมี เจ้าพระยามหาเสนา'หรือที่เรียกว่า ออกญากลาโหม

ส่วนจตุสดมภ์นั้นยังมีไว้เหมือนเดิม มีเสนาบดีเป็นผู้ดูแล และมีพระยาโกษาธิบดี เป็นผู้ดูแลอีกทอดหนึ่ง ซึ่งได้แก่ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง และ กรมนา

            การปกครองส่วนภูมิภาค หัวเมืองชั้นใน จะมีผู้รั้งเมือง เป็นผู้ปกครอง จะอยู่รอบ ๆ ไม่ไกลจากราชธานี เมืองพระยามหานคร จะแบ่งออกได้เป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง เมืองประเทศราช คือเมืองที่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้กรุงธนบุรี ซึ่งในขณะนั้น จะมี นครศรีธรรมราช เชียงแสน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ปัตตานี ไทรบุรี ตรังกานู มะริด ตะนาวศรี พุทไธมาศ พนมเปญ จำปาศักดิ์ หลวงพระบาง และ เวียงจันทน์ ฯลฯ เศรษฐกิจในช่วงแรกๆ ค่อนข้างที่จะมีปัญหาด้านเศรษฐกิจเพราะเกิดปัญหาข้าวยากหมากแพงไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน วิธีแก้แรกๆ พระเจ้าตากสินได้สละทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ซื้อข้าวแจกกับประชาชน แต่ก็ยังไม่พออยู่ดี จนภายหลังพระองค์จึงให้ราษฎรทุกคนช่วยกันปลูกข้าวในบริเวณรอบๆ พระบรมมหาราชวังเพราะมีดินที่อุดมสมบูรณ์ และทำทั้งนาปรังและนาปีเพื่อให้ข้าวเพียงกับความต้องการของราษฎร ส่วนเรื่องค้าขายคาดว่าน่าจะมีการค้าขายกับชาวจีนบ้างบางส่วน และเราเองก็ได้รับความช่วยเหลือจากคนจีนในบางส่วน สินค้าที่ขายคงเป็นข้าว สภาพเศรษฐกิจของกรุงธนบุรีไม่ค่อยดี เพราะยังมีปัญหาพวกพ่อค้าจากต่างถิ่นไม่ค่อยกล้าเข้ามาทำการค้าขาย เนื่องจากกลัวภัยสงครามในเมืองธนบุรี เนื่องจากกรุงธนบุรีมีการต่อสู้และทำสงครามกับพม่าอยู่ตลอดเวลาสังคมเป็นสังคมเล็กๆ เพราะมีคนน้อยวัฒนธรรมรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแม้จะไม่ยาวนานนักได้ฟื้นฟูปรับปรุงบ้านเมืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอันมากเช่น ด้านศาสนาได้แต่งตั้งพระสังฆราช ด้านศิลปะผลงานไม่เด่นชัด ด้านการศึกษาเด็กผู้ชายจะมีโอกาสได้เรียนเท่านั้น วรรณกรรมถึงแม้ว่ากรุงธนบุรีจะดำรงอยู่เป็นเวลาอันสั้น วรรณกรรม วรรณคดีทั้งหลายถูกทำลายลง แต่ก็มีเวลาที่จะมาฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรม

                           สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (พ.ศ. ๒๒๗๗ - พ.ศ. ๒๓๒๕ ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๑๑ - พ.ศ. ๒๓๒๕) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวแห่งกรุงธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวแห่งสยามประเทศที่มาจากเชื้อสายจีน มีพระนามเดิมว่า สิน พระองค์เป็นโอรสของพระบรมราชชนก ไหฮอง และพระบรมราชชนนี นกเอี้ยง (ภายหลังเฉลิมพระนามเป็นกรมสมเด็จพระเทพามาตย์) เสด็จพระราชสมภพในวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีขาล จุลศักราช ๑๐๙๖ เวลาประมาณ ๕ โมงเช้า ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคตในวันเสาร์เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ จ.ศ.๑๑๔๔ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ รวมพระชนมพรรษา ๔๘ พรรษาพระองค์เป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งสยามประเทศ ผู้ทรงกอบกู้อิสรภาพให้ชาวสยาม พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านการสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง การฟื้นฟูบ้านเมืองและศิลปวัฒนธรรมชองชาติ พระองค์จึงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญาว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี อนึ่ง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ว่า พระเจ้าตาก พระราชประวัติจดหมายเหตุโหรได้บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีขาล จุลศักราช ๑๐๙๖ เวลาประมาณ ๕ โมงเช้า ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ มีหนังสือพงศาวดารได้กล่าวไว้ว่า ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีชาวจีนแต้จิ๋วคนหนึ่งนามว่า ไหฮอง (ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ระบุว่า ไหฮอง ไม่ใช่ชื่อบุคคล แต่เป็นชื่อตำบลในมณฑลกวางตุ้ง) ได้เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย  มีบรรดาศักดิ์เป็น ขุนพัฒ ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้บ้านของเจ้าพระยาจักรี สมุหนายก ครั้นเวลาล่วงมาถึง ๕ ปีขาล พ.ศ. ๒๒๗๗ ขุนพัฒมีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ หยง เกิดแต่ นางนกเอี้ยง ซึ่งเป็นชาวไทย  ทารกคนนี้คลอดได้ ๓ วัน มีงูเหลือมใหญ่เลื้อยเข้าไปขดรอบตัวทารก เป็นทักขิณาวัฏ ขุนพัฒผู้เป็นบิดาเกรงว่าเรื่องนี้อาจลางร้ายแก่สกุล จึงยกบุตรคนนี้ให้แก่เจ้าพระยาจักรี[๖] แล้วเจ้าพระยาจักรีได้เลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม และตั้งแต่เจ้าพระยาจักรีได้เด็กน้อยคนนี้มา ลาภผลก็เกิดมากมูลพูนเพิ่มมั่งคั่งขึ้นแต่ก่อน เจ้าพระยาจักรีจึงกำหนดเอาเหตุนี้ขนานนามให้ว่า สิน จากหลักฐานที่อาลักษณ์ของจีนจดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารวงเช็ง แผ่นดินพระเจ้าเขียนหลง กล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์ไว้ว่า "บิดาเจิ้งเป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง ไปทำมาค้าขายอยู่ที่เสียมล่อก๊ก และเกิดเจิ้งเจาที่นั่น เมื่อเจิ้งเจาเติบใหญ่ เป็นผู้มีความสามารถ ได้เข้ารับราชการอยู่ในเสียมล่อก๊ก เมื่อเจิ้งเจารบชนะพม่า ฯ แล้ว ราษฎรทั่วประเทศยกขึ้นเป็นเจ้าครองประเทศ ("เจิ้งเจา"คือสมเด็จพระเจ้าตากสิน ออกเสียงตามสำเนียงปักกิ่ง ถ้าเป็นแต้จิ๋วออกเสียงว่า"แต้เจียว" ส่วน"เสียมล่อก๊ก"นั้น หมายถึงประเทศไทย) ครั้นเมื่อเด็กชายสิน อายุได้ ๙ ขวบ เจ้าพระยาจักรีนำเข้าฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส ต่อมาได้เข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กอยูในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรีได้จัดงานมงคลตัดจุกนายสิน เป็นการเอิกเกริกและในระหว่างนั้น มีผึ้งหลวงมาจับที่เพดานเบญจารดน้ำปรากฏอยู่ถึง ๗ วันจึงหนีไป และในระหว่างนี้ นายสินได้พยายามศึกษาหาความรู้ในภาษาต่างประเทศ มี ภาษาจีน ภาษาญวน และ ภาษาแขก จนสามารถพูดคล่องได้ทั้ง ๓ ภาษา ต่อมาได้รับราชการภายใต้หลวงนายศักดิ์นายเวร (ภายหลังเป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์) ต่อมาเมื่อมีอายุได้ ๒๐ ปี บริบูรณ์ เจ้าพระยาจักรีได้จัดการอุปสมบทเป็นพระภิกษุให้ ในระหว่างอุปสมบทพระภิกษุสินได้ออกบิณฑบาตพร้อมกับพระภิกษุ ทองด้วง เป็นประจำเพราะรับราชการเป็นมหาดเล็กทำงานด้วยกันมาหลายปี ทั้งสองมีความรักใคร่กลมเกลียวกันมาก ได้อุปสมบทพร้อมกัน

พระภิกษุสินได้ดำรงอยู่ในสมณเพศถึง ๓ พรรษา ที่วัดโกษาวาส แล้วจึงลาสิกขาบทออกมารับราชการใหม่ ในตำแหน่งมหาดเล็กรายงาน ครั้นถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งเป็น หลวงยกกระบัตร ไปรับราชการอยู่ที่เมืองตากเมื่อเจ้าเมืองตากถึงแก่อนิจกรรม ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หลวงยกกระบัตรเป็น พระยาตากต่อมาเมื่อมีข้าศึกพม่ามาล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาตากก็ได้ถูกเรียกตัวให้ลงมาช่วยงานราชการในกรุงศรีอยุธยา พระยาตากทำการสู้รบกับข้าศึกด้วยความเข้มแข็งสามารถยิ่ง มีบำเหน็จความชอบในสงคราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระยาวชิรปราการ ผู้สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชร แต่ยังมิได้ขึ้นไปปกครองเมืองกำแพงเพชร เพราะติดราชการสงครามกับพม่าอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๙ เสียก่อน

พ.ศ. ๒๓๑๐ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พระยาตาก ก็รวบรวมคนไปตั้งเป็นชุมนุมพระเจ้าตากที่เมืองจันทบูร (จันทบุรี) และมากอบกู้เอกราช และสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ กรุงธนบุรีพระราชกรณียกิจ (ก่อนครองราชย์) ฝ่าวงล้อมทหารพม่า ในวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๓๐๙ ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช ๑๑๒๘ ปีจอ อัฐศก พระยาวชิรปราการ (ยศในขณะนั้น) เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่า จึงตัดสินใจร่วมกับพระยาพิชัยดาบหัก พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี พร้อมด้วยทหารกล้าราว ๕๐๐ คน มีปืนเพียงกระบอกเดียว แต่ชำนาญด้านอาวุธสั้น ยกกำลังออกจากค่ายวัดพิชัย ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่าไปทางทิศตะวันออก โดยตั้งใจว่าจะกลับมากู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนให้ได้โดยเร็ว

พระยาวชิรปราการ ต้องการยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นที่มั่น เพื่อรวบรวมกำลังกลับมาตีพม่า จึงสั่งทหารทุกคนว่า   เมื่อกินข้าวปลาอาหารอิ่มแล้ว ให้ทุบหม้อข้าวหม้อแกงทิ้งเสีย คืนนี้เราจะตีเมืองจันทบุรีให้ได้ แล้วพรุ่งนี้เราจะกินข้าวเช้ากันในเมืองจันท์หลังจากที่พระยาตากพาไพร่พลตีฝ่าวงล้อมพม่า มุ่งไปยังหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออก ประมาณ ๓ เดือน พม่าก็เข้ายึดกรุงศรีอยุธยาได้ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่าจุดไฟเผาเมืองจนวอดวาย พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่ามีพระบรมราชโองการให้ทำลายทุกอย่างให้ย่อยยับ แล้วให้จับพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ และรวบรวมสมบัติทั้งหมดของอยุธยาส่งกลับไปพม่า ข่าวกรุงแตกได้แพร่กระจาย ขณะที่พระยาตากอยู่ที่เมืองระยอง พระยาตากจึงได้ประกาศตนเป็นผู้นำในการที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนา และกอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้กลับรุ่งเรืองดังเดิมพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา กล่าวถึงคำพูดของพระยาตากไว้ตอนหนึ่งว่า ตัวเราคิดจะซ่องสุมประชาราษฎรในแขวงหัวเมืองให้ได้มาก แล้วจะยกกลับไปกู้กรุงให้คงคืนเป็นราชธานีดังเก่า แล้วจัดทำนุบำรุงสมณพราหมณาประชาราษฎร ซึ่งอนาถาหาที่พำนักมิได้ให้ร่มเย็นเป็นสุขานุสุข แล้วจะยอยกพระบวรพุทธศาสนาให้โชตนาการขึ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน เราจะตั้งตัวเป็นเจ้าขึ้นให้คนทั้งหลาย ยำเกรงจงมาก ซึ่งจะก่อกู้แผ่นดินจึงจะสำเร็จโดยง่าย ท่านทั้งหลายจะเห็นประการใด

บรรดาแม่ทัพนายกองที่สวามิภักดิ์ต่างพร้อมใจกันยกพระยาตากขึ้นเป็นผู้นำขบวนการกอบกู้แผ่นดิน และเรียกพระยาตากว่า เจ้าตาก นับตั้งแต่นั้นมา ถึงแม้จะเป็นเสมือนผู้ละเมิดกฎหมายบ้านเมือง แต่เจ้าตากก็ระวังตนมิได้คิดตั้งตัวเป็นกบฏ ให้เรียกคำสั่งว่าพระประศาสน์อย่างเจ้าเมืองเอกเท่านั้น เจ้าตากได้นำไพร่พลทั้งไทยและจีนเดินทางต่อไปยังฝั่งทะเลด้านตะวันออก รอเวลาที่จะกอบกู้แผ่นดินจากพม่า ทุกขั้น ตอนของแผนกอบกู้เอกราช ล้วนแสดงถึงอัจฉริยะในด้านยุทธวิธีทางทหาร ทั้งทางบกและทางน้ำของเจ้าตาก เส้นทางเดินทัพของพระยาตาก พระยาตากพาไพร่พลตีฝ่าวงล้อมของทัพพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยามุ่งตรงไปยังบ้านโพธิ์สังหาญ หรือ โพธิ์สาวหาญ รุ่งเช้าได้ต่อสู้กับกองทหารพม่า ทหารไทยฆ่าฟันทหารพม่าล้มตายแตกหนีไป พระยาตากจึงนำทหารเดินทางต่อ และไปตั้งค่ายพักอยู่บ้านพรานนก ให้พวกทหารไปเที่ยวหาอาหาร มาเลี้ยงกัน ขณะนั้นมีทหารพม่ากองหนึ่ง ซึ่งมีทหารม้าประมาณ ๓๐ คน ทหารเดินเท้าประมาณ ๒๐๐ คน เดินทาง

มาจากแขวงเมืองปราจีนบุรี สวนทางมาพบทหารพระยาตากที่เที่ยวหาเสบียงอาหาร ทหารพม่าก็ไล่จับและ ติดตามมายังบ้านพรานนก พระยาตากจึงให้ทหารแยกออกซุ่มสองทาง ตนเองขึ้นขี่ม้าพร้อมกับทหารอีก ๔ คน ควบตรงไปไล่ฟันทหารม้าพม่า ทหารพม่าไม่ทันรู้ตัวตกใจถอยกลับ ไปปะทะกับทหารเดินเท้าของตนเอง เกิดการอลหม่าน ทหารไทยที่ซุ่มอยู่สองข้างจึงแยกเป็นปีกกาตีโอบทหารพม่าไว้สองข้าง แล้วไล่ฟันทหารพม่า ล้มตายและแตกหนีไป พวกราษฎรที่หลบซ่อนพม่าอยู่ ครั้นเห็นพระยาตากรบชนะพม่า ก็ดีใจพากัน เข้ามาสมัครเป็นพรรคพวก พระยาตากจึงให้ราษฎรเหล่านั้น ไปเกลี้ยกล่อมหัวหน้านายซ่องมาสวามิภักดิ์ นำช้าง ม้าพาหนะและเสบียงอาหารมามอบให้ นายซ่องใหญ่ที่ไม่ยอมอ่อนน้อม ก็ถูกปราบปรามจนราบคาบ ริบพาหนะ ผู้คน ช้างม้า และศาสตราวุธ ได้เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นพระยาตากจึงยกกองทหารไปทาง นาเริง เมืองนครนายก ผ่านด่านกบแจะ ข้ามลำน้ำปราจีนบุรี ไปตั้งพักอยู่ชายดงศรีมหาโพธิ์ ข้างฝั่งตะวันออก พม่าที่ตั้งทัพอยู่ปากน้ำเจ้าโล้ใต้เมืองปราจีนบุรียกพลตามมา พระยาตากก็นำทหารไล่ติดตามฆ่าฟันทหารพม่า ล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ที่เหลือก็หนีแตกกระจัดกระจายไป นับแต่นั้นมา พม่าก็มิได้ติดตามกองทัพพระยา ตากอีกต่อไป พระยาตากได้ยกกองทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทรา ชลบุรี แล้วจึงเดินทางต่อไปยังบ้านนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุง เมื่อถึงเมืองระยอง เจ้าเมืองระยองซึ่งได้ยินกิติศัพท์ของพระยาตากก็ยอมอ่อนน้อมเชิญให้ เข้าเมือง พระยาตากใช้เวลาไม่ถึงเดือนนับจากตีหักออกจากกรุงศรีอยุธยาก็ยึดเมืองระยองเป็นที่มั่นได้ ความ สามารถของพระยาตากในการรวบรวม คนไทยได้เป็นจำนวนมากเช่นนี้ แสดงถึงศักยภาพของพระยาตากที่มี เหนือกลุ่มอื่น ๆ ในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา เส้นทางเดินทัพของพระยาตากพระราชวิเทโศบายในการยึดจันทบุรีพระยาตากเดินทัพจากระยองผ่านแกลงเข้าบางกระจะ มุ่งยึดจันทบุรีซึ่งเป็นเมืองใหญ่ เพื่อใช้เป็นฐาน กำลังฟื้นฟูขวัญของไพร่พล เจ้าเมืองจันทบุรีไม่ยอมสวามิภักดิ์ พระยาตากจึงต้องใช้จิตวิทยาในด้านการรบ มาใช้กับแม่ทัพนายกอง เพื่อต้องการรบให้ชนะ โดยสั่งให้ทุบหม้อข้าวหม้อแกงหมายไปกินอาหารมื้อเช้า ในเมือง ถ้าตีเมืองไม่ได้ก็ต้องอดตายครั้นถึงเวลาค่ำ พระยาตากจึงได้สั่งให้ทหารไทยจีนลอบเข้าไปอยู่ ตามสถานที่ที่ได้วางแผนไว้แล้ว ให้คอยฟังสัญญาณเข้าตีเมืองพร้อมกัน มิให้ส่งเสียงจนกว่าจะเข้าเมืองได้ จึงให้โห่ขึ้นให้พวกอื่นรู้ พอได้ฤกษ์เวลา ๓ นาฬิกา เจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชร ให้ยิงปืนสัญญาณ บอกพวกทหารเข้าตีเมืองพร้อมกัน ส่วนพระยาตากก็ไสช้างเข้าพังประตูเมือง ชาวเมืองที่ประจำการอยู่ก็ยิง ปืนใหญ่เข้าใส่ นายท้ายช้างเกรงว่าพระยาตากจะถูกยิงจึงเกี่ยวช้างให้ถอยออกมา พระยาตากชักดาบออกมา จะฟัน นายท้ายช้างจึงได้ขอชีวิตไว้ แล้วไสช้างเข้าชนทำให้บานประตูเมืองพังลง ทหารพระยาตากจึงกรูกัน เข้าเมืองได้ พวกชาวเมืองต่างพากันละทิ้งหน้าที่หนีไป ส่วนพระยาจันทบุรีก็พาครอบครัวลงเรือหนีไปยัง เมืองบันทายมาศเมื่อค่ำวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ ตรงกับวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๓๐๙ พระยาตาก ได้ตัดสินใจยกกำลังออกจากค่ายวัดพิชัย ตีฝ่าพม่าไปทางทิศตะวันออก ทัพของพระยาตากได้ผ่านไปตั้งพักและหาเสบียงอาหารที่บ้านพรานนก ได้ต่อสู้กับพม่าที่ไล่ติดตามมาจนแตกพ่ายไป พวกราษฎรที่หลบซ่อนเร้นพม่าอยู่ ต่างก็พากันมาเป็นพวกด้วยจำนวนมาก พระยาตากได้คุมทหารไปปราบนายซ่องเมืองนครนายกจากนั้นได้ยกทัพผ่านเมืองนครนายก ข้ามลำน้ำเมืองปราจีน ไปตั้งพักที่ชายดงศรีมหาโพธิ์ ทางด้านฝั่งตะวันตก แล้วไปรบกับพม่าอีกครั้งที่ปากน้ำเจ้าโล้ เมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งกองทัพพม่ากองสุดท้ายไปรอดักอยู่ ณ ที่นั้นเมื่อพระยาตากได้ชัยชนะพม่าแล้ว ได้ยกทัพผ่านเขต เมืองชลบุรี บ้านหัวทองหลาง พานทอง บางปลาสร้อย บ้านนาเกลือ นาจอมเทียน ทุ่งไก่เตี้ย ชายทะเลสัตหีบ หินโด่งและน้ำเก่า เขตเมืองระยอง พระองค์ได้มีความคิดที่จะรวบรวมเมืองชายทะเลตะวันออก ตั้งแต่เมืองบางละมุง เมืองชลบุรี เมืองจันทบุรี เมืองตราด ไว้เป็นพวกเดียวกันเพื่อช่วยกันปราบปรามพม่า ที่ล้อมกรุงศรีอยุธยาและทรงเล็งเห็นว่าเมืองจันทบุรีเป็นเมืองใหญ่กว่าหัวเมืองอื่น มีเจ้าปกครองอยู่เป็นปกติ มีกำลังคนและอาหารอยู่บริบูรณ์ ชัยภูมิก็เหมาะที่จะเป็นที่ตั้งมั่นยิ่งกว่าหัวเมืองใกล้เคียง จึงได้ตีเมืองจันทบุรี และใช้เป็นที่มั่นสำคัญในการเตรียมกำลังมากอบกู้เอกราช ๐๓.๐๐ น. พระยาตากขึ้นช้างพังคีรีบัญชร โดยสั่งให้หลวงพิชัยอาสา(พระยาพิชัยดาบหัก) ทหารผู้ไว้ใจชุมพลทหารหน้าช้างพระที่นั่งและสั่งให้ยิงปืนสัญญาณเข้าพร้อมกันทุกด้าน พระยาตากขับช้างเข้าพังประตูเมือง ส่วนพวกที่อยู่ในเมืองก็ได้ตอบโต้ โดยการระดมยิงปืนสวนออกมาเช่นเดียวกัน นายท้ายช้างซึ่งเกรงว่าลูกปืนจะมาถูกพระยาตาก จึงเกี่ยวช้างถอยออกมา แต่พระยาตากขัดใจชักดาบหันมาจะฟันนายท้ายช้าง แต่นายท้ายช้างได้ตกใจร้องขอชีวิตเอาไว้ แล้วขับช้างเข้ารื้อบานประตูเมืองจนพังลง พวกทหารก็กรูเข้าไปในเมืองได้ หลังจากพวกในเมืองรู้ว่าพระยาตากพังประตูเมืองได้ก็ต่างพากันตกใจ ต่างคนต่างละทิ้งหน้าที่พากันหนีกระจัดกระจาย ส่วนตัวพระยาจันทบุรีพาครอบครัวหนีไปยังเมืองพุทไธมาศพระยาตากตีเมืองจันทบุรีได้ ณ วันอาทิตย์ เดือน ๗ แรม ๓ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เพลา ๓ ยามเศษ ตรงกับวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๑๐ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว

๒ เดือนเมื่อยึดเมืองจันทบุรีได้แล้ว พระยาตากได้เคลื่อนทัพไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรเกิดความ เกรงกลัวต่างพากันมาอ่อนน้อมโดยดี ที่ปากน้ำเมืองตราดมีเรือสำเภาจีนมาทอดทุ่นอยู่หลายลำ พระยาตาก ได้เรียกนายเรือมาพบ แต่พวกจีนนายเรือขัดขืนต่อสู้ พระยาตากจึงลงเรือรบ คุมกองเรือไปล้อมสำเภาจีน เหล่านั้น ได้ทำการต่อสู้กันอยู่ประมาณครึ่งวัน พระยาตากก็ยึดสำเภาจีนไว้ได้หมด ได้ทรัพย์สินสิ่งของมา เป็นจำนวนมาก เป็นที่น่าสังเกตว่าเรือรบไทยสมัยนั้น มีขนาดพอ ๆ กับเรือยาวที่ใช้แข่งตามแม่น้ำ เมื่อสามารถเข้าตียึดเรือสำเภาขนาดใหญ่ที่ใช้เดินทะเลและมีปืนใหญ่ประจำเรือด้วยได้นั้น แสดงว่าแม่ทัพ เรือและทหารเรือ จะต้องมีความสามารถมาก ภาพประธานด้านหลัง พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จำลองจากพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

          การสถาปนากรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว ก็รวบรวมผู้คน ทรัพย์สมบัติ และสิ่งต่างๆ ซึ่งสุกี้พระนายกองยังมิได้นำไปยังพม่า นำกลับมายังค่ายที่เมืองธนบุรี ปรากฏว่าที่เมืองลพบุรี มีพระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์อยุธยามาพำนักอยู่เป็นจำนวนมาก พระเจ้าตากจึงสั่งให้คนไปอัญเชิญมายังเมืองธนบุรี พระองค์ทรงขุดพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ขึ้นมาถวายพระเพลิงตามโบราณราชประเพณี ต่อจากนั้น พระองค์ก็ทรงคิดที่จะปฏิสังขรณ์พระนครศรีอยุธยาให้กลับคืนเป็นดังเดิม แต่แล้วหลังจากตรวจดูความพินาจของเมือง จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อพยพผู้คนเคลื่อนลงมาทางใต้ ตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรี เรียกนามว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร ดูบทความหลักได้ที่ กรุงธนบุรี ปราบดาภิเษกพระราชวัง กรุงธนบุรี (วังเดิม) เป็นพระราชวังหลวงของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ในพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยเยนทร์ ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ทำการของ กองบัญชาการกองทัพเรือ หลังจากสร้างพระราชวังบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว เมื่อทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยพอสมควร บรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดทั้งสมณะพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลาย จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงปราบดาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรก ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙ มองซิเออร์คอร์ เขียนจดหมายเล่าแก่ มองเซนเยอร์บรีโกต์ ว่า "เมื่อวันที่ ๔ เดือนมีนาคม ปีนี้ (๒๓๑๑) ข้าพเจ้าได้มาถึงบางกอก และ "เมื่อข้าพเจ้าได้มาถึงบางกอก พระยาตากพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ได้ทรงต้อนรับข้าพเจ้าอย่างดี"

พระราชกรณียกิจ(ขณะที่ครองราชย์) สามารถจำแนกออกไปสองด้านคือ ๑.การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง ๒.การฟื้นฟูบ้านเมืองทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ

การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงการปกป้องแผ่นดินการปกป้องแผ่นดินเป็นพระราชกรณียกิจที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้กระทำตลอดพระชนม์ชีพ ซึ่งนอก จากการต่อสู้เพื่อรวมแผ่นดินแล้ว ยังต้องป้องกันหัวเมืองชายแดนอีกด้วย ตลอดรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทำสงครามกับพม่าถึง ๙ ครั้ง แต่ด้วยพระอัจฉริยะภาพ ทางยุทธวิธีและความเชี่ยวชาญในการรบของทหาร จึงทำให้ทัพไทยรบชนะพม่าทุกครั้ง สงครามครั้งที่ ๑ รบพม่าที่บางกุ้ง พ.ศ. ๒๓๑๐ สงครามครั้งที่ ๒ พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ. ๒๓๑๓ สงครามครั้งที่ ๓ ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก พ.ศ. ๒๓๑๓ - พ.ศ. ๒๓๑๔ สงครามครั้งที่ ๔ พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๑๕ สงครามครั้งที่ ๕ พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๖ สงครามครั้งที่ ๖ ไทยตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๗ สงครามครั้งที่ ๗ รบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ. ๒๓๑๗ สงครามครั้งที่ ๘ อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ. ๒๓๑๘

สงครามครั้งที่ ๙ พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๓๑๙ สงครามครั้งนี้ถือว่าเป็นการรบครั้งสุดท้ายที่ไทยรบกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้รับการสถาปนาให้เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก มียศอย่างเจ้าต่างกรม คงดำรงตำแหน่งสมุหนายกการศึกสงครามดังกล่าวนี้ ส่งผลให้พระราชอาณาจักรไทยเป็นเอกราชและมีความมั่นคงสืบต่อมาจนถึง ปัจจุบันอาณาเขตประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแผนที่แสดงอาณาเขตประเทศไทย ในรัชสมัย-สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในสมัยกรุงธนบุรีได้มีการรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้ามาในพระราชอาณาจักร ได้แก่ ธนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครชัยศรี นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ทรงต่อสู้เพื่อขยายพระราชอาณาจักรเกือบตลอดรัชกาล อาณาเขตของ ประเทศไทยในสมัยนั้น ทิศเหนือ ได้ดินแดนหลวงพระบาง และเวียงจันทน์  ทิศใต้ ได้ดินแดนกะลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี  ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว เขมร ทางฝั่งแม่น้ำโขงจดอาณาเขตญวน  ทิศตะวันตก จรดดินแดนเมาะตะมะ ได้ดินแดน เมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี

            ด้านการปกครอง หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตก กฎหมายบ้านเมืองกระจัดกระจายสูญหายไปมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการสืบเสาะ ค้นหามารวบรวมไว้ได้ประมาณ ๑ ใน ๑๐ และโปรดฯให้ชำระกฎหมายเหล่านั้น ฉบับใดยังเหมาะแก่กาลสมัยก็โปรดฯ ให้คงไว้ ฉบับใดไม่เหมาะก็โปรดให้แก้ไขเพิ่มเติมก็มี ยกเลิกไปก็มี ตราขึ้นใหม่ก็มี และเป็นการแก้ไขเพื่อราษฎรได้รับผลประโยชน์มากขึ้น เช่น โปรดฯ ให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการพนันให้อำนาจการตัดสินลงโทษขึ้นแก่ศาลแทนนายตราสิทธิ์ขาด และยังห้ามนายตรานายบ่อนออกเงินทดรองให้ผู้เล่น เกาะกุมผูกมัดจำจองเร่งรัดผู้เล่น กฎหมายพิกัดภาษีอากรก็เกือบไม่มี เพราะผลประโยชน์แผ่นดินได้จากการค้าสำเภามากพอแล้ว กฎหมายว่าด้วยการจุกช่องล้อมวงก็ยังไม่ตราขึ้น เปิดโอกาสให้ราษฎรได้เฝ้าแหนตามรายทาง โดยไม่มีพนักงานตำรวจแม่นปืนคอยยิงราษฎร ซึ่งแม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยังชื่นชมในพระราชอัธยาศัยนี้ เช่น มองเซนเยอร์ เลอบอง ได้บรรยายไว้ในจดหมายถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศว่าบรรดาคนทั้งหลายเรียกพระเจ้าตากว่าพระเจ้าแผ่นดิน แต่พระเจ้าตากเองว่าเป็นแต่เพียงผู้รักษากรุงเท่านั้น พระเจ้าตากหาได้ทรงประพฤติเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินก่อนๆไม่ และในธรรมเนียมของพระเจ้าแผ่นดินฝ่ายทิศตะวันออกที่ไม่เสด็จออกให้ราษฎรเห็นพระองค์ด้วยกลัวจะเสื่อมเสียพระเกียรติยศนั้น พระเจ้าตากไม่ทรงเห็นชอบด้วยเลย พระเจ้าตากทรงพระปรีชาสามารถยิ่งกว่าคนธรรมดา เพราะฉะนั้นจึงไม่ทรงเกรงว่าถ้าเสด็จออกให้ราษฎรพลเมืองเห็นพระองค์ และถ้าจะทรงมีรับสั่งด้วยแล้วจะทำให้เสียพระราชอำนาจลงแต่อย่างใด เพราะพระองค์มีพระราชประสงค์ทอดพระเนตรการทั้งปวงด้วยพระเนตรของพระองค์เอง และจะทรงฟังการทั้งหลายด้วยพระกรรณของพระองค์เองทั้งสิ้น เนื่องจากตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นช่วงเวลาที่มีการทำศึกสงครามเกือบ ตลอดเวลา จึงทำให้ไม่มีเวลาที่จะชำระพระราชกำหนดกฎหมายต่างๆ ทำให้ต้องใช้กฎหมายที่มีมาตั้งแต่ ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยให้กรมวัง หรือกระทรวงวังเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาว่าคดีใดควรขึ้นศาลใด แล้วส่งคดีไปยังศาลกรมนั้นๆ โดยได้แบ่งงานศาลออกเป็น ๒ ส่วนใหญ่ ๆ คือ ฝ่ายรับฟ้อง มีหน้าที่ในการเขียนคำฟ้องและพิจารณารูปคดีว่าควรจะฟ้องหรือไม่ ก่อนจะส่งขึ้นศาลเพื่อพิจารณา เรื่องปรับไหมและลงโทษผู้กระทำผิดฝ่ายตรวจสำนวนและพิพากษา ฝ่ายนี้เดิมเป็นหน้าที่ของพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายแขนงต่างๆ จำนวน ๑๒ คน โดยเรียกว่า "ลูกขุน ณ ศาลหลวง" ต่อมาได้มีคนไทยที่เชี่ยวชาญกฎหมายเข้ามาทำหน้าที่นี้ด้วย คณะลูกขุน ณ ศาลหลวงนี้จะไม่มีอำนาจในการปรับหรือลงโทษแต่อย่างใดอย่างไรก็ตาม ในรัชกาลของพระเจ้าตากสิน พระองค์จะทรงใช้ ศาลทหาร เป็นส่วนใหญ่โดยใน การตัดสินคดีทุกครั้ง แม้พระองค์จะตัดสินให้ลงโทษสูงสุดแล้ว แต่ก็จะมีรับสั่งให้ทยอยการลงโทษจาก ขั้นต่ำสุดก่อน ซึ่งหลายครั้งจะปรากฏว่านักโทษที่มีความผิดร้ายแรงก็มักจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษ หนักโดยให้ไปกระทำการอย่างอื่นเป็นการไถ่โทษแทน

            ด้านเศรษฐกิจ สภาพบ้านเมืองหลังจากเสียกรุง ทำให้สภาพเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมาก มีประมาณครึ่งราชอาณาเขตครั้งกรุงศรอยุธยาเป็นราชธานี มีมณฑลกรุงเทพฯ มณฑลอยุธยา มณฑลราชบุรี มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลปราจีน และมณฑลจันทบุรี ครั้งนั้นมีมณฑลจันทบุรีเพียงมณฑลเดียวที่นับว่าปกติ

ส่วนมณฑลที่เหลือถูกพม่าย่ำยียับเยิน เป็นเมืองร้าง ขาดการทำไร่นาถึง ๒ ปี ผู้คนที่เหลือจากการถูกพม่ากวาดต้อนไปต่างพากันอพยพหลบหนีแตกกระจัดพลัดพราก เที่ยวซุ่มซ่อนอยู่ตามป่าดงโดยมาก ต้องทรงเกลี้ยกล่อมผู้คนให้กลับมาอยู่ถิ่นเดิม เมื่อผู้คนมาอยู่รวมกันมากเข้า ไม่ช้าก็เกิดการอัตคัต เสบียงอาหารไม่เพียงพอ ทรงสามารถแก้ไขความขัดข้องได้โดยปัจจุบันทันด่วน จึงทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อข้าวสารและเครื่องนุ่งห่มในราคาสูง เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชน ทั้งนี้ทำให้เกิดผลดีปย่างยิ่ง ๒ ประการคือ ประการที่ ๑ ชาวต่างเมืองทราบข่าว พากันบรรทุกข้าวของมาขายด้วยหวังกำไรงาม เมื่อมีของมาขายมาก ราคาก็ถูกลง ประการที่ ๒ เมื่อประชาชนทราบกิตติศัพท์ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระเมตตาต่อประชาราษฎร์ก็พากันมาสวามิภักดิ์ ทำให้มีพลเมืองเพิ่มขึ้น

สมัยกรุงธนบุรี เป็นสมัยที่ต้องสร้างชาติบ้านเมืองกันใหม่ พระองค์ทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรืออย่างเต็มที่ ทรงค้าขายกับจีน เป็นประจำ ทรงแต่งสำเภาหลวงออกไปขายหลายสาย ทางตะวันออกถึงเมืองจีน ทางตะวันตกถึงอินเดีย ผลกำไรที่ได้จากการค้าสำเภามีมากพอที่จะช่วยบรรเทาการเก็บภาษีอากรจากราษฎรในระยะแรกซึ่งราษฎรยังตั้งตัวไม่ได้ สภาพเศรษฐกิจดีขึ้นกว่าตอนต้นรัชกาล โดยมีรายได้จากภาษีขาเข้าและภาษีขาออกจากเรือสินค้าต่างชาติ ได้แก่ จีนและชวาที่เข้ามาค้าขายกับไทยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงส่งเสริมการนำสินค้าพื้นเมืองไปขายทางเรือ ซึ่งอำนวยผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่องานสร้างชาติ ทำให้ราษฎรมีงานทำ มีรายได้ ทั้งทรงมีพระราชประสงค์ที่จะฝึกให้คนไทยเชียวชาญการค้าขาย ป้องกันมิให้การค้าตากอยู่ในมือชนต่างชาติ และรักษาประโยชน์ของสินค้าพื้นเมืองมิให้ถูกทอดทิ้ง พระองค์ทรงพยายามผูกไมตรีกบจีนเพื่อประโยชนทั้งในด้านความมั่นคงของชาติและประโยชน์ในด้านการค้า อย่างไรก็ตาม การแก้ไขเศรษฐกิจและสภาพบ้านเมือง ยังมีปัญหาอยู่บ้าง ดังที่บาดหลวงชาวฝรั่งเศสชื่อ มอรซิเยอร์ เลอบอง ซึ่งเข้ามาในเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๘ จดบันทึกไว้ในช่วง พ.ศ. ๒๓๑๘ ดังนี้จนถึงเวลาเดี๋ยวนี้ อาหารการกินในเมืองนี้ยังแพงมาก เพราะบ้านเมืองไม่เป็นอันทำมาหากินมาเป็นเวลา ๑๕ ปีแล้ว และในเวลานี้ยังหาสงบทีเดียวไม่

สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงกังวลพระทัยในเรื่องนี้เคยมีพระราชดำรัสว่าบุคคลผู้ใดเป็นอาทิคือเทวดา บุคคลผู้มีฤทธิ์มาประสิทธิ์มากระทำให้ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ขึ้น ให้สัตว์โลกเป็นสุขได้ แม้นผู้นั้นจะปรารถนาพระพาหาแห่งเราข้างหนึ่ง ก็อาจตัดบริจาคแก่ผู้นั้นได้

            ด้านศาสนา ถึงแม้ว่าในรัชสมัยของพระองค์ บ้านเมืองจะตกอยู่ในภาวะสงครามเกือบตลอดเวลา แต่พระองค์กลับมิได้ทรงละเลยงานด้านศาสนจักร ได้ทรงมุ่งมั่นทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เหมือนเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา พระราชกรณียกิจด้านฟื้นฟูพระพุทธศาสนามีดังนี้ การจัดระเบียบสังฆมณฑล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบสังฆมณฑลทันทีภายหลังการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ครั้งที่ยกทัพไป ปราบชุมนุมเจ้าพระฝางเมื่อทรงเห็นว่าพระสงฆ์ทางฝ่ายหัวเมืองเหนือมัวหมอง ก็ได้อาราธนาพระราชาคณะ จากในกรุงไปสั่งสอน ทำให้พระสงฆ์กลับบริสุทธิ์และเป็นปกติสุขขึ้นการรวบรวมพระไตรปิฎก สมเด็จพระเจ้าตากสิน ยังได้ทรงมุ่งมั่นในการสืบเสาะค้นหาต้นฉบับพระไตรปิฎกที่ยังเหลืออยู่หลังจาก เสียกรุง เพื่อนำมาคัดลอกจำลองไว้สำหรับการสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงต่อไป ซึ่งจะเห็นได้จาก เมื่อคราวที่เสด็จไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชในปีพุทธศักราช ๒๓๑๒ ได้มีรับสั่งให้ขอยืมคัมภีร์ พระไตรปิฎกจากนครศรีธรรมราชบรรทุกเรือเข้ามาคัดลอกในกรุงธนบุรี และในปีถัดมาในคราวที่เสด็จ ไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝางที่เมืองอุตรดิตถ์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้นพระไตรปิฎกลงมาเพื่อใช้สอบทานกับ ต้นฉบับที่ได้จากเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสังคายนาพระไตรปิฎก ในสมัยต่อมาการสมโภชพระแก้วมรกต ดูได้ที่ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรภายหลังจากที่รบชนะเมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบางกลับมายังกรุงธนบุรีด้วย โดยให้จัดขบวนเรือพยุหยาตรามโหฬารถึง ๒๔๖ ลำ และเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปรับด้วยพระองค์เอง แล้วให้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม ต่อมารัชกาลที่ ๑ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ซึ่งอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง การบูรณะปฏิสังขรณ์วัด สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ เป็นจำนวนมาก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เช่น วัดอินทารามวรวิหาร, วัดหงส์รัตนาราม และวัดอรุณราชวรารามพระราชกำหนดว่าด้วยศีลสิกขา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายว่าด้วยวัตรปฏิบัติในทางธรรมวินัยของพระสงฆ์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๑๖ โดยถือเป็นต้นฉบับ กฎหมายพระสงฆ์ฉบับแรกของไทย และทรงนำแนวคิดทางพระพุทธศาสนา มาใช้เป็นหลักในการจัดระเบียบสังคมในสมัยนั้นด้วยและหลังจากกอบกู้แผ่นดินได้แล้ว พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระ-เจ้าเอกทัศมาจัดถวายพระเพลิงอย่างสมพระเกียรติและยังทรงรับอุปการะบรรดา เจ้าฟ้า พระองค์ฟ้า พระราชโอรส ตลอดทั้งพระเจ้าหลานเธอของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทุกพระองค์ ด้วยความกตัญญู

ในตอนปลายรัชสมัย ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เกิดกบฎขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา พวกกบฎได้ปล้นจนพระยาอินทรอภัย ผู้รักษากรุงเก่าจนต้องหลบหนีมายังกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีรับสั่งให้พระยาสรรค์ขึ้นไปสืบสวนเอาตัวคนผิดมาลงโทษ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้ากับพวกกบฎ และยกพวกมาปล้นพระราชวังที่กรุงธนบุรีในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๓๒๔ บังคับให้สมเด็จพระเจ้าตากสินออกผนวช และคุมพระองค์ไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม แล้วพระยาสรรค์ได้ตั้งตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินเหตุการณ์ภายหลังจากนั้นไม่แน่ชัดโดยมีความเชื่อหลายกระแส อาทิสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) และ เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ซึ่งไปราชการทัพเมืองกัมพูชา และยกกำลังเข้าตีเมืองเสียมราฐ เมื่อทราบข่าวการจลาจลในกรุงธนบุรี จึงรีบยกทัพกลับ ขณะนั้นเป็นเดือน เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกมาถึงในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ก็ได้สืบสวนเรื่องราวความวุ่นวายที่เกิดขึ้น และจับกุมผู้ก่อการกบฎมาลงโทษ รวมทั้งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณาความที่มีผู้ฟ้องร้อง กล่าวโทษว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเป็นต้นเหตุ เนื่องจากพระองค์ทรงเสียพระสติ  เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีก สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ พระชนมายุได้ ๔๘ พรรษา พระองค์ประสูติ และสวรรคต ในเดือนเดียวกัน และบางฉบับก็บอกว่าในวันเดียวกัน ซึ่งยังไม่มีใครทราบเป็นที่แน่ชัด ในขณะที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อว่า สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และ เจ้าพระยาพระยาสุรสีห์ ได้ฉวยโอกาสดังกล่าวเข้ายึดครองแผ่นดินและตั้งตนเป็นกษัตริย์เสียเอง เนื่องจากพระเจ้าตากนั้นเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนเป็นอย่างมาก จึงหาเหตุว่าพระเจ้าตากเสียสติและดำเนินการสำเร็จโทษนักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้ถูกสำเร็จโทษ แต่ทรงจงใจสละราชบัลลังก์เพื่อจะได้มิต้องชำระเงินกู้จากประเทศจีน เมื่อทรงได้รับการปล่อยตัวอย่างลับ ๆ แล้วจึงเสด็จลงเรือสำเภาไปประทับที่เขาขุนพนม จังหวัดนครศรีธรรมราชเสด็จสวรรคตที่นั่นในปี พ.ศ. ๒๓๖๘ถวายสร้อยพระนามมหาราช และการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์                                         

 

                                                                                                                                        ศาลพระเจ้าตากสิน จังหวัดตาก

๓.ยุคกรุงรัตนโกสินทร์

        กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ "กรุงเทพมหานคร" เป็นราชธานีของไทย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับที่ตั้งของกรุงธนบุรี โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระนครขึ้น โดยทำพิธีตั้งเสาหลักเมืองของพระนครใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เวลาย่ำรุ่งแล้ว ๔๕ นาที ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕  ทั้งนี้ ได้พระราชทานนามของพระนครว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมารอวตารสถิต สักกะทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์"แปลว่า พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตย์ของพระแก้วมรกต เป็นพระมหานครที่ไม่มีใครรบชนะ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ไปด้วยแก้วเปราะน่ารื่นรมย์ยิ่ง พระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานของเทพผู้อวตารลงมา  ซึ่งท้าวสักกเทวราช พระราชทานให้

        พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้ เรียกสั้นๆ ว่า "กรุงเทพฯ" "กรุงเทพมหานคร" หรือ "กรุงรัตนโกสินทร์" ซึ่งคำว่ากรุงเทพในตอนต้นชื่อนั้น สันนิษฐานว่ามากจากชื่อหน้าของ อยุธยา ว่า กรุงเทพทราราวดีศรีอยุธยา  (ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงสร้อยพระนามพระนครจาก "บวรรัตนโกสินทร์" เป็น "อมรรัตนโกสินทร์")

 

     รัตนโกสินทร์ (ร.๑ - ร.๓)

หลังจากอาณาจักรธนบุรีสิ้นสุด ราชวงศ์ใหม่ก็ขึ้นครองอำนาจและเปลี่ยนเป็นยุคของ "รัตนโกสินทร์" ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังคนเป็นราชวงศ์นี้อยู่ รวมได้ทั้งสิ้น ๙ รัชกาลพอดี

            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. ๒๒๗๙ - พ.ศ. ๒๓๕๒ ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๒๕ - พ.ศ. ๒๓๕๒ ) รัชกาลที่ ๑ แห่งราชจักรีวงศ์ เสด็จ พระบรมราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน ๔ แรม ๕ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา ๓ ยาม ตรงกับวันที่ ๒๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๒๗๙

ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ ๔ ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระนามเดิม "ทองดี") และพระอัครชายา (พระนามเดิม "หยก"หรือ ดาวเรือง) ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคิณี พระอนุชาร่วมพระชนก ประกอบด้วย

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (นามเดิมว่า สา) พระเชษฐภคินีพระองใหญ่

พระเจ้ารามณรงค์ (บรรดาศักดิ์สมัยกรุงศรีอยุธยาว่าเป็นที่ ขุนรามณรงค์) พระเชษฐา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (นามเดิมว่า แก้ว) พระเชษฐภคินีพระองค์น้อย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (นามเดิมว่า ทองด้วง) สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (นามเดิมว่า บุญมา) พระอนุชา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา (นามเดิมว่า ลา) พระอนุชา ต่างพระชนนี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี (นามเดิมว่า กุ) พระขนิษฐา ต่างพระชนนี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ (ตรงกับ วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีขาล จัตราศก จุลศักราช ๑๑๔๔ ) ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๕ พรรษาพระนามเต็ม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระนามเต็มว่า "สมเด็จ พระบรมราชาธิราชรามาธิบดีศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาศกรวงศ์  องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย   สมุทัยคโรมนต์ สกลจักรวาลาธิเมนทรต์          สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลย์ คุณอกณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิเบศร์ โลกเชฐวิสุทธิ์ รัตนมงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร"

 

ตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่๑รูปอุณาโลมผูกตรานี้ขึ้นในวโรกาสกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๑๐๐ ปี

 

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒ ครองราชย์  ๒๗ ปี พระชนมายุ ๗๔ พรรษา องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙ ตรงกับ วันพุธแรม ๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะโรง ได้รับราชการ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี เป็นพระยาราชนรินทรในกรมพระตำรวจ เจ้าพระยาจักรี และสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก สมุห นายกและแม่ทัพใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรี   ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยาม เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาเป็นกรุงเทพมหานคร เริ่มสร้าง  พระบรมมหาราชวังและสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ ทรงเป็นนักรบและตรากตรำการสงครามมาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา  ตลอดสมัยกรุงธนบุรีและในรัชสมัยของพระองค์เอง ในด้านการศาสนา   ได้โปรดให้มีการสังคายนา ชำระพระไตรปิฎก   พร้อมทั้งอรรถกถาฎีกาฯลฯณวัดมหาธาตุโปรดเกล้าฯให้สร้างหอมณเฑียรธรรมขึ้นในบริเวณวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง สำหรับเป็นที่เก็บคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนา และทรงจัดการปกครองคณะสงฆ์ให้เรียบร้อย พระราชานุกิจ (กิจวัตรประจำวัน) ของพระองค์ ตลอดรัชสมัย เป็นที่น่าประทับใจ พระองค์ทรงงานตั้งแต่เช้าตรู่ จนดึกดื่นทุกวันมิได้ขาด เริ่มตั้งแต่ ทรงบาตรถวายภัตตาหารพระสงฆ์ ฟังรายงานจากพระคลังมหาสมบัติ ออกรับพระ บรมวงศานุวงศ์ และขุนนาง ฟังรายงานและ วินิจฉัยคดีจาก จางวางและปลัด กรมตำรวจ วินิจฉัยเหตุการณ์บ้านเมืองทั้งข้าราชการจากฝ่ายทหารและพลเรือน แล้วจึงเสวยพระกระยาหารเช้า แล้วพบข้าราชการฝ่ายใน หลังพระกระยาหารค่ำ ทรงฟังพระธรรมเทศนา ฟังรายการใช้จ่ายเงินคลัง การก่อสร้าง เสร็จแล้วเสด็จออกรับขุนนาง ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน กรมท่านำใบบอกหัวเมืองมากราบทูลทรงวินิจฉัย ปัญหาต่าง ๆ อยู่จน ๔ ทุ่ม หรือดึกกว่านั้น แล้วจึงเสด็จขึ้น

                พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

รัชกาลที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๕๒ - ๒๕๖๗  ครองราชย์ ๑๕ ปี พระชนมายุ ๕๘ พรรษาเสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ พระนามเดิมว่า ฉิม เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงดำรงพระยศเป็น เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ตำแหน่งพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์มีความสามารถทางอักษรศาสตร์เป็นอย่างดี ทรงร่วมนิพนธ์วรรณคดี กับสมเด็จพระราชบิดาไว้หลายเรื่อง ได้แก่ อุณรุท รามเกียรติ์ อิเหนา และดาหลัง ซึ่งเรียกว่า พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑

นอกจากนี้ยังได้ทรงนำบทละครเก่ามานิพนธ์ขึ้นใหม่ ได้แก่ ไกรทอง คาวี ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง   มณีพิไชย ฯลฯ ด้านดนตรี ทรงเป็นเอตทัคคะในทาง สีซอสามสาย ด้านศิลปะ โปรดการเขียนลวดลายอันวิจิตรงดงาม ตัวอย่างที่เด่นชัดปรากฏที่บานประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม เมื่อปฐมวัยได้ ทรงติดตามพระราชบิดาไปในงานสงครามแทบทุกครั้ง ตั้งแต่พระชมมายุได้ ๘ พรรษา ทรงผนวช เมื่อพระชนมายุ ๒๒ พรรษา ทรงจำพรรษา ณ วัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) เป็นเวลา ๑พรรษา ลาผนวชแล้ว ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในรัชสมัยของพระองค์ ประเทศโปรตุเกส และประเทศอังกฤษ ได้ส่งผู้แทนทางการทูต มาเจริญสัมพันธไมตรีเป็นครั้งแรก ในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ ได้ส่งมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๑ และ พ.ศ. ๒๓๖๓ ตามลำดับ ด้านกฎหมาย ทรงปรับปรุงและออกกฎหมายต่าง ๆ ได้แก่ กฎหมายห้ามขายฝิ่น สัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดิน พินัยกรรม และกฎหมายอาญาอื่น ๆ เช่น ความผิดเกี่ยวกับการลงโทษ ทั้งฝ่ายอาณาจักรและพุทธจักร สุนทรภู่ กวีเอกของไทย มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในรัชกาลนี้

          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๓ ครองราชย์ ๒๖ ปี (พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔) พระชนมายุ ๖๔ พรรษาเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าทับ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดาเรียบ  ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ทรงเคยว่าราชการ มาหลายตำแหน่ง เช่น กรมท่า (กระทรวงการต่างประเทศ) กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมตำรวจ และผู้ว่าความในศาลฎีกา ในรัชสมัยของพระองค์ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เอาใจออกห่าง กระด้างกระเดื่อง เป็นกบฎไปเข้ากับญวณ แล้วฉวยโอกาสยกทัพเข้าตีเมืองอุบล ร้อยเอ็ด   ตัวเจ้าอนุวงศ์เองยกทัพจากเวียงจันทร์ลงมาตีเมืองนครราชสีมาได้แล้วให้ทัพหน้าเข้าตีสระบุรี พระองค์ได้จัดทัพใหญ่เตรียมรับศึกในกรุงเทพ ฯ ได้จัดการป้องกันพระนคร วางกำลัง รายรอบเมืองตั้งแต่ทุ่งบางเขนถึง   ทุ่งหัวลำโพง จัดกำลังทหารไปตั้งรับที่สระบุรี ทัพเจ้าอนุวงศ์ได้กวาดต้อนผู้คนไปเวียงจันทร์ทุกวัน คุณหญิงโม ภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา เป็นหัวหน้ารวบรวมพวกเชลยไทยต่อสู้ พอทัพจากกรุงเทพ ฯ ยกขึ้นไปช่วย   เจ้าอนุวงศ์จึงถอยทัพกลับไปเวียงจันทร์ โดยวางกำลังคอยต้านทานกองทัพไทย ที่ยกไปตีเวียงจันทร์ไว้ที่เมืองหล่มเก่า และเมืองภูเขียว โปรดให้กรมพระราชวังบวรเป็นแม่ทัพ ยกทัพผ่านนครราชสีมา ขึ้นไปตีเวียงจันทร์สายหนึ่ง อีกสายหนึ่งให้กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์เป็นแม่ทัพยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ ที่มายึดเมืองอุบล และเมืองร้อยเอ็ด แล้วไปบรรจบกับกองทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ อีกสายหนึ่งให้เจ้าพระยาอภัยภูธรเป็นแม่ทัพ ยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ที่เมืองหล่มสัก แล้วไปบรรจบทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ กองทัพไทยปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ได้ราบคาบ   ตีกรุงเวียงจันทร์แตก จับเจ้าอนุวงศ์ได้ ในปี พ.ศ. ๒๓๗๑เสร็จศึกแล้วได้โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งคุณหญิงโม    เป็นท้าวสุรนารี ในรัชกาลของพระองค์ ประเทศไทยได้เริ่มเปิดประเทศรับชาวยุโรปอย่างกว้างขวาง อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา ส่งทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย การค้าขายกับ อังกฤษรุ่งเรืองมาก บางคราว มีเรือสินค้าเข้ามาจอดในแม่น้ำเจ้าพระยาถึง ๕๐ ลำ ทาง สหรัฐอเมริกาได้ส่งมิชชันนารีเข้ามาสอนศาสนา และนำเอาวิชาการแพทย์แผนใหม่ โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ และสอนภาษาอังกฤษให้คนไทย ผู้ที่ควรได้รับเกียรติ   ในผลงานนี้   คือ  หมอบรัดเลย์ ทรงโปรดให้มีประกาศห้ามนำฝิ่นเข้ามาขายในประเทศ และให้เก็บฝิ่นที่มีอยู่ ในประเทศ นำไปเผาทั้งหมด  ด้านพระศาสนา ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา สร้างวัดใหม่ ๙ วัด บูรณะวัดเก่า ๖๐ วัด โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระนอนใหญ่ที่วัดโพธิ์ และในรัชกาลนี้ ได้มีกวีแก้วแห่งกรุงรัตนโกสินทร์เกิดขึ้น คือ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส

( พระองค์ วาสุกรี พระราช โอรสในรัชกาลที่ ๑ )

     สภาพเศรษฐกิจและสังคม สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในสมัยแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ยังคงอยู่ ในรูปแบบของเศรษฐกิจพอยังชีพ กล่าวคือยังไม่มีการแบ่งงานกันทำแต่ละครอบครัวต้องผลิตของที่จำเป็นทุกอย่างขึ้นมาใช้เอง ที่ดินก็ยังว่างเปล่าอยู่มาก ในขณะที่แรงงานเพื่อ ประกอบการผลิตยังมีอยู่น้อย เพราะสภาพสังคมขณะนั้นแรงงานคนส่วนใหญ่ต้องอุทิศให้กับ การเข้าเวรรับราชการและรับใช้มูลนายเวลาที่เหลือเพียง ส่วนน้อยจึงเป็นเรื่องของการทำมาหาเลี้ยงชีพและครอบครัวผลผลิตที่ได้ส่วนหนึ่งจึงเป็นไปตามความต้องการของครัวเรือนและอีกส่วนหนึ่งส่งเป็นส่วยให้กับทางราชการการค้าภายในประเทศจึงมีน้อยเพราะว่าทรัพยากรมีจำกัด และความต้องการของแต่ละท้องถิ่นไม่แตกต่างกันการคมนาคมไม่สะดวกจวบจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๓  การค้าภายในประเทศจึงเริ่มขยายตัวเพราะ ชาวจีนเข้ามามีบทบาททางการค้าโดยทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางนำส่งสินค้าเข้า-ออกตามท้องถิ่นต่าง ๆในส่วนที่เป็นรายรับ - รายจ่ายของแผ่นดินนั้น กล่าวได้ว่ารายรับไม่สมดุลกับรายจ่าย รายจ่ายส่วนใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นไปเพื่อการสร้างและบูรณะบ้านเมือง รายจ่ายในการป้องกันประเทศการบำรุงศาสนานอกจากนี้ก็ยังมีรายจ่ายเบี้ยหวัดข้าราชการ และค่าใช้จ่ายภายในราชสำนักรายจ่ายตามประเภทที่กล่าวมาข้างต้นนั้นนับว่ามีจำนวนสูง เพราะบ้านเมืองเพิ่งอยู่ในระยะก่อร่างสร้างตัวซ้ำยังมีศึกสงครามอยู่เกือบตลอดเวลารายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเมื่อเทียบกับรายได้ของแผ่นดินซึ่งยังคงมีที่มาเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องแสวงหายรายได้ให้เพิ่มมากขึ้นรายได้ของรัฐบาลในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จำแนกได้ดังนี้

. ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ไพร่เอามาเสียภาษีแทนแรงงานถ้า ไม่ต้องการชำระ เป็นเงิน ก็อาจจะทดแทนด้วยผลิตผลที่มีอยู่ในท้องที่ ๆ ไพร่ผู้นั้นอาศัยอยู่เช่นดีบุกดินประสิว นอกจากนี้ส่วยยังเรียกเก็บจาก

หัวเมืองต่าง ๆ และบรรดาประเทศราช

. ฤชา คือ การเสียค่าธรรมเนียมที่ประชาชนจ่ายเป็นค่าตอบแทนการบริการ ของรัฐบาล รัฐบาลจะกำหนดเรียกเก็บเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น ค่าธรรมเนียมโรงศาลค่าธรรมเนียมการออกโฉนด หรือค่าธรรมเนียมกรรมสิทธิ์ เป็นต้น

. อากร คือ เงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการขอผูกขาดสัมปทาน เช่น การจับปลา การเก็บของป่าต้มกลั่นสุรา และตั้งบ่อนการพนัน เป็นต้น ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ การเรียกเก็บผลประโยชน์ที่ราษฎรทำได้จากการประกอบการต่างๆเช่นทำนาทำไร่การเก็บอากร ค่านา ในสมัยรัชกาลที่ ๒ กำหนดให้ราษฎรเลือกส่งได้ ๒ รูปแบบ คือ ส่งเป็นผลิตผลหรือตัวเงิน เช่น ถ้าส่งเป็นเงินให้ส่งไร่ละหนึ่งสลึง อากรประเภทอื่นยังมีอีก เช่น อากรสวน อากรตลาด เป็นต้น

. ภาษีอากรและจังกอบภาษีอากร หมายถึง การเก็บภาษีจากสินค้าเข้าและสินค้าออก ภาษีเข้ามีอัตราการเก็บที่ไม่แน่นอนประเทศใดที่มีสัมพันธไมตรีดีต่อไทยก็จะเก็บ ภาษีน้อยกว่าเรือของประเทศที่ไปมาค้าขายเป็นครั้งคราวหาก แต่ในสมัยรัชกาลที่ ๒ อัตราที่กำหนดให้เก็บคือร้อยละ ๘ โดยตลอดส่วนชาวจีนนั้นให้คิดอัตราร้อยละ ๔ ส่วนภาษีสินค้าออกเก็บในอัตราที่แตกต่างไปตามชนิดของสินค้า

. จังกอบ คือค่าผ่านด่านซึ่งเรียกเก็บจากสินค้า และขนาดของพาหนะที่บรรทุก ด่านที่เก็บจังกอบเรียกว่าขนอน หรือด่านภาษีการเก็บจังกอบมี ๒ ประเภท คือประเภทแรก เป็นการเก็บค่าผ่านด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำเรียกเก็บจากสินค้าค้าของราษฏรโดยชักสินค้านั้นเป็นส่วนลดอีกประเภทหนึ่งคือ เก็บตามอัตราขนาดของยานพาหนะที่ขนสินค้า ผ่านด่าน โดยจะวัดตามความกว้างของปากเรือ เรียกว่า"ค่าปากเรือ" ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้แม้เศรษฐกิจหลักของสังคมจะเป็นไปแบบเดิมคือ การ เกษตรกรรม โดยอาศัยธรรมชาติ แต่ทางราชการก็พยายามสนับสนุนช่วยเหลือในการชลประทานการค้ากับ ต่างประเทศก็ดำเนินเป็นล่ำเป็นสันขึ้นกว่าในสมัยก่อนเพราะไทยมีสินค้าออกคือ ผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นที่ต้องการของประเทศทาง

ตะวันตก

 

     รัตนโกสินทร์ (ร.๔ - ร.๙ )

              พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ครองราชย์ ๑๖ ปี ( พ.ศ. ๒๓๙๔ ๒๔๑๑ ) พระชมมายุ ๖๖ พรรษา เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่  ๑๘ ตุลาคม   พ.ศ. ๒๓๔๗    เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ  พระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา เมื่อ พระชนมายุได้ ๙  พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ มีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา คือ เจ้าฟ้าจุฬามณี ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ ๒๑ พรรษา ได้ออกผนวชตามประเพณีและอยู่ในเพศบรรพชิต ตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ ๓  เมื่อรัชกาลที่ ๓ สวรรคต จึงได้ลาสิกขามาขึ้นครองราชย์สมบัติ ระหว่างที่ทรงผนวชประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุ แล้วทรงย้ายไปอยู่วัดราชาธิวาส  (วัดสมอราย) พระองค์ได้ทรงตั้งคณะสงฆ์ ชื่อ " คณะธรรมยุตินิกาย " ขึ้น ต่อมาทรงย้ายไปอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศองค์แรก ทรงรอบรู้ภาษาบาลีและแตกฉานในพระไตรปิฎก นอกจากนั้น ยังศึกษาภาษาลาตินและภาษาอังกฤษจนสามารถใช้งานได้ดี

ในรัชสมัยของพระองค์  อังกฤษสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ต่างก็ส่งทูตมาขอทำสนธิสัญญาในเรื่อง  สิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่คนในบังคับของตนและสิทธิการค้าขายเสรี ต่อมาไทยได้ทำสัญญาไมตรีกับประเทศนอร์เวย์ เบลเยี่ยมและอิตาลี และได้ทรงส่งคณะทูตออกไปเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศ นับเป็นครั้งที่สองของไทยนับต่อจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยไปยังประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส ทรงจ้างชาวยุโรปมารับราชการในไทย ในหน้าที่ล่ามแปลเอกสารตำรา ครูฝึกวิชาทางทหารและตำรวจและงานด้านการช่าง ทรงตั้งโรงพิมพ์ของรัฐบาล ตั้งโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเงินเหรียญ แทนเงินพดด้วงและเบี้ยหอยที่ใช้อยู่เดิม มีโรงสีไฟ โรงเลื่อยจักร เปิดที่ทำการศุลกากร ตัดถนนสายหลัก ๆ ได้แก่ ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร ถนนเจริญกรุง และถนนสีลม มีรถม้าขึ้นใช้ครั้งแรก ขุดคลองผดุงกรุงเกษม คลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก และคลองหัวลำโพง  ด้านการปกครองได้จัดตั้งตำรวจนครบาลศาลแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ด้านศาสนา ได้สร้างวัดราชประดิษฐ์ วัดมงกุฎกษัตริยารามและวัดปทุมวนาราม เป็นต้น ทรงเชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์ สามารถคำนวณการเกิดจันทรุปราคาและสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาหมดดวงในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปี พ.ศ. ๒๔๑๑  ณ ตำบลหว้ากอ(คลองวาฬ) จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างถูกต้อง

            ความเปลี่ยนแปลงสมัยรัชกาลที่ ๔

                ๑. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีบางประการ มีรับสั่งให้เลิกประเพณีเข้าเฝ้าตัวเปล่าไม่ใส่เสื้อ ทำให้ฝรั่งเลิกดูถูกเหยียดหยามคนไทย พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ฝรั่งที่อยู่ในกรุงได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทำให้นานาประเทศทางตะวันตกเริ่มมีไมตรีจิตต่อ ประเทศไทย พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ราษฎรได้มีโอกาสเข้าเฝ้าชมพระราชบารมีอย่างใกล้ชิดได้ และหากเจ้าของบ้านเรือนใดมีประสงค์จะถวายความเคารพเป็นพิเศษก็ให้แต่งเครื่องบูชาที่หน้าบ้านแล้วคอยเฝ้าอยู่ที่เครื่องบูชานั้น จึงเกิดประเพณีตั้งเครื่องบูชารับเสด็จตั้งแต่นั้นมา

๒. การปรับปรุงบ้านเรือนตามแบบตะวันตก

                    ๒.๑ ส่งเสริมการศึกษาภาษาอังกฤษได้ทรงริเริ่มไห้มีการศึกษาเล่าเรียนภาษาอังกฤษ ขึ้นในพระบรมมหาราชวังเป็นครั้งแรกทรงเห็นเหตุการณ์ไกลว่าต่อไปภายหน้า เราจะต้องคบค้าสมาคมกับชาวตะวันตกมากขึ้นทุกที จำเป็นจะต้องรู้ภาษาต่างประเทศไว้ในราชการด้วย โดยได้ทรงขอ ให้สตรีในคณะมิชชันนารีอเมริกา เข้าไปสอนภาษาอังกฦษ ให้แก่บรรดากุลสตรีชั้นสูง ถึงในพระราชฐาน ผู้ที่เข้าไปสอนมี นาง ดี.บี. บรัดเลย์ นาง สตีเฟน มัตตูนนางเจ.ซี. โจนนางแอนนา เลียวโนเวนส์ (คนไทยทั่วไปรู้จักกันในนามว่าแหม่มแอนนา) และหมอจันด-เลชาวอเมริกัน

                    ๒.๒ จ้างชาวต่างชาติเข้ารับราชการเพื่อให้ราชการบ้านเมืองได้เจริญก้าวหน้าไปด้วยดี ให้ทันต่อสถานการณ์ของโลก จึงได้ทรงว่าจ้าง ไห้ชาวต่างชาติเข้ามารับราชการ เปลี่ยนแปลงปรับปรุงกิจการบ้านเมืองในด้านต่าง ๆ

                    ๒.๓ กำเนิดมีธงชาติใช้เป็นครั้งแรกเราได้ทำสัญญาเปิดการค้าขายกับประเทศตะวันตก มีเรือกำปั่นของชาวยุโรปและชาวอเมริกาเข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯทวีมากขึ้น กงสุลต่างประเทศก็เข้ามาตั้งอยู่ในกรุงเทพฯหลายแห่ง ซึ่งต่าง  ก็มีธงชาติของตนขึ้น ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องมีธงชาติไทย ได้โปรดให้ใช้ธงชาติที่รัชกาลที่ ๒ ได้ประดิษฐ์ขึ้นเป็นธงชาติไทยแต่ให้เอารูปจักรออกเสีย คงมีแต่รูปช้างเผือกอยู่กลางผืนธงสีแดง

                    ๒.๔ สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ทรงริเริ่มสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรก สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความดีความชอบแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และชาวต่างประเทศ ซึ่งนับได้ว่าประเทศเราเป็นประเทศแรก ในทวีปเอเชียที่มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้น ทั้งนี้มีมูลเหตุมาจากการที่พระองค์ ทรงคบค้าสมาคมกับชาวต่างประเทศ แล้วได้ทรงทราบว่าในประเทศต่าง ๆ ทางตะวันตกนั้น มีเครื่องหมายยศทำเป็นดาวและรูปต่าง ๆติดประดับเสื้อ เครื่องราชอิสริยาภรณ์รุ่นแรกสุดของประเทศไทย ได้โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๐   มีลักษณะเป็นเพียงแต่ดาวดาราสำหรับติดเสื้อ คนทั่วไปนิยมเรียกว่า ตรา ทรงพระราชดำริเอาลายตราประจำตำแหน่ง มาทำลายดาราเครื่องราชอิสริยาภรณ์

                . กวีและวรรณกรรม ในด้านวรรณกรรมก็ได้ทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงเป็นอย่างดี เพราะพระองค์ท่านทรงเป็นนักศึกษาอย่างแท้จริง แต่วรรณกรรมที่เกิดในรัชกาลนี้มีรสแปลกแนวใหม่ต่างจากที่เคยมีมาแต่โบราณ กวีและวรรณกรรมรัชกาลที่ ๔ ที่สำคัญ เช่น นิราศลอนดอนเป็นต้น

                . ศิลปกรรม

                    ๔.๑ สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมในยุคนี้ได้หันเหไปทางตะวันตกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งก่อสร้างของทางฝ่ายราชการบ้านเมือง อันได้แก่ พระราชวังสราญรมย์ พระราชวังนันอุทยาน พระนครคีรีที่จังหวัดเพชรบุรี ทั้งนี้จะสังเกตได้จากสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ว่ามักทำช่องประตุหน้าต่างโค้ง ตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกส่วนสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้จริงในรัชกาลนี้ที่สำคัญได้แก่ ปราสาทเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ ในพระบรมมหาราชวัง ฯลฯส่วนที่เป็นเจดีย์นั้น ที่สำคัญได้แก่ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ซึ่งได้ออกแบบคิดสร้างขึ้นใหม่สวมพระเจดีย์องค์เดิมไว้ภายในเป็นที่เชิดหน้าชูตาแก่บ้านเมืองมาจนทุกวันนี้ พระมหาเจดีย์ ประจำรัชกาลที่ ๔ ในวัดพระเชตุพน ฯ ซึ่งโปรดให้จำลองแบบมาจากพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย

                    ๔.๒ ภาพเขียนฝาผนังภาพเขียนฝาผนังที่สำคัญในรัชกาลนี้ ได้แก่ ในพระอุโบสถและพระวิหารวัดบวรนิเวศวิหาร และที่พระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์ ฯ ภาพเขียนชิ้นเอกดังกล่าวมานี้ เป็นฝีมือของพระภิกษุ ขรัวอินโข่ง จิตรกรเอกในยุคนั้น ซึ่งเป็นบุคคลแรกของเมืองไทยที่ริเริ่มเขียนภาพแบบฝรั่งขึ้น คือเป็นภาพสามมิติ

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

                    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

 พระบรมราชสมภพ เมื่อ วันอังคาร เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ ปีฉลู ๒๐ กันยายน   พ.ศ. ๒๓๙๖ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ ๑ ในสมเด็จพระเทพศิรนทรามาตย์ เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. ๒๔๑๑) รวม สิริดำรงราชสมบัติ ๔๒ ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๑ แรม ๔ ค่ำ ปีจอ (๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา ๕๘ พรรษาพระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร ให้ร่มเย็นเป็นสุข ทรงโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบถึงความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยมหาราช และมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน

พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน  พ.ศ. ๒๓๙๖ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (ต่อมาภายหลังในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระนามเจ้านายฝ่ายในให้ถูกต้องชัดเจนตามโบราณราชประเพณีนิยมยุคถัดมาเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชวรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร พระองค์ทรงมีพระขนิษฐาและพระอนุชารวม ๓ พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระ-จักรพรรดิพงศ์ และ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ  วงศ์วรเดชวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๔ สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ได้รับการสถาปนาให้ขึ้นทรงกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุร และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙ พระองค์ทรงผนวชตามราชประเพณี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังจากการทรงผนวช พระองค์ได้รับการ เฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ  เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๐โดยทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก  กรมพระคลังมหาสมบัติ  และกรมทหารบกวังหน้า  

วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๐พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตภายหลังทรงเสด็จออกทอดพระเนตรสุริยุปราคา โดยก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคตนั้น ได้มี

พระราชหัตถเลขาไว้ว่า "พระราชดำริทรงเห็นว่า เจ้านายซึ่งจะสืบพระราชวงศ์ต่อไปภายหน้า พระเจ้าน้องยาเธอก็ได้ พระเจ้าลูกยาเธอก็ได้ พระเจ้าหลานเธอก็ได้ ให้ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ปรึกษากันจงพร้อม สุดแล้วแต่จะเห็นดีพร้อมกันเถิด ท่านผู้ใดมีปรีชาควรจะรักษาแผ่นดินได้ก็ให้เลือกดูตามสมควร" ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จ

พระจอมเกล้าเสด็จสวรรคต จึงได้มีการประชุมปรึกษาเรื่องการถวายสิริราชสมบัติแด่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ซึ่งในที่ประชุมนั้นประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และพระสงฆ์ โดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ได้เสนอสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ

พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งที่ประชุมนั้นมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ดังนั้น พระองค์จึงได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดา [๓] โดยในขณะนั้น ทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา ดังนั้น จึงได้แต่งตั้งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์         เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าพระองค์จะทรงมีพระชนมพรรษครบ ๒๐ พรรษา โดยทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ โดยได้รับการเฉลิม พระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพ   ยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมมาลย์  ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ  เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลกมหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิตสรรพทศทิศวิชิตชัสกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทร   มหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร  พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว" เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา จึงทรงลาผนวชเป็นพระภิกษุ และได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๖ โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า"พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถเปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชน นิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหา-บรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทร มหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระวักกะ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ เวลา ๒.๔๕ นาฬิกา รวมพระชนมายุได้ ๕๘ พรรษา

            พระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ครองราชย์ ๔๒ ปี (พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓) พระชนมายุ ๕๘ พรรษาเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๓๙๖ มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงดำรงพระยศเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ พระองค์ได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศนานัปการ ทรงบริหารประเทศก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ ทรงประกาศเลิกทาส ปรับปรุงระบบการศาล ตั้งกระทรวงยุติธรรม ปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ส่งเสริมการศึกษาอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนทั่วไป ตั้งกระทรวงธรรมการ ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู ส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในยุโรป สร้างการรถไฟ โดยทรงเปิดเส้นทางเดินรถไฟสายกรุงเทพ ฯ ถึงนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๑ สร้างโรงไฟฟ้า จัดให้มีการเดินรถรางขึ้นในกรุงเทพ ฯ จัดตั้งการ ไปรษณีย์โทรเลข เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ สร้างระบบการประปาฯลฯ

ด้านการต่างประเทศ ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลยิ่งนัก ได้ทรงนำประเทศไทยให้ รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกได้ตลอดรอดฝั่ง โดยดำเนินวิเทโศบาย ผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจเพื่อคานอำนาจ พระองค์ได้เสร็จประพาสยุโรป ถึงสองครั้ง โดยได้เสร็จเยือนประเทศ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี อังกฤษ ออสเตรีย ฮังการี เบลเยี่ยม อิตาลี สวีเดน และเดนมาร์ก เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงแต่งตั้งราชทูตไปประจำ ประเทศต่าง ๆ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ออสเตรีย ฮังการี เดนมาร์ก สวีเดน โปรตุเกส นอร์เว และ สเปน อังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. ๒๔๒๗รัสเซียในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ และญี่ปุ่นใน ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ พระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร ให้เป็นสุขร่มเย็นโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบความเป็นอยู่ที่แท้จริงของพสกนิกร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยะมหาราช

ด้านการพระศาสนา ทรงทำนุบำรุง และจัดการให้เหมาะสม เจริญรุ่งเรือง ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุ และมหามงกุฎราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรม และวิชาการชั้นสูง นอกจากนั้น ยังทรงสร้างวัดเทพศิรินทราวาส และวัดเบญจมบพิตร ซึ่งนับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามยิ่งแห่งหนึ่งของกรุงเทพ ฯ ความเปลี่ยนแปลงสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงปฎิรูปการปกครองเพื่อรวบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง การปฎิรูปการปกครองสรุปเป็นขั้นๆ คือ

            การบริหารราชการส่วนกลาง

๑ . ตั้งสภาการแผ่นดิน

                    ๑.๑ รัฐมนตรีสภา สมาชิกสภานี้ประกอบด้วยขุนนางผู้ใหญ่ที่มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาทั้งสิ้น ไม่มีเจ้าพระยาหรือพระบรมวงศานุวงศ์ มีสมาชิก ๑๒ คน รัฐมนตรีสภานี้ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาเรื่องราชการแผ่นดิน พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดกฎหมายต่างๆ

    ๑.๒ องคมนตรีสภา ทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาราชการในพระองค์และมีหน้าที่ช่วยปฎิบัติราชการแผ่นดิน แต่การตั้งทั้งสองสภาขึ้นนี้ ไม่สามารถบรรลุผลสมดังพระราชประสงค์ได้ เพราะสมาชิกไม่รู้จักและเข้าใจในการพูดอภิปราย งานของสภาจึงไม่สามารถดำเนินได้ สภาทั้งสองนี้ตั้งอยู่ได้ไม่นานจึงเลิกล้มไป

                ๒. ปฎิรูปองค์การบริหารทรงจัดตั้งกระทรวงเพิ่มขึ้นใหม่อีก ๖ กระทรวง รวมกับของเดิมที่มีอยู่แล้ว ๖ กระทรวงรวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๑๒ กระทรวง ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๓๕ กรมต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง และตำแหน่งเจ้ากระทรวงคือ เสนาบดี  กรมที่มีอยู่เดิม ได้แก่ ๑. กรมมหาดไทย มีอำนาจและหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเมืองลาวประเทศราช ๒. กรมพระกลาโหม มีอำนาจและหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ตะวันออก ตะวันตก และ เมืองมลายูประเทศราช ๓. กรมท่า มีอำนาจและหน้าที่บังคับบัญชากรมท่าอย่างเดียว ไม่ต้องบังคับบัญชาหัวเมือง ๔. กรมวัง มีอำนาจและหน้าที่บังคับบัญชาเกี่ยวกับในพระราชสำนัก และกรมที่ใกล้เคียงราชการ  ในพระองค์ ๕. กรมเมือง มีอำนาจและหน้าที่บังคับบัญชาการโปลิสและ การบัญชีคน คือกรมสุรัสวดี และควบคุมคนโทษ ๖. กรมนา มีอำนาจและหน้าที่บังคับบัญชาการเพาะปลูกและการค้าขาย การป่าไม้ บ่อแร่ กรมที่ตั้งขึ้นใหม่ ๑. กรมพระคลัง มีอำนาจและหน้าที่บังคับบัญชาการภาษีอากรและการเงินที่เป็นรายรับรายจ่ายของแผ่นดิน ๒. กรมยุติธรรม มีอำนาจและหน้าที่บังคับบัญชาการศาลสำหรับที่จะชำระความรวมกันทั้งคดีแพ่ง อาญา นครบาล และอุทธรณ์ทั้งแผ่นดิน ๓. กรมยุทธนาธิการ มีอำนาจและหน้าที่บังคับบัญชาการทหารบกและทหารเรือ ซึ่งจะมีผู้บัญชาการทหารบกทหารเรือต่างหากอีกด้วย ๔ .กรมธรรมการ มีอำนาจและหน้าที่บังคับบัญชาเกี่ยวกับพระสงฆ์ โรงเรียนและโรงพยาบาลทั่วพระราชอาณาจักร ๕. กรมโยธาธิการ มีอำนาจและหน้าที่บังคับบัญชาเกี่ยวกับการก่อสร้าง ทำถนน ขุดคลอง และการช่างทั่วไป ไปรษณีย์โทรเลข การรถไฟ ๖. กรมมุรธาธร มีอำนาจและหน้าที่เป็นพนักงานรักษาพระราชลัญจกร รักษาพระราชกำหนดกฎหมาย และหนังสือราชการทั้งปวงต่อมาได้ทรงแก้ไขปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินให้เรียบร้อยรัดกุมดียิ่งขึ้น ในตอนปลายรัชกาลเหลือกระทรวงต่างๆอยู่ ๑๐ กระทรวง คือ

๑. กระทรวงมหาดไทย ๒. กระทรวงกลาโหม ๓. กระทรวงนครบาล ๔. กระทรวงการต่างประเทศ ๕. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ๖. กระทรวงวัง ๗. กระทรวงเกษตราธิการ ๘. กระทรวงยุติธรรม ๙. กระทรวงโยธาธิการ ๑๐.กระทรวงธรรมการ

          การบริหารส่วนภูมิภาค จัดเป็นมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ในความปกครองดูแลของกระทรวงมหาดไทยทั้งหมด แต่ละมณฑลประกอบด้วยเมืองต่างๆหลายเมืองมารวมกัน ใน พ.ศ. ๒๔๔๙ จัดแบ่งเป็น๑๘ มณฑล เช่น มณฑลกรุงเทพฯ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีน มณฑลราชบุรี มณฑลนครราชสีมา ฯลฯ แต่ละมณฑลมี กองข้าหลวงเทศาภิบาล ออกไปทำหน้าที่ปกครองดูแลประจำมณฑลคณะส่วนการปกครองท้องที่ได้จัดแบ่งเป็นหมู่บ้าน

มีผู้ใหญ่บ้านปกครอง ,ตำบล มีกำนันปกครอง ,อำเภอ มีนายอำเภอปกครอง,เมือง มีเจ้าเมืองปกครอง มณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลปกครอง

การปกครองแบบนี้ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รู้จักวิถีทางประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานโดยให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน กำนัน กันเอง ส่วนเจ้าเมืองก็จะทำอะไรตามใจชอบไม่ได้แล้ว เพราะมีข้าหลวงเทศาภิบาลมาคอยดูแลแทนรัฐบาล และในสมัยก่อนที่เจ้าเมืองเป็นผู้กินเมืองจากภาษีทุกอย่าง ก็กินเฉพาะเงินเดือนข้าราชการเท่านั้น  

            การบริหารส่วนท้องถิ่น รัชกาลที่ ๕ ทรงให้ราษฎรมีส่วนในการปกครองและบริหารงานของท้องที่ที่ตนอาศัยอยู่ด้วยตนเองจึงทรงตั้ง สุขาภิบาล เป็นครั้งแรก

สุขาภิบาลแห่งแรก คือ สุขาภิบาลท่าฉลอม ที่จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อ พ. ศ . ๒๔๔๘ ได้มีการตั้งคณะกรรมการสุขาภิบาลขึ้น เก็บภาษีโรงร้านให้เป็นรายได้ของสุขาภิบาลจัดบำรุงท้องที่ของตน

สุขาภิบาลมีหน้าที่ รักษาความสะอาดในท้องถิ่น ป้องกันและรักษาสาธารณสมบัติ

บำรุงรักษาถนนหนทาง ตลาด ให้การศึกษาชั้นต้นแก่ประชาชน พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้โปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติการสุขาภิบาล ร.ศ. ๑๒๗ โดยแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ สุขาภิบาลเมือง และ สุขาภิบาลตำบล

 

          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๖ ครองราชย์ ๑๖ ปี (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) พระชนมายุ ๔๖ พรรษาเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๑  มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนเทพทวาราวดี เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๑ พรรษา ได้เสด็จไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ ทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และศึกษาวิชาการทหารบก ที่โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิสต์ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗ เสด็จกลับประเทศไทยแล้ว ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งจเรทัพบก และทรงบัญชาการทหารมหาดเล็ก ดำรงพระยศพลเอก เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้ทรงปรับปรุงด้านการศึกษาของไทย โปรดให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ทรงตั้งกระทรวงการทหารเรือ กองเสือป่า และกองลูกเสือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรมศิลปากร โรงไฟฟ้าหลวงสามเสน คลังออมสิน กรมสถิติพยากรณ์ กรมสรรพากร กรมตรวจเงินแผ่นดิน กรมมหาวิทยาลัย กรมรถไฟหลวง และเปิดเดินรถไฟไปเชื่อมกับมลายู ตั้งสถานเสาวภาและกรมร่างกฎหมาย ทรงเปลี่ยนการใช้ รัตนโกสินทรศก (ร.ศ) เป็นพุทธศักราช (พ.ศ.)  พระองค์ได้ทรงปลูกฝังความรักชาติให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชาวไทย ทรงเป็นศิลปิน และส่งเสริมงานประพันธ์เป็นอย่างมาก ทรงเป็นผู้นำในการประพันธ์วรรณคดีไทย ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง ทรงเขียนหนังสือทางด้านประวัติศาสตร์ และด้านการทหารไว้เป็นจำนวนมาก ประมาณถึง ๒๐๐ เรื่อง พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ทรงเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของไทย

การปกครองประเทศ ได้ทรงเจริญรอยตามสมเด็จพระราชบิดา สานต่องานที่ยังไม่เสร็จสิ้น ในรัชสมัยของพระองค์ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยมีสมรภูมิอยู่ในทวีปยุโรป ทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอรมัน โดยเข้าร่วมกับสัมพันธมิตร ได้ส่งทหารไทยไปร่วมรบ ณ ประเทศฝรั่งเศส ผลที่สุดได้เป็นฝ่ายชนะสงคราม ทำให้ไทยได้รับการแก้ไขสนธิสัญญา ที่ไทยเสียเปรียบต่างประเทศได้เป็นอันมาก

            ความเปลี่ยนแปลงสมัยรัชกาลที่ ๖

๑. การศึกษา

                    ๑.๑ การขยายการศึกษาถึงขั้นอุดมศึกษา โปรดให้ปรับปรุงและขยายกิจการโรงเรียนมหาดเล็กที่ได้ตั้งขึ้นในรัชกาลที่ ๕ ให้ยกฐานะขึ้นเป็น โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ให้ยกฐานะจากโรงเรียนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของเมืองไทย โดยให้อยู่ในสังกัดของกระทรวงธรรมการ

    ๑.๒ บำรุงอาชีวศึกษา โปรดให้เริ่มบำรุงการศึกษาทางด้านอาชีวะขึ้นเพื่อเป็นการฝึกให้พลเมืองได้มีความรู้ในการประกอบอาชีพของตนตามสมควรแก่อัตภาพ สามารถเลี้ยงตัวเองได้ โดยไม่ต้องหวังพึ่งอาชีพรับราชการ และเพื่อให้ประชาชนทั้งหลายคลายความนิยมในการเป็นข้าราชการไปด้วย โดยได้จัดให้มี งานแสดงศิลปหัตถกรรมของนักเรียนขึ้น ได้กำเนิดโรงเรียนเพาะช่าง จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีขึ้นโดยพระราชทานนามว่า โรงเรียนเบญจมราชาลัย จัดตั้งโรงเรียนพาณิชยการขึ้นอีกด้วย

    ๑.๓ ตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ เพื่อควบคุมให้อยู่ในความเป็นระเบียบเรียบร้อยอันดี และดำเนินการสอนตามหลักสูตร ดังที่โรงเรียนประเภทอื่น ๆ ปฏิบัติกันอยู่

    ๑.๔ ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ใน พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้โปรดให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้น เพื่อบังคับให้เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ ๗ ปีบริบุรณ์ขึ้นไปต้องเข้าเรียนหนังสือในโรงเรียนจนถึงอายุ ๑๔  ปีบริบูรณ์ โดยไม่เสียค่าเล่าเรียน

    ๑.๕ เกิดการศึกษาประชาบาล ได้เริ่มกำเนิดโรงเรียนชนิดใหม่นี้ขึ้นอีกประเภทหนึ่งคือ โรงเรียนประชาบาล อยู่ในความดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนประเภทนี้ล้วนเป็นโรงเรียนประถมศึกษา เงินค่าใช้จ่ายสำหรับโรงเรียนประชาบาลนี้ ได้มาจากเงิน ศึกษาพลี ซึ่งเรียกเก็บเป็นรายปีจากประชาชน หรือได้จากวิธีอื่นใดซึ่งอุปราชหรือสมุหเทศาภิบาลเป็นผู้กำหนดขึ้น นอกจากนี้ยังอาจได้เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ การเก็บเงินค่าศึกษาพลี ชายทุกคนที่มีอายุระหว่าง ๑๘๖๐ ปี ต้องเสียเงินศึกษาพลีปีละไม่ต่ำกว่า ๑ บาท แต่ไม่เกิน ๓ บาท ผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่เสียเงินค่าศึกษาพลี คือ ผู้ที่ทำมาหากินไม่ได้ พระภิกษุสามเณร บาทหลวง ทหาร ตำรวจ ฯลฯ

    ๑.๖ ตั้งโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เอาพระทัยใส่ในการศึกษา การสร้างโรงเรียนเป็นอันมาก พระองค์ทรงเห็นว่าวัดนั้นมีไว้มากมายแล้ว ควรจะยุติการสร้างกันได้ จึงโปรดให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน ได้แก่ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ( โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ) โรงเรียนราชวิทยาลัย โรงเรียนพรานหลวง โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ โรงเรียนเล่านี้พระองค์ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงกิจการของโรงเรียนโดยตลอด

๒. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงขนบประเพณีของบ้านเมือง

    ๒.๑ ใช้พุทธศักราชเป็นศักราชในราชการเนื่องจากรัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ. ซึ่งเราใช้เป็นศักราชในราชการมาแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ตัวเลขยังเป็นจำนวนที่น้อยเหลือเกิน เพราะ ร.ศ. เพิ่งเริ่มต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ นี่เอง ถ้าต้องการนับถอยหลังในเหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้วเป็นร้อยปีย่อมเกิดความยุ่งยาก และอีกประการหนึ่งคือ นานาอารยประเทศทั้งหลายนั้น เขาล้วนใช้ศักราชของศาสนาที่เขานับถือทั้งสิ้น จึงโปรดให้ใช้พุทธศักราชเป็นศักราชในราชการ และโปรดให้วันที่ ๑ เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ด้วย ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๖ เป็นต้นมา

    ๒.๒ ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลทรงเห็นว่าบรรดาชนชาติทั้งหลายที่มีความเจริญแล้ว ย่อมมีชื่อสกุลใช้กันเป็นหลักฐาน และนามสกุลนี้ยังมีประโยชน์ในการกำหนดชื่อเรียกของบุคคลแต่ละคนให้แน่นแนตายตัวลงไปได้ กับยังเป็นเครื่องเตือนใจให้บุคคลทั้งหลายเพียรปรระพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม เพื่อรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของสกุลของแต่ละคนอีกด้วย โดยให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นเมื่อ วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ และเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๖

    ๒.๓ กำหนดคำนำหน้านามสตรีสตรีของเราแต่เดิมนั้นใช้คำนำนามกันว่า อำแดง ทรงดำริว่าไม่เหมาะสม จึงโปรดให้วางระเบียบคำนำหน้านามสตรีไว้เป็นหลักฐาน ในพระราชกฤษฎีกาให้ใช้คำนำนามสตรี ตราเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๐ โดยกำหนดให้ผู้ที่ยังเป็นโสดอยู่ใช้คำนำนามของตนว่า นางสาว และผู้ที่มีสามีแล้วนำหน้านามว่า นาง

    ๒.๔ เปลี่ยนแปลงการนับเวลาแต่เดิมไทยมีการนับเวลาเป็นโมงเป็นทุ่มซึ่งไม่เป็นการสะดวกแก่วงการธุรกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการติดต่อสื่อสารกับชนชาวยุโรปและอเมริกา จึงให้เปลี่ยนระยะทุ่มโมงเป็น นาฬิกา

    ๒.๕ ให้ใช้เวลามาตรฐานได้ยึดถือเอาเวลากรีนิชประเทศอังกฤษเป็นมาตรฐานในการนับเวลา ประเทศไทยจะมีเวลาเร็วกว่าเวลากรีนิช ๗ ชั่วโมง จึงโปรดให้กำหนดเวลาในประเทศไทยเสียใหม่ ให้ตรงกับเวลาของสหพันธรัฐมลายา ทำให้เวลาของประเทศไทยเราเร็วขึ้นกว่าเดิม ๑๘ นาที

    ๒.๖ ตรากฎมนเทียรว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์เนื่องจากแต่เดิม ผู้ใดจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินคนต่อไปย่อมแล้วแต่พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สวรรคตจะมอบราชสมบัติให้ ดังนั้นย่อมที่จะทำให้เกิดความไม่ใสงบเรียบร้อยในเรื่องการสืบราชสมบัติขึ้นมาได้จึงโปรดตรากฎมนเทียรว่าด้วยการสืบสันติวงศ์ขึ้นไว้เป็นหลักเมื่อ

พ.ศ. ๒๔๖๗

    ๒.๗ เปลี่ยนแปลงการแต่งกายสตรีการแต่งกายของสตรีไทยนี้ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ภายหลังจากเสด็จประพาสยุโรปคราวแรก ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามชาวตะวันตกเป็นอันมาก ครั้นมาในราวตอนกลางสมัยรัชกาลที่ ๖ นี้ สตรีไทยริเริ่มนิยมการไว้ผมยาวเกล้าเป็นมวย หรือไว้ผมบ๊อบแบบชาวตะวันตก ได้เริ่มนุ่งผ้าซิ่นเป็นผ้าถุงแทนโจงกระเบน พระองค์ได้โปรดให้สตรีในพระราชสำนักของพระองค์แต่งกายตามแบบดังกล่าวนี้ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓

๓. การใช้ธงไตรรงค์ มีประกาศของราชการเมื่อวันนี้ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗

ครองราชย์ ๙ ปี (พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗) พระชนมายุ ๔๘ พรรษา เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ มีพระนามเดิมว่าสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้รับสถาปนาเป็นกรมขุนสุโขทัยธรรมราชา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา ได้เสด็จไปศึกษาวิชาการทหารบก ที่ประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส สำเร็จการศึกษาแล้วเสด็จกลับประเทศไทย เข้ารับราชการที่กองพันทหารปืนใหญ่ ที่ ๑ รักษาพระองค์ ในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย ต่อมาได้รับราชการในตำแหน่ง ผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปฐม ปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ แล้วได้ทรงกรมเป็นกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ในช่วงเวลาที่ เศรษฐกิจของประเทศและของโลกกำลังทรุดหนัก อันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงแก้ไขอย่างเต็มพระกำลังความสามารถจนประเทศไทย ได้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์นั้นได้

ในรัชสมัยของพระองค์ ไทยสามารถติดต่อกับนานาประเทศทางวิทยุ และโทรเลขได้โดยทั่วไปเป็นครั้งแรก ทรงพระราชทานนามหอสมุดแห่งชาติ พิมพ์พระไตรปิฎกเล่มใหม่ สร้างโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เปิดเดินรถไฟไปถึงชายแดนไทยติดต่อกับเขมร แก้ไขระบบการจัดเก็บภาษีอากรใหม่ ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประกาศพระราชบัญญัติเงินตรา และทรงตรากฎหมายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก สร้างสะพานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า ฯ) วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะราษฎร์ ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์ได้ตัดสินพระทัยสละราชสมบัติ ต่อมาได้เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ณ ประเทศอังกฤษ พระราชหัตถเลขาที่ทรงลาออกจากราชบัลลังค์ มีความตอนหนึ่งว่า"ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร"

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ คือการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕

การเตรียมการเปลี่ยนแปลงกองกำลังของคณะราษฎร ถ่าย ณ บริเวณหน้าวังปารุสกวันคณะราษฎรได้มีการประชุมเตรียมการหลายครั้ง รวมถึงได้มีการล้มเลิกแผนการบางแผนการ เช่น การเข้ายึดอำนาจในวันพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาซึ่งตรงกับวันที่ ๑๖ มิถุนายน แต่เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง จนกระทั่งสุดท้ายได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการในเช้าวันศุกร์ที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่วังไกลกังวล ทำให้เหลือข้าราชการเพียงไม่กี่คนอยู่ในกรุงเทพในการวางแผนดังกล่าวกระทำที่บ้าน   ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี ในวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยมีเป้าหมายสำคัญในการวางแผนควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร โดยมีการเลื่อนวันเข้าดำเนินการหลายครั้งเพื่อความพร้อมประชาชนหลั่งไหลเข้ามาดูเหตุการณ์ ณ ลานพระราชวังดุสิตหลังจากนั้นยังได้มีการประชุมกำหนดแผนการเพิ่มเติมอีกที่บ้านพระยาทรงสุรเดช โดยมีการวางแผนว่าในวันที่ ๒๔มิถุนายนจะดำเนินการอย่างไร และมีการแบ่งงานให้แต่ละกลุ่ม แบ่งออกเป็น ๔ หน่วยด้วยกัน คือ

หน่วยที่ ๑ ทำหน้าที่ทำลายการสื่อสารและการคมนาคมที่สำคัญ เช่น โทรศัพท์ โทรเลข ดำเนินการโดยทั้งฝ่ายทหารบกและพลเรือน ทหารบกจะทำการตัดสายโทรศัพท์ของทหาร ส่วนโทรศัพท์กลางที่วัดเลียบมี นายควง อภัยวงศ์ นายประจวบ บุนนาค นายวิลาศ โอสถานนท์ ดำเนินการ โดยมีทหารเรือทำหน้าที่อารักขา ส่วนสายโทรศัพท์และสายโทรเลขตามทางรถไฟและกรมไปรษณีย์เป็นหน้าที่ของ หลวงสุนทรเทพหัสดิน หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นต้น ซึ่งหน่วยนี้ยังรับผิดชอบคอยกันมิให้รถไฟจากต่างจังหวัดแล่นเข้ามาด้วย โดยเริ่มงานตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น.

หน่วยที่ ๒ เป็นหน่วยเฝ้าคุม โดยมากเป็นฝ่ายพลเรือนผสมกับทหาร ทำหน้าที่ควบคุมตัวเจ้านายและบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต จากวังสวนผักกาดมายังพระที่นั่งอนันตสมาคม พระประยุทธ์อริยั่น จากกรมทหารบางซื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการวางแผนให้เตรียมรถยนต์สำหรับลากปืนใหญ่มาตั้งเตรียมพร้อมไว้ โดยทำทีท่าเป็นตรวจตรารถยนต์อีกด้วย โดยหน่วยนี้ดำเนินงานโดย นายทวี บุณยเกตุ นายจรูญ สืบแสง นายตั้ว ลพานุกรม หลวงอำนวยสงคราม เป็นต้น โดยฝ่ายนี้เริ่มงานตั้งแต่เวลา ๐๑.๐๐ น.

หน่วยที่ ๓ เป็นหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนย้ายกำลัง ซึ่งทำหน้าที่ประสานทั้งฝ่ายทหารบกและทหารเรือ เช่น ทหารเรือจะติดไฟเรือรบ และเรือยามฝั่ง ออกเตรียมปฏิบัติการณ์ตามลำน้ำได้ทันที

หน่วยที่ ๔ เป็นฝ่าย   " มันสมอง " มี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ร่างคำแถลงการณ์ ร่างรัฐธรรมนูญ และหลักกฎหมายปกครองประเทศต่าง ๆ รวมทั้งการเจรจากับต่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจภายหลังการปฏิบัติการสำเร็จแล้ว แม้ว่าทางคณะราษฎรจะพยายามที่ทำลายหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ยังมีข่าวเล็ดรอดไปยังทางตำรวจ ซึ่งได้ออกหมายจับกลุ่มผู้ก่อการ ๔ คน คือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม  พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี และ นายตั้ว ลพานุกรม อย่างไรก็ตามเมื่อนำเข้าแจ้งแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ วรพินิต  ก็ถูกระงับเรื่องไว้ก่อน เนื่องจากไม่ทรงเห็นว่าน่าจะเป็นอันตราย และให้ทำการสืบสวนให้ชัดเจนก่อน

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์สังคมอาจกล่าวได้ว่า "กบฏ ร.ศ. ๑๓๐" เป็นแรงขับดันให้คณะราษฎร ก่อการปฏิบัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยภายหลังการยึดอำนาจแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ ไปพบและกล่าวกับ ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า "ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม" และหลวงประดิษมนูธรรมก็ได้กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า "พวกผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องจากการกระทำเมื่อ ร.ศ. ๑๓๐"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลรัชกาลที่ ๘

ครองราชย์ ๑๓ ปี (พ.ศ.๒๔๗๗- ๒๔๘๙) พระชนมายุ ๒๑ พรรษาเสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม บรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อพระชนมายุได้ ๓ เดือน ได้ตามเสด็จพระบรมชนกนาถและพระราชมารดา ไปประทับอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา จนพระชนมายุได้ ๓ พรรษา

จึงเสด็จกลับประเทศไทย  เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมเด็จพระราชชนนีได้นำเสด็จไปประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ เมื่อ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐พรรษา จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวรรตน์จาตุรงต์ เป็นประธาน ต่อมาพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็น ประธาน พระองค์มีน้ำพระราชหฤทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาในพสกนิกร โปรดการ ศึกษา การกีฬา การช่างและการดนตรี ได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิต- เซอร์แลนด์ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบ ได้เสด็จนิวัติประเทศไทย เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงได้ถวายราชกิจ เพื่อให้ทรงบริหารโดยพระราชอำนาจ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ ได้เกิดเหตุการณ์อันไม่คาดฝัน พระองค์ต้องอาวุธปืน เสด็จสวรรคต    ที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง ยังความเศร้าสลด และความอาลัยรักจากพสกนิกรเป็นที่ยิ่ง

            พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ จนถึงปัจจุบัน ทรงพระสถานะประมุขแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร โดยมีสถิติว่าทรงเป็นประมุขแห่งรัฐที่มีพระชนมชีพอยู่และทรงอยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุดในโลกพระองค์ได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า สมเด็จพระภัทรมหาราช มีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่ง ต่อมามีการถวายพระราชสมัญญาใหม่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ และ พระภูมิพลมหาราช อนุโลมตามธรรมเนียมเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า พระปิยมหาราช อนึ่ง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ว่า ในหลวง คำดังกล่าวคาดว่าย่อมาจาก "ใน (พระบรมมหาราชวัง) หลวง" บ้างก็ว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "นายหลวง" ซึ่งแปลว่าเจ้านายผู้เป็นใหญ่

 

 

พระราชประวัติพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ขวา) สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี(กลาง) และ พระเชษฐาธิราช ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยมี กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงเป็นผู้ฉายพระรูป สามารถเห็นพระองค์ในกระจกด้านหลัง ซึ่งพระองค์ได้ประทับนั่งอยู่ ตรงข้าม และสมเด็จย่านั้นพระองค์ได้ประทับอยู่ทางซ้ายติดกับพระเชษฐาธิราชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดล อันเป็นสายหนึ่งในพระบรมราชจักรีวงศ์ พระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ เหตุที่พระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนี กำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่น ใกล้สถานที่พระราชสมภพ มีจัตุรัสแห่งหนึ่งซึ่งนายกเทศมนตรีเมืองเคมบริดจ์ ขอพระราชทานพระนามว่า จัตุรัสภูมิพลอดุลเดช”(KingBhumibolAdulyadej Square) เพื่อเป็นเกียรติแก่เมืองเคมบริดจ์ และโรงพยาบาลอันเป็นที่พระราชสมภพ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จไปทรงรับมอบในพิธีอุทิศจัตุรัสเมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเปิดผ้าแพรคลุมป้ายแผ่นจารึกพระราชประวัติ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์ที่ ๓ ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล ตะละภัฎ (ชูกระมล) (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ทรงมีพระนามขณะนั้นว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงมีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า เล็ก พระนาม ภูมิพลอดุลเดช ได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยทรงกำกับตัวสะกดภาษาอังกฤษว่า  Bhumibala Aduladeja โดยในระยะแรกสะกดเป็นภาษาไทยว่า "ภูมิพลอดุลเดช" ต่อมาทรงเขียนว่า "ภูมิพลอดุลยเดช" ทรงเขียนทั้งสองแบบ จนมานิยมใช้แบบหลัง ซึ่งมีตัว "ย" สะกด มาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยม มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุไม่ถึง ๒ ปี

            การศึกษา พ.ศ. ๒๔๗๗ เมื่อเจริญพระชนมายุได้ ๕ ปี เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เพื่อการศึกษาและพระพลานามัยของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนเอกอล นูเวล เดอ ลา ซืออิส โรมองต์ เมืองแชลลี-ซือ-โลซาน

พ.ศ. ๒๔๗๗ เมื่อพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ผู้เป็นพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุยเดช เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้โดยเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตประเทศไทย เป็นเวลา ๒ เดือน โดยประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนยิมนาส

คลาซีค กังโตนาล แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์ โดยเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวังเสด็จขึ้นครองราชย์

            เหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ ๘ วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน โดยต้องพระแสงปืนที่พระกระหม่อม ณ พระที่นั่งบรมพิมาน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้ตัดสินพระทัยรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่เปลี่ยนสาขาจากวิทยาศาสตร์ ไปเป็นสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ซึ่งจำเป็นสำหรับตำแหน่งประมุขของประเทศการตัดสินพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงแต่ทำให้ประเทศไทยและคนไทยคลายความโศกเศร้า จากการที่ต้องเสียพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเท่านั้น แต่ยังทำให้ประเทศไทยได้พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ ที่ทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ ที่จะอุทิศพระวรกายและพระราชหฤทัยเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

ทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเดิมทีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัยว่า จะทรงครองราชสมบัติเฉพาะในช่วงการจัดงานพระบรมศพของพระบรมเชษฐาเท่านั้น เพราะยังทรงพระเยาว์และไม่เคยเตรียมพระองค์ในการเป็นพระมหากษัตริย์มาก่อน เหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับรถพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปยังสนามบินดอนเมือง เพื่อทรงศึกษาเพิ่มเติมที่สวิตเซอร์แลนด์ ทรงได้ยินเสียงราษฎรคนหนึ่งตะโกนลั่นว่า  "ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน" ทำให้ทรงนึกตอบบุคคลผู้นั้นในพระราชหฤทัยว่า "ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้"  เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจว่าต่อมาอีกประมาณ ๒๐ ปี ขณะทรงเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัด ทรงได้พบชายผู้ร้องตะโกนคนนั้น ชายผู้นั้นกราบบังคมทูลว่า ที่เขาร้องตะโกนออกไปเช่นนั้นเพราะรู้สึกว้าเหว่และใจหาย เขาเห็นพระพักตร์เศร้ามาก จึงร้องไปเหมือนคนบ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตอบว่า "นั่นแหละ ทำให้เรานึกถึงหน้าที่ จึงต้องกลับมา" ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ระหว่างประทับในต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพบกับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร และทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้เข้ารักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลในเมืองโลซาน โดย ม.ร.ว. สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเยี่ยมเป็นประจำจนหายประชวร นับตั้งแต่นั้นมาทั้งสองพระองค์ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

          พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครในปีถัดมา โดยประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร     พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

          พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในรัชกาลที่ ๙ วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" และในโอกาสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี

ทรงผนวช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ   ออกผนวชเป็นเวลา  ๑๕ วัน ระหว่างวันที่ ๒๒ ตุลาคม - ๕ พฤศจิกายน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมณนามว่า ภูมิพโลภิกขุ และเสด็จฯ ไปประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร

ระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ปีเดียวกันนั้น พระราชโอรส-ธิดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา ๔ พระองค์ ดังนี้

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา   สิริวัฒนาพรรณวดี  ประสูติ ณ สถานพยาบาลมองซัวซี นครโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔ ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์ (ปัจจุบัน ทรงพระนามว่า ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี) เพื่อทรงสมรสกับ นายปีเตอร์ เจนเซ่น ชาวอเมริกัน ทรงมีพระโอรส ๑ องค์ และพระธิดา ๒ องค์

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ต่อมา ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงอภิเษกสมรสกับ หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร (ปัจจุบัน ทรงพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ), นางสาวยุวธิดา ผลประเสริฐ (หรือ หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา ปัจจุบันคือ คุณสุจาริณี วิวัชรวงศ์) และ นางสาวศรีรัศมิ์ อัครพงศ์ปรีชา (หรือ หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา ปัจจุบันทรงพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ) ทรงมีพระโอรส ๑ พระองค์ กับ ๔ องค์ และ พระธิดา ๒ พระองค์

                สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ต่อมา ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๐

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ทรงอภิเษกสมรสกับ นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน (ในขณะนั้น มียศเรืออากาศโท) ทรงมีพระธิดา ๒ พระองค์

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และ พระเจ้า-

วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ







กองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71190 , อีเมล : g6_surasri@hotmail.com , โทร. 034 - 589233 - 5 ต่อ 51470